ผลการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนวิชาการควบคุมยาสูบกับวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 สำหรับ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • เรณุวัฒน์ โคตรพัฒน์ Srimahasarakham Nursing College
  • ณฐพร คำศิริรักษ์ Srimahasarakham Nursing College
  • วีระชัย อิ่มน้ำขาว Srimahasarakham Nursing College
  • ชาติ ไทยเจริญ Srimahasarakham Nursing College
  • กิตติศักดิ์ ไกรจันทร์ Srimahasarakham Nursing College

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การบูรณาการการจัดการเรียนการสอนวิชาการควบคุมยาสูบกับวิชาปฏิบัติการพยาบาล
ครอบครัวและชุมชน 2 สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ ประเมินผลการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนในประเด็น 1) การจัดการเรียน การสอนแบบบูรณาการวิชาการควบคุมยาสูบ 2) ความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลเกี่ยวกับการใช้สื่อ ประกอบการเรียนการสอนการควบคุมยาสูบ และ 3) ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริการเยี่ยมบ้าน ให้คำแนะนำการควบคุมยาสูบของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 จำนวน 60 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ 1) แบบทดสอบชุดวิชาบุหรี่กับสุขภาพ : บทบาทของพยาบาล ต่อการสร้างสังคมไทยปลอดบุหรี่ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินความรู้ที่จำเป็นด้านการควบคุมยาสูบ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับการใช้สื่อประกอบ การเรียนการสอนวิชาการควบคุม

ยาสูบ และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริการเยี่ยมบ้านให้คำแนะนำการควบคุม ยาสูบของนักศึกษา ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ ตามสูตร KR-20 ของคูเดอร์ริชาร์ดสัน ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 สำหรับแบบประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลเกี่ยวกับการใช้สื่อ ประกอบการเรียนการสอน และแบบสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริการเยี่ยมบ้านใช้ สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach alpha coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 และ 0.83 ตามลำดับ ทำการรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือน กันยายน - พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ paired t-test

ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้

ผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการวิชาการควบคุมยาสูบ เมื่อทำการ เปรียบเทียบคะแนนการทดสอบก่อนและหลังการเรียนการสอนวิชาการควบคุมยาสูบ พบว่าคะแนน การทดสอบก่อนและหลังการเรียนการสอนมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01

ผลการประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลเกี่ยวกับการใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน จำแนกตามชุดการเรียนรู้ภาพรวม พบว่านักศึกษาพยาบาล มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สื่อประกอบ การเรียนการสอนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.03, SD = .76) เมื่อจำแนกตามชุดสื่อการเรียนรู้พบว่า
สื่อการเรียนรู้ชุดที่ 8 การประสานความร่วมมือเป็นเครือข่ายเพื่อการควบคุมยาสูบ มีความคิดเห็นระดับมาก สูงที่สุด (= 4.09, SD = .81)

ผลการประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริการเยี่ยมบ้านให้คำแนะนำการควบคุม ยาสูบของนักศึกษาภาพรวม พบว่าผู้รับบริการเยี่ยมบ้าน มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
(= 4.68, SD = .32)

 

การบูรณาการทำให้เกิดผลดีกับทั้งสองวิชา ในวิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 นักศึกษาต้องเข้าไปพักอาศัยกับครอบครัวในชุมชน จึงได้กำหนดให้นักศึกษาเลือกดูแลครอบครัว ที่มี ผู้สูบบุหรี่โดยใช้กระบวนการพยาบาล ในขณะเดียวกันก็ส่งผลดีต่อวิชาการควบคุมยาสูบ เพราะเอื้อให้ นักศึกษาได้นำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหัวข้อการสร้างเครือข่ายและประสาน ความร่วมมือในชุมชน (ชุดที่ 8) เพราะในชุมชนที่ศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลมีนโยบายลด ละ เลิกบุหรี่

 

Abstract

This study aimed to study the result of integration of teaching tobacco control course and the subject of family and community nursing practicum II among the fourth year nursing students.
The objectives were three folds: 1) to evaluate the student achievement of learning tobacco control subject, 2) to investigate the nursing students' satisfaction on teaching materials in the subject of tobacco control, and 3) to survey people's opinions on the students' visiting and advice about tobacco control.
The participants of this study were 60 fourth-year nursing students. The research instruments were; 1)
the achievement test on the topic 'Tobacco and Health: Nurse's Roles on Promoting Thai Society to be Free from Tobacco' with the validity at 0.86 by using KR-20. The validity of the questionnaire on teaching materials in tobacco control subject responded by the students, and the questionnaire on the students' visiting and advice about tobacco control responded by the people were tested by Cronbach alpha
coefficient test. The results were 0.87 and 0.83 respectively. The statistics used in the study were
percentage, mean, standard deviation, and paired t-test.

The results of the study revealed the nursing students were satisfied with the overall teaching materials at a high level (= 4.03, SD = .76). The highest score was for set 8, which was about to built networks for tobacco control, which considered as the most satisfied (= 4.09, SD = .81).

The evaluation on the achievement of learning by comparing the students' scores in the pre-and post-test on tobacco control course. It was found that the scores were significantly different at the level
of .01.

Finally, the overall people's opinions on the students' home visiting and advice about tobacco control showed that the people were satisfied at the highest level (= 4.68, SD = .32).

Integration provided benefit for both courses. In the practicum students were assigned to stay with families in the community. The students took care of the families in which there was at least one smoker member by applying the nursing process. This provided the practicum subject with specific direction and encouraged applying tobacco control in the real situation, particularly in the topic of building network and community participation.

 

 

เผยแพร่แล้ว

2012-05-17

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย