การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง กายวิภาคศาสตร์ของระบบหัวใจ หลอดเลือดและระบบไหลเวียนน้ำเหลือง

ผู้แต่ง

  • วรรณี ศรีวิลัย Borommarajonnani college of ,Nursing,Ratchaburi
  • วิรดา อรรถเมธากุล Borommarajonnani college of ,Nursing,Ratchaburi

คำสำคัญ:

Electronic-Book (E-Book), Anatomy

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง กายวิภาคศาสตร์ของ ระบบหัวใจ หลอดเลือด และระบบไหลเวียนน้ำเหลือง ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง กายวิภาคศาสตร์ของระบบหัวใจ หลอดเลือด และระบบ ไหลเวียนน้ำเหลืองก่อนเรียนและหลังเรียน  3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลังการเรียนด้วย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง กายวิภาคศาสตร์ของระบบหัวใจ หลอดเลือด และระบบไหลเวียน น้ำเหลือง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1  วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี ราชบุรี  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2552  จำนวน 60 คน  โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย  เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง กายวิภาคศาสตร์ของระบบหัวใจ หลอดเลือด และระบบไหลเวียนน้ำเหลือง  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  3) แบบประเมิน ความพึงพอใจของนักศึกษาในการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยทำการทดสอบก่อนเรียนและให้
กลุ่มตัวอย่างเรียนจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้วิจัยผลิตขึ้น พร้อมทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน จากนั้น ทำการทดสอบหลังเรียน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ  ร้อยละ   ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t- test)   

                ผลการวิจัยพบว่า  1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง กายวิภาคศาสตร์ของระบบหัวใจ หลอดเลือด และระบบไหลเวียนน้ำเหลือง  มีประสิทธิภาพ 73.67/75.89 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูง กว่าผลการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001  3) นักศึกษามีความพึงพอใจ ต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง กายวิภาคศาสตร์ของระบบหัวใจ หลอดเลือด และระบบไหลเวียน น้ำเหลืองในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 )  

                ผู้วิจัยเสนอแนะว่าควรมีการสร้างและพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในวิชาอื่นๆให้มากขึ้น
โดยเฉพาะในหมวดวิชาชีพการพยาบาล เพื่อช่วยให้สิ่งที่เข้าใจยากสามารถเข้าใจได้มากขึ้น และศึกษา ด้วยตนเองได้ตลอดเวลาตามความต้องการ

 

Abstract

                The model of this research was research and development. The purposes of this research were: 1) to develop and validate the efficiency of an electronic book (E-Book) on Anatomy of the Cardiovascular System and Anatomy of the Lymphatic Vascular System based on 75/75 criteria; 2) to compare between pretest and posttest achievement scores of the students who had studied by the electronic book and; 3) to study the satisfaction of the students towards the electronic book.

                The sample of 60 was randomly selected from the first year nurse students at Boromarajonani College of Nursing, Ratchaburi who studied in the first semester of 2009. The research tools were: 1) the electronic-book on Anatomy of the Cardiovascular System and Anatomy of the Lymphatic Vascular System; 2) the achievement tests of the students who had studied with the electronic book and; 3) the questionnaire of the satisfaction towards the electronic book on Anatomy of the Cardiovascular System and Anatomy of the Lymphatic Vascular System. The sample group was tested before studying with the electronic book on Anatomy of the
Cardiovascular System and Anatomy of the Lymphatic Vascular System and took exercises. Then, the sample group was tested after their studies. The data were analyzed by using percentage, arithmetic mean, standard deviation, and dependent t-test.

                Research results revealed that efficiency of the electronic book on Anatomy of the
Cardiovascular System and Anatomy of the Lymphatic Vascular System was at 73.67/ 75.89. Comparison showed that achievement scores of posttest were statistically significant higher than pretest (แ < .001) and students had highest satisfaction level towards the use of electronic book on Anatomy of the Cardiovascular System and Anatomy of the Lymphatic Vascular System
(arithmetic mean 4.56).

                Researchers suggested that other nursing faculties should be encouraged to create and improve their electronic books which will promote nursing students to precisely understand
complex contents and to continue their self directed learning.

เผยแพร่แล้ว

2012-05-17

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย