การพัฒนาแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ Faculty of Nursing, Burapha University
  • รัชนี สรรเสริญ Faculty of Nursing, Burapha University
  • วรรณรัตน์ ลาวัง Faculty of Nursing, Burapha University

คำสำคัญ:

The Burden Interview, Caregiver, Chronic illness

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีเป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง
ที่นำมาแปลเป็นฉบับภาษาไทย โดยการวิเคราะห์ความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น และวิเคราะห์ โครงสร้างของแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้วิจัยและผู้เชี่ยวชาญได้แปล แบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังเป็นฉบับภาษาไทย ด้วยวิธีการแปลกลับแบบ ไม่ทราบต้นฉบับ หลังจากนั้นทำการประเมินคุณภาพแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วย
เรื้อรังฉบับภาษาไทยด้วยการวิเคราะห์หาความเชื่อมั่น และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ 
(Exploratory Factor Analysis) กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในจังหวัด
ชลบุรี  จำนวน 501 คน  เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่  แบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแล ผู้ป่วยเรื้อรัง ฉบับภาษาไทย นำข้อมูล ที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติ ร้อยละ  ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า

                1. แบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ฉบับภาษาไทย มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ของครอนบาคเท่ากับ  .92

                2. ข้อคำถามแต่ละข้อของแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ฉบับภาษาไทย        มีความสัมพันธ์กับคะแนนรวมทั้งฉบับในระดับปานกลางถึงระดับสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ตั้งแต่  .39 ถึง .73

                3. การวิเคราะห์องค์ประกอบของแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ฉบับ ภาษาไทย  มีโครงสร้างองค์ประกอบ  4  องค์ประกอบ โดยแต่ละองค์ประกอบมีค่าสัมประสิทธิ์    แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ  .90, .86, .78 และ .72  ตามลำดับ

                ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพสามารถนำแบบวัดนี้ ไปใช้ในการประเมินภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง เพื่อนำไปสู่การหาแนวทางในการดูแล ของผู้ดูแลให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

Abstract

                This study aimed to develop the Thai Burden Interview for Caregivers of Patients with Chronic Illness. Researchers and experts translated the burden interview for caregivers of patients with chronic illness into Thai version using a blind back translation method. Quality analysis was used for the Thai Burden interviews, including reliability and exploratory factor analysis.  A random sampling method was used to recruit 501 caregivers of chronic illness patient in the Chonburi province.  Then the Thai burden interviews were tried with the 501 caregivers. Data were analyzed by percentage, Cronbach Alpha Coefficient, Correlation Coefficient and Factor analysis. The
results of the study revealed that:

                1.  The Cronbach Alpha Coefficient of the Thai burden interview for caregivers of patients with chronic illness was .92;

                2.  The score for each item of the Thai burden interview for caregivers of patients with chronic illness generally correlated with a total score at a moderate to high level with the Correlation coefficient varied from .39 to .73;

                3.  Factor analysis revealed that 4 factors of structure were appropriate for the Thai version of the burden interview for caregivers of patients with chronic illness. The Cronbach Alpha
Coefficient of each factor was .90, .86, .78 and .72, respectively;

                From the results of this study it is recommended that nurses and healthcare personnel could use this scale to evaluate the burden of caregivers of chronic illnesses patients  to develop caregiver supportive organization in order to provide effectively and efficiently care.

เผยแพร่แล้ว

2012-05-17

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย