สถานการณ์ ปัญหาและความต้องการการดูแลของผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง ในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • รัชนี สรรเสริญ สรรเสริญ Faculty of Nursing , Burapha University
  • สมสมัย รัตนกรีฑากุล Faculty of Nursing , Burapha University
  • วรรณรัตน์ ลาวัง Faculty of Nursing , Burapha University
  • อโนชา ทัศนาธนชัย Faculty of Nursing , Burapha University
  • ชรัญญากร วิริยะ Baan-bung Hospital
  • ทรรศนีย์ โสรัจธรรมกุล Baan-bung Hospital
  • พรเพ็ญ ภัทรากร Baan-bung Hospital

คำสำคัญ:

Health care needs, Caregivers, Empowerment, Hypertension, Quality of life

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ปัญหาและความต้องการการดูแล ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและความสามารถในการทำนายของปัจจัยที่คัดสรรต่อคุณภาพชีวิต
ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย โรคความดัน โลหิตสูงและญาติผู้ดูแล จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและญาติผู้ดูแล แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตร ประจำวัน แบบประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วย  แบบวัดพลังอำนาจของญาติผู้ดูแล แบบประเมิน ภาระการดูแล แบบวัดความสัมพันธ์ระหว่างญาติผู้ดูแลกับผู้ป่วย แบบวัดสัมพันธภาพ ในครอบครัว  แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามความต้องการของญาติผู้ดูแล และแบบวัด คุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI)  เก็บรวบรวม ข้อมูลในช่วง เดือนกุมภาพันธ์ 2552 - พฤษภาคม 2552  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

            ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีความสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ได้ในระดับมาก การรับรู้ภาวะสุขภาพอยู่ในระดับพอใช้และค่อนข้างไม่ดี  ได้รับการสนับสนุน ทางสังคมอยู่ในระดับมาก มีสัมพันธภาพในครอบครัวอยู่ในระดับดี แต่ความสัมพันธ์ระหว่างญาติ ผู้ดูแลกับผู้ป่วยอยู่ในระดับปานกลาง  สำหรับญาติผู้ดูแล โดยภาพรวมการดูแลผู้ป่วยเป็นภาระ เพียงเล็กน้อยหรือไม่เป็นภาระเลย  ร้อยละ 53.1 และ 38.3 รับรู้ว่าตนเองมีภาวะสุขภาพอยู่ในระดับ พอใช้และค่อนข้างไม่ดี และต้องการความช่วยเหลือในระดับปานกลางถึงมาก ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพล ร่วมในการทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง คือ การรับรู้พลังอำนาจของญาติ ผู้ดูแล ภาระการดูแล ระยะเวลาการดูแลผู้ป่วย และการสนับสนุนทางสังคม

          ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้คือ พยาบาลควรให้ความสนใจกับกลุ่มญาติผู้ดูแลให้มากขึ้น เพื่อนำไปสู่การวางแผนและพัฒนาศักยภาพของญาติผู้ดูแลให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่าง เหมาะสม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงต่อไป

Abstract

            The purposes of this study were to 1) explore evidences, problems and health care needs for hypertensive patients  at Baan-bung District, Chon-buri Province, and 2) to examine factors predicting hypertensive patients’ quality of life. A simple random sampling method was used to recruit 350 samples in Baan-bung District. The seven research instruments were Demographic form, Social support, Family Relationship, Self-esteem, a Care Giving Burden questionnaire, Barthel Activity Daily Living Index (BADL), and WHOQOL-BREF-THAI.    Data were collected from February to May, 2009.  Descriptive statistics and stepwise multiple regression were employed to analyze the data. The results of the study were as follows:

              Almost all hypertensive patients had a high level of social support, high level of family relationship but showed a moderate level of relationship between patients and caregiver. Almost all caregivers reported their health status as fairly good and at poor level (53.1 %, 38.3 %). Over a half of them need some helps at moderate levels and others need some help at higher levels. The result of stepwise multiple regression analyzed reveled that empowerment of caregivers together with care giving burden, duration of care and social support could explained the variation of quality of life of hypertensive patients by 20.7 (R2adj = .207, F = 16.94, p < .001).

            The results suggested that family, community leaders and health care providers should pay more attention to family caregiver as well as hypertensive patients as target groups of care. Caregiver burden, empowerment, duration of care, and relative factors should be assessed in order to make a plan or establish strategies for empowering and improving caregivers and family and patients
abilities.  Furthermore, nurses, health care providers, community leaders, and local governments should develop an appropriate health care system to improve both family caregivers and
hypertensive patients’ quality of life.

 

เผยแพร่แล้ว

2012-05-17

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย