ปัจจัยทำนายการออกกำลังกายของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • สุภาภรณ์ วรอรุณ Boromarajonani College of Nursing, Suphanburi, Thailand
  • อาคม โพธิ์สุวรรณ Boromarajonani College of Nursing, Suphanburi, Thailand
  • อุมากร ใจยั่งยืน Boromarajonani College of Nursing, Suphanburi, Thailand
  • พรพจน์ บุญญสิทธิ์ Head of Sanamchai health center, Suphanburi province, Thailand

คำสำคัญ:

Perceived benefits, Perceived barriers, Personal factor, Exercise behavior, Health Volunteers

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ 

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ อำนาจการทำนายการออกกำลังกายของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลสนามชัย  อำเภอเมือง  จังหวัดสุพรรณบุรี  โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (Pender, 1996) เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด จำนวน 121 คน  เลือกใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ การถดถอยสหสัมพันธ์ (Multiple regression analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูล

                ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ อายุและเพศ  ไม่สามารถทำนายการออกกำลังกาย ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ได้ ในขณะเดียวกันพบว่า ปัจจัยการทำนายด้าน การรับรู้ประโยชน์ต่อการออกกำลังกาย  และ การรับรู้อุปสรรคต่อการออกกำลังกาย  สามารถอธิบาย การผันแปรของพฤติกรรมการออกกำลังกายได้ร้อยละ 60.60 (Adjust R2 =.606) อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .001

                ดังนั้นผู้วิจัยจึงสรุปได้ว่าปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ต่อการออกกำลังกาย ร่วมด้วยปัจจัย การรับรู้อุปสรรคต่อการออกกำลังกาย เป็นตัวแปรที่ดีที่สุดต่อการทำนายการออกกำลังกาย ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) 

                  จากผลการวิจัยจึงมีข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป  ดังนี้

                ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ต่อการออกกำลังกาย การรับรู้ อุปสรรคต่อการออกกำลังกาย และนำผลการวิจัยดังกล่าวมาจัดทำโปรแกรมการเสริมสร้าง การออกกำลังกายในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อให้เกิดการแก้ไข ที่เป็นรูปธรรมต่อไป

 

ABSTRACT

                This descriptive study aimed to examine the predictors of exercise behavior among health volunteers at Tambon Sanamchai, Muang District, Suphanburi Province based on Pender’s  Health Promotion theory.  Data were gained by questionnaire from 121 health volunteers who
volunteered to participate in this study.  Descriptive statistics and multiple regression analysis were used to analyse the data.

        Results showed that personal factors such as age and gender were not the predictors of the variance in health volunteer exercise behavior. The predictor model with perceived benefits of exercise and perceived barriers of exercise was able to count for 60.60 percent of the variance of health volunteer exercise behavior (Adjust R2 = 0 .606, p< .001).

       The resulted pointed out that both perceived benefits of exercise and perceived barriers of exercise were the two main best predictors of exercise behaviors among these health volunteers.

                The findings suggested that any exercise programs intervention for this health care
volunteer should consider the account of perceived benefits of exercise and the perceived barriers of exercise behavior factors.

เผยแพร่แล้ว

2012-05-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย