การเรียนรู้โดยการกำกับตนเองของนักศึกษาพยาบาลที่มีการรับรู้ความสามารถของตนเองแตกต่างกัน

ผู้แต่ง

  • สุระพรรณ พนมฤทธิ์ Boromarajonani College of Nursing Payoa
  • ศุกร์ใจ เจริญสุข within Praboromarajchanok Institute
  • นันทิกา อนันต์ชัยพัทธนา within Praboromarajchanok Institute

คำสำคัญ:

self regulation learning, self efficacy, academic achievement

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองของนักศึกษาพยาบาล ตามการรับรู้ความสามารถของตนเอง แหล่งทุน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา จำนวน 156 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ใน
การเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองแบบสอบถามการรับรู้ ความสามารถของตนเอง และแบบประเมินการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองของนักศึกษาสำหรับอาจารย์ ประจำวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบสามทาง (Three–Way MANOVA) สรุปผลการวิจัย ดังนี้

                1.  นักศึกษาที่มีการรับรู้ความสามารถของตนเองต่างกัน มีการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองโดยรวม และรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักศึกษาพยาบาลที่มีการรับรู้ความสามารถ ของตนเองสูง มีการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองสูงกว่านักศึกษาพยาบาลที่มีการรับรู้ความสามารถของตนเอง ปานกลาง

                2.  นักศึกษาพยาบาลที่มีแหล่งทุนต่างกัน มีการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองในแต่ละด้านและโดย
ภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักศึกษาพยาบาลที่มีแหล่งทุนจากภาคเหนือ มีการกำกับตนเองสูงกว่านักศึกษาพยาบาลที่มีแหล่งทุนจากภาคใต้

                3.  นักศึกษาพยาบาลที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน มีการเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง
ในด้านยุทธวิธีทางปัญญาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักศึกษาพยาบาลที่มีเกรดเฉลี่ย ระดับดีมาก มีการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองสูงกว่านักศึกษาพยาบาลที่มีเกรดเฉลี่ยระดับดีและพอใช้

                4.             ไม่มีปฏิสัมพันธ์ของการเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง ที่เกิดจากการส่งผลร่วมกันของตัวแปร การรับรู้ความสามารถของตนเอง แหล่งทุน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ABSTRACT

                This study aimed to explore the self regulation learning among nursing students who were
different in perception of their self-efficacy, funding agencies, and academic achievement. The sample consisted of 156 nursing students at Boromarajonani Collage of Nursing, Phayoa who were selected using simple random sampling method. Instruments used were self-regulation learning questionnaire,
self-efficacy questionnaire, and nursing instructors’ evaluation form on nursing students’ self-regulation learning. Data were analyzed using three-way Multivariate Analysis of Variance (3-way MANOVA).

The results were as follow:

                1.  Nursing students who were different in perception of self-efficacy reported a statistically significant difference on self-regulation learning, considering each aspect and overall (p < .01). The students who had a high level of self-efficacy reported a higher self-regulation learning score than those who had a moderate level of self-efficacy.

                2.  Nursing students who were different in funding agencies reported a statistically significant difference on self-regulation learning, considering each aspect and overall (p < .01). The students who had been funded from the northern region reported a higher self-regulation learning score than those who had been funded from the southern region.

                3.  Nursing students who were different in academic achievement reported a statistically significant difference on self-regulation learning in an aspect of cognitive strategy use (p < .01). The students who had very good academic achievement reported a higher self-regulation learning score than those who had good and fair academic achievement.

                4.             There was no interaction effect among self-efficacy, funding agencies and academic achievement attributed to students’ self-regulation learning.

เผยแพร่แล้ว

2012-05-17

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย