ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี*

ผู้แต่ง

  • สุวรรณี โลนุช Faculty of Nursing, Thammasat University
  • มยุรี นิรัตธราดร Faculty of Nursing, Thammasat University
  • ศิริพร ขัมภลิขิต Faculty of Nursing, Thammasat University

คำสำคัญ:

Nutritional Promoting Behaviors, perceived benefits, perceived barriers, perceived self-efficacy, and social support

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
ด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี และอำนาจทำนายของการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเองและการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี โดยใช้แนวคิดรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี จำนวน 120 ราย ที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลของรัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตจังหวัดนนทบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 6 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์ แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์ แบบสอบถาม การรับรู้อุปสรรคของการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์ แบบสอบถามการรับรู้ ความสามารถของตนเองในการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์ และแบบสอบถาม การสนับสนุนทางสังคมของสตรีตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 37.19 ปี คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ด้านโภชนาการเท่ากับ 66.91 ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ ของสตรี ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี ได้แก่ การรับรู้อุปสรรคของการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ การรับรู้ ความสามารถของตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม โดยสามารถทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ด้านโภชนาการได้ร้อยละ 47.2 ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าควรจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของสตรี ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี ให้เกิดความเชื่อมั่นในการที่จะรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับตนเอง ในระหว่างตั้งครรภ์ รวมทั้งกิจกรรมนั้นควรมุ่งไปที่การลดอุปสรรคในการเลือกรับประทานอาหาร ที่เหมาะสมและเน้นการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม โดยจากผลการศึกษาสามารถสรุปสมการทำนาย พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้

Z

HPB = -0.312 (ZPBH ) + 0.251 (Z PSEH ) +0.216 (ZSS)

Abstract

 The results of the study demonstrated that the average score of nutritional promoting behaviors among pregnant women over 35 years was 66.62 (S.D. = 6.52). Perceived barriers, perceived self-efficacy, and social support in combination significantly predicted the nutritional promoting behaviors of these pregnant women at a significant level of 05, explaining 47.2 percent of the variance (F = 28.608, p < .05). The researcher suggests that nurses should initiate a nursing intervention program to reduce barriers, enhance self-efficacy, and provide support in order to promote eating behaviors among pregnant women in this age group. According to the study, can be summarized in an equation to predict a score below the standard Z

The purposes of this descriptive research were to: 1) identify health promoting behaviors, and 2) investigate the factors that affect nutritional promoting behaviors among pregnant women over 35 years of age. The Health Promotion Model was used as a conceptual framework for the study. The samples were 120 pregnant women aged over 35 years that were, attending antenatal care in public hospitals under the Ministry of Health, Nonthaburi Province. The questionnaires used to collect the data were comprised of 6 parts: demographic data, nutritional promoting behaviors, perceived benefits, perceived barriers, perceived self-efficacy, and social support. Stepwise multiple regressions were used for data analysis.

(HPB) = -0.312 (ZPBH ) + 0.251 (Z PSEH ) +0.216 (ZSS)

เผยแพร่แล้ว

2012-05-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย