ประสิทธิผลของการออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ เพื่อเสริมสร้างผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาพยาบาล

The Effectiveness of Using Backward Design for Developing Learning Outcomes according to Thai Qualifications Framework for Higher Education among Nursing Students

ผู้แต่ง

  • ปรียะดา ภัทรสัจจธรรม คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
  • กาญจนา พรหมเรืองฤทธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

การออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ, ผลการเรียนรู้, กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังได้รับการออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับเพื่อเสริมสร้าง ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังได้รับการออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) กลุ่มตัวอยาง คือ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 2 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับตามแนวคิดการออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับของวิคคินส์และแมคไทค์ แบบประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ แบบทดสอบวัดความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีแบบไม่อิสระ (Dependentt- test) ผลการศึกษา พบว่า 1) คะแนนผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ของนักศึกษาพยาบาลหลังได้รับการเรียนรู้ด้วยวิธีการออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับสูงกว่า มีค่าเฉล่ยโดยรวม 4.04 อยู่ในระดับมาก เม่อพิจารณารายด้าน พบว่า (1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม มีค่าเฉลี่ย 4.38 อยู่ในระดับมาก (2) ด้านความรู้ มีค่าเฉลี่ย 3.27 อยู่ในระดับปานกลาง (3) ด้านทักษะทางปัญญา มีค่าเฉลี่ย 3.98 อยู่ในระดับมาก และ(4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบมีค่าเฉล่ย 4.52 อยู่ในระดับมากท่สุด 2) คะแนนผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาพยาบาลหลังเรียนรู้ด้วยวิธีการออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) ข้อเสนอแนะ: สามารถนำวิธีการออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาอื่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการสร้างสรรค์ความรู้ขึ้นด้วยตนเอง ส่งผลให้ผู้เรียนมีพัฒนาการเรียนรู้ที่สูงขึ้น และความคงทนที่ยั่งยืนที่ติดตัวผู้เรียนไป

References

ABSTRACT
The quasi-experimental research aimed to: 1) compare the learning outcomes of
nursing students, and 2) study the effectiveness of BD for promoting learning outcomes among nursing students both before and after Backward Design (BD), as according to Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF). Simple random sampling was conducted with thirty nursing students from the second-year. Instruments were BD learning plans of Wiggins & McTighe concepts, learning outcomes assessments according to TQF and tests. Data were analyzed by mean, standard deviation, and dependent t-test.
The results showed that scores of learning outcomes, according to TQF of nursing students, were higher after using BD (Mean= 4.04). Considering each aspect of a typical TQF: (a) Ethical and Moral Development learning outcomes were found at a high level (Mean = 4.38); (b) Knowledge learning outcomes were found at a moderate level (Mean
= 3.27); (c) Cognitive Skills learning outcomes were found at a high level (Mean =3.98); and (d) Interpersonal Skills and Responsibility learning outcomes were found at the highest level (Mean = 4.52). The results also showed that scores of learning outcomes according to TQF of nursing students was higher after using BD at statistical significance (P < .05)
The result suggested that studying by BD should be used as a guide for developing other subjects for nursing students, in order to develop self-directed learning, and to impact higher-developed learners, and sustainability of learning outcomes.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-29

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย