การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้นำสถานศึกษาสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • ส่งศรี กิตติรักษ์ตระกูล Praboromarajchanok Institute for Health Workforce Development
  • แสงโฉม ถนอมสิงห์ College of Public Health Administration
  • พัชรี ดำรงสุนทรชัย College of Public Health Administration

คำสำคัญ:

Leadership Development, Emotional Intelligence, Strategic leadership

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้นำสถานศึกษาสังกัดกระทรวง สาธารณสุข และประเมินประสิทธิผลหลักสูตรฯ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานเก็บรวบรวมข้อมูล เชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้องคือ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้อำนวยการ สถาบันพระบรมราชชนก ผู้อำนวยการ/อาจารย์วิทยาลัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาล อดีตหัวหน้า พยาบาล หัวหน้าพยาบาล/พยาบาลวิชาชีพและนักวิชาการพยาบาล และวิจัยเชิงปริมาณใช้รูปแบบ วิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) เก็บข้อมูลจากแบบประเมินผลสัมฤทธิ์การอบรม ซึ่งมีทั้งหมด  4 ชุด คือ แบบประเมินสมรรถนะด้านการจัดการตามแนวคิด Quinn สมรรถนะที่พึง ประสงค์สำหรับผู้บริหารสาธารณสุข  ความฉลาดทางอารมณ์ปรับปรุงจากแนวคิด Goleman และภาวะ ผู้นำปรับปรุงจากแนวคิด Kouzes & Posner  มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์ ครอนบาธ อยู่ระหว่าง
0.81-0.91 สถิติที่ใช้ คือ สถิติเชิงพรรณนา และเชิงอนุมาน Paired t-test  โดยดำเนินงาน 4  ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่1วิเคราะห์ความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้นำสถานศึกษาสังกัดกระทรวง
สาธารณสุข ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาหลักสูตรฯ ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรฯ โดยนำ หลักสูตรที่พัฒนาไปทดลองใช้ และขั้นตอนที่ 4 ปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรฯ  กลุ่มตัวอย่างในขั้นตอนที่ 1 คือผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 14 คน และในขั้นตอนที่ 3 คือผู้เข้ารับการอบรม (รองผู้อำนวยการ วิทยาลัย)จำนวน 44 คน  โดยเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการฝึกอบรม 6 เดือน พบว่าหลักสูตร ฝึกอบรมฯ ประกอบด้วย  8 หน่วยการเรียนรู้  คือ 1) การเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านร่างกาย
2) การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม 3) การสร้างผู้นำเชิงวิสัยทัศน์และการคิดอย่างเป็นระบบ 4) การพัฒนา ทักษะการสื่อสารและการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ 5) การพัฒนาสู่การเป็นองค์กรที่เป็นเลิศ
6) การพัฒนาทักษะมนุษยสัมพันธ์ 7) การพัฒนาบุคลิกภาพผู้บริหาร และ 8) การพัฒนาความรู้และ ทักษะการบริหารจัดการ ใช้เวลาฝึกอบรม 10 วัน ประเมินผลภายหลังการอบรม 6 เดือน พบว่า ผู้สำเร็จ การอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเปรียบเทียบก่อนและหลังการอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 คะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นในสมรรถนะด้านการจัดการ สมรรถนะที่พึงประสงค์สำหรับผู้บริหาร สาธารณสุข ด้านความฉลาดทางอารมณ์ และด้านภาวะผู้นำได้พัฒนาหลักสูตรให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตามข้อเสนอแนะ โดยปรับปรุงหลักสูตรใหม่เป็น  3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เตรียมความพร้อมด้านร่างกาย จิตใจ การทำงานเป็นทีม 1 สัปดาห์ ระยะที่ 2 เพิ่มพูนความรู้และทักษะโดยฝึกปฏิบัติภาคสนาม ณ วิทยาลัยต้นแบบ 2    สัปดาห์  และระยะที่ 3 สรุปปัจฉิมนิเทศ 1 สัปดาห์  

Abstract

                The objectives of this study was to develop a training curriculum for educational institute leaders in the Ministry of Public Health and to evaluate the effectiveness of the curriculum.  A mixed methods research design was employed. Qualitative data were gathered using in-depth interview of stakeholders, including a permanent secretary of the ministry, a director of Praboromarajchanok institute, directors and instructors of the colleges, directors of hospitals, head nurses and nurses. Quasi-experiment design was utilized in a quantitative process. Data were collected using
4 measures, including a management competency measure based on Quinn, a desired competency for public health leaders measure, an emotional intelligent measure modified from Goleman, and a leadership measure modified from Kouzes & Posner. Cronbach alpha coefficients of the measures ranged from 0.81 to 0.91. Descriptive statistics and inferential statistic using paired t-test were used.    The research process  comprised of four procedures: 1) A need assessment to design the program, informed by a literature review and other pertinent documents focusing on management policy. Stakeholder groups were interviewed to determine the directors’ roles, and appropriate/desirable director characteristics; 2) A  curriculum was designed focusing on achieving visionary and strategic leadership through portfolio shared learning and problem based learning; 3) Training and
Evaluation were conducted; and 4) Results of the  effectiveness of the curriculum  were used to improve the curriculum.. The study involved 14 stakeholders and 44 participants who were deputy directors of the colleges under the Ministry of Public Health, Thailand. The findings indicated eight units of the curriculum: physical competency promotion; moral and ethic development; visionary leaders and systematic thinking development; the development of effective presentation and
communication; excellent organization development; human relation skills; leadership personality; and management knowledge and skills. The curriculum composed of 10 days training. The
evaluation at 6 months after the trainingrevealed that the participants reported  statistically
significant differences in the mean scores between before and after the training The scores were higher after training regarding management competency, desired competency for public health leaders, , emotional intelligence, and leadership.

                Based on the findings, the proposed training curriculum was modified to be   3 phases over a four week period. The first phase focuses on physical, emotional and teamwork preparation. . The second phase focuses on the development of acquired knowledge and competencies using field studies at selected colleges for two weeks. . The last phase focuses on learning synthesis and conclusion. 

 

เผยแพร่แล้ว

2012-05-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย