ปัจจัยบางประการ ความสามารถในกิจวัตรประจำวันและภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยอัมพาตจากหลอดเลือดสมองที่บ้าน*

ผู้แต่ง

  • สมนึก สกุลหงส์โสภณ ommunity Health Nursing division, Nursing Department, Faculty of medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University
  • สิริวรรณ อนันตโชค Ambulatory Nursing division, Nursing Department, Faculty of medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University
  • กฤษณี โหลสกุล Ambulatory Nursing division, Nursing Department, Faculty of medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University

คำสำคัญ:

Complications, stroke patient

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาไปข้างหน้า (Prospective cohort study) เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ ภาวะ แทรกซ้อนในผู้ป่วยอัมพาตจากหลอดเลือดสมองที่บ้าน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านโครงสร้าง ส่วนบุคคลความพึงพอใจในสัมพันธภาพในครอบครัว ผู้ดูแล การจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวย
ความสะดวก  ความสามารถในกิจวัตรประจำวัน และภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยอัมพาตจากหลอดเลือดสมอง ที่บ้าน

                กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยอัมพาตจากหลอดเลือดสมอง ที่ได้รับการดูแลสุขภาพที่บ้านจากหน่วย ประสานงานโรงพยาบาลและบ้าน ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีจำนวน 100 รายด้วยการประเมินครั้งแรกภายในระยะเวลา 1 เดือนที่บ้านและติดตามทางโทรศัพท์ในเดือนที่ 3, 6, 12 ตามลำดับ

                เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจในสัมพันธภาพ ครอบครัวที่มีค่าความเที่ยง 0.74 ดัชนีบาร์เทลที่ประเมินความสามารถในกิจวัตรประจำวันมีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.85 แบบบันทึกข้อมูลการจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก และแบบบันทึก ภาวะแทรกซ้อน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบปัจจัยระหว่างกลุ่ม ที่มีและไม่มี ภาวะแทรกซ้อนโดยใช้ multiple logistic regression 

                ผลการศึกษา   พบว่าผู้ป่วยอัมพาตจากหลอดเลือดสมองมีอุบัติการณ์ภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 28 ปัจจัยด้านเพศ ผู้ดูแล การจัดการดูแล และความสามารถในกิจวัตรประจำวันในเดือนที่ 1, 3, 6, และ 12 สัมพันธ์ กับภาวะแทรกซ้อน เมื่อนำมาทดสอบการถดถอยแบบโลจิสติคพบว่า มีเพียงปัจจัยด้านเพศที่สามารถทำนาย ภาวะแทรกซ้อนได้ โดยเพศหญิงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากกว่าเพศชาย 4.78 เท่า

Abstract

                The purposes of this prospective cohort study were: 1) to investigate the incidence and risks of complication in stroke survivors at home; 2) to study the relationship between personal variables, family relationship, caregiver, home environment and complications in stroke survivors living at home.

                The study sample consisted of 100 stroke patients who received care from home health care unit of Ramathibodi Hospital. Data were collected at the stroke patient’s homes within one month after the patients discharged from the hospital. Follow ups by phone were conducted at the 3rd, 6th, and 12thmonth. The four instruments used were the Family Apgar Scale with reliability coefficient of 0.74, the Barthel Index with reliability coefficient of 0.85, the Environment Preparation Recording Form, and the Stroke Complication Recording Form. Data were analyzed using descriptive statistics, and multiple logistic
regression analysis.

                The results showed that the incidence of stroke complications were 28 percents. Factors
associating with complications included gender, caregiver, care-given management, and the stroke patient’s activities of daily living at 1st. 3rd, 6th, and 12thmonth. Multiple logistic regression analysis revealed

that gender was the only factor that can predict stroke complications.  The risk of complications in females was 4.78 times higher than males.

เผยแพร่แล้ว

2012-05-17

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย