การศึกษาเปรียบเทียบพลังสุขภาพจิตก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
คำสำคัญ:
Resilience Quotient, Mental Health and Psychiatric Nursing Practicum, Nursing studentsบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
พลังสุขภาพจิตเป็นความสามารถของบุคคลในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค
ที่เกิดขึ้นในชีวิต ประกอบด้วยพลัง 3 ด้านได้แก่ ด้านความมั่นคงทางอารมณ์ ด้านกำลังใจ และด้าน
การจัดการกับปัญหา ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นของนักศึกษาพยาบาลในการให้ความช่วยเหลือ
ผู้ที่มีความเจ็บป่วยทางจิต วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้เพื่อวัดระดับพลังสุขภาพจิตของ นักศึกษาพยาบาล และศึกษาเปรียบเทียบพลังสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลทั้งก่อนและหลังการฝึก ปฏิบัติฯ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ เซนต์เทเรซา จำนวน 65 คน ที่ขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช โดยมีกระบวนการ จัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการพัฒนาตนเอง การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ชีวิต และทักษะ การเผชิญปัญหาและการแก้ไขปัญหาชีวิต มีการเก็บข้อมูลก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติฯ โดยใช้ แบบประเมินพลังสุขภาพจิตของกรมสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และPared-Sample T Test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับพลังสุขภาพจิตในภาพรวมและรายด้านของนักศึกษาก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติ การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช อยู่ในเกณฑ์ปกติ
2. พลังสุขภาพจิตด้านความมั่นคงทางอารมณ์และด้านกำลังใจของนักศึกษาพยาบาลมี การเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เพิ่มขึ้นภายหลังการฝึกปฏิบัติฯอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ.001 ส่วนพลังสุขภาพจิตด้านการจัดการกับปัญหาของนักศึกษาพยาบาลมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทาง ที่เพิ่มขึ้นภายหลัง การฝึกปฏิบัติฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
3. พลังสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลหลังการฝึกปฏิบัติการพยาบาล สุขภาพจิตและจิตเวช สูงกว่าก่อนการฝึกปฏิบัติฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
Abstract
Resilience Quotient (RQ) refers to an individual’s capacity to spring back in the face of adversity. It consists of 3 aspects; emotional stability, willpower, and problem-solving skills. This is a feature
necessary for nursing students to assist people with mental illness. The purpose of this study was to investigate the level of resilience quotient and comparison of RQ among the third year nursing students before and after the Mental Health and Psychiatric Nursing Practicum. The three focuses of
teaching-learning for this subject were self-development, learning through life’s experiences, and coping and solving problem skills. The sample was composed of 65 the third year nursing students, Faculty of Nursing Science, St Theresa International College. Data were collected by using RQ Questionnaire of Mental Health Department and were analyzed by descriptive statistics: percentage, mean, standard
deviation, and Paired-Sample t-test.
The results revealed that:
1. The overall view and each aspect of the RQ level among nursing students, before and after their Mental Health and Psychiatric Nursing Practicum were within norms;
2. After the practicum of Mental Health and Psychiatric Nursing Practicum, the RQ in term of emotional stability and increased willpower among nursing students was statistically significant higher than before their practicum (แ < .001) and the RQ in term of problem-solving skills among nursing students was statistically significant higher than before their practicum (แ < .05);
3. After the practicum of Mental Health and Psychiatric Nursing Practicum, the RQ among nursing students was statistically significant higher than before their practicum (แ < .001).