วามคิดเห็นของผู้รับบริการในแหล่งฝึกปฏิบัติต่อการปฏิบัติงานในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คำสำคัญ:
Client’s opinions, Student performance, Practicum in Nursing for Promoting Health courseบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้รับบริการ ต่อการฝึกปฏิบัติงานในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล คณะ
พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนและครูของโรงเรียนที่เป็นแหล่งฝึก ปฏิบัติงานของนักศึกษา ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุ และพี่เลี้ยงเด็ก ฝ่ายพัฒนาเด็กปฐมวัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 299 คน โดยเลือกแบบ เจาะจงจากนักเรียน ผู้สูงอายุ ครู และพี่เลี้ยงเด็กที่ได้รับการดูแลและมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมสร้างเสริม สุขภาพของนักศึกษา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (ค่าความเที่ยง=0.93) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์จัดกลุ่มเนื้อหาของข้อมูล
ผลการศึกษาพบว่าผู้รับบริการส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อการฝึกปฏิบัติงานในรายวิชาปฏิบัติ
การพยาบาลเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาในภาพรวม (= 4.16; SD= 0.47) และรายด้าน อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ ด้านบุคลิกภาพของนักศึกษามีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด (= 4.25; SD= 0.52) รองลงมาคือความรู้ความสามารถของนักศึกษาในการจัดกิจกรรม (= 4.14; SD= 0.57) ด้านความเหมาะสม ของกิจกรรม (= 4.12; SD= 0.52) และด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด (= 4.06;
SD= 0.56) โดยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมให้ความรู้ คือ หัวข้อความรู้และรูปแบบกิจกรรม
ที่ควรมีความหลากหลายและสอดคล้องกับวัยของผู้รับบริการ ตลอดจนการส่งเสริมให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ของการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและ
ไม่เป็นทางการมากขึ้น
Abstract
This descriptive study aimed to explore client’s opinions towards student performances in a nursing practicum in of Promoting Health Course. Purposive sampling was adopted to recruit 299
participants of 3 groups: pupils and teachers of selected primary and secondary schools, elderly members of the Health Promotion and Rehabilitation Center for the Elderly, and kindergarten staff of the Division of Childhood Development, Faculty of Nursing, Prince of Songkla University (PSU.).These participants were involved with health promotion activities conducted by the second-year nursing students in 2008. Data were collected by using a self-administered questionnaire (r=0.93), and was analyzed by using
content analysis and descriptive statistics including frequency, percentage, mean (), and standard
deviation (SD).
The results revealed that most of participants scored their opinions towards nursing students’ overall
(= 4.16 ; SD= 0.47) and individual performance of 4 components at a high level. Mean score of nursing student personality was at the highest score (= 4.25; SD= 0.52), following by knowledge competency of health promotion (= 4.14; SD= 0.57) and applicability of activities (= 4.12; SD= 0.52). In the other hand, mean score of participation in health promotion activities was the lowest (= 4.06; SD= 0.56).
Recommendation included that nursing students should coordinate their knowledge and activities in a variety of health promotion contents and activities which appropriate for all age-groups. Additionally, students should motivate stakeholders to participate in both informal and formal activities in the overall nursing practicum.