การศึกษาวิธีการที่ผู้ปกครองใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ของเด็กก่อนวัยเรียนที่อยู่ในศูนย์เด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย เขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ สนองญาติ Boromarajonani college of nursing Suphaburi
  • วิลาวัณย์ ธนวรรณ Boromarajonani college of nursing Suphaburi
  • ศิริธิดา ศรีพิทักษ์ Boromarajonani college of nursing Suphaburi

คำสำคัญ:

Preschool/ Behavior/ Behavior modifications

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบวิธีการที่ผู้ปกครองใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ของเด็กก่อนวัยเรียนที่ไม่พึงประสงค์ 5 วิธี คือ การใช้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับเด็ก การจัด สภาพแวดล้อม การเสริมแรง การลงโทษ การจัดกิจกรรม จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา จำนวนบุตร และแสวงหาความรู้เพิ่มเติม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 135 คน ในศูนย์เด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย เขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามพฤติกรรมของเด็กก่อนวัยเรียนที่ไม่พึงประสงค์ ที่ควรปรับเปลี่ยน ที่ผู้ปกครองพบเห็น ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 และ วิธีการที่ผู้ปกครองใช้ในการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมของเด็กก่อนวัยเรียนที่ไม่พึงประสงค์ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว และการใช้ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยวิธี LSD. (Fisher's Least Significant Different)

                ผลวิจัยพบว่าพฤติกรรมของเด็กก่อนวัยเรียนบางประการที่ควรปรับเปลี่ยนโดยรวม และแยกเป็น รายลักษณะ อยู่ในระดับพบเห็นน้อยครั้ง วิธีการที่ผู้ปกครองที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก ก่อนวัยเรียนที่ไม่พึงประสงค์ โดยรวม 5 กิจกรรม เมื่อพิจารณารายกิจกรรมพบว่าวิธีที่ใช้บ่อยมากที่สุด
2 กิจกรรม คือ การจัดสภาพแวดล้อมและการเสริมแรงตามลำดับ การจัดกิจกรรมที่ใช้อยู่ในระดับบ่อยมาก คือการใช้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับบุตร และกิจกรรมที่ใช้อยู่ในระดับน้อย คือการลงโทษ เมื่อเปรียบเทียบวิธีการที่ผู้ปกครองใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กก่อนวัยเรียนที่ไม่พึงประสงค์พบว่า
แสวงหาความรู้เพิ่มเติมของผู้ปกครองต่างกันมีการใช้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับบุตรต่างกันอย่าง
มีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ .05 ส่วนวิธีอื่น ๆ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

                จากผลการศึกษาพบว่าวิธีการที่ผู้ปกครองใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
ของเด็ก มีหลายวิธี เช่น การจัดสภาพแวดล้อมและการเสริมแรงบวกให้กับเด็กเล็ก ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้อง จึงควรมี การพัฒนาและประยุกต์ใช้วิธีการให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนว่าจะตอบสนองต่อวิธีใด ที่สามารถแก้ไข พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กได้ โดยต้องคำนึงถึงการหาวิธีการแก้ไขในเด็กที่มีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน

 

ABSTRACT

The purposes of this study were to compare 5 methods of parents, used for the term behavior modifications: interaction between parents and children, environmental arrangement, reinforcement,
punishment, and activity organization. The samples used in this research were 135 parents of preschool children at day care center under subdistrict administrative organization. The instrument used for data collection was a 4 rating scale questionnaire. The reliability of the behaviors which should be modified was .92, and the reliability of methods of parents for the modification of the behaviors was .98. The data were analyzed by using percentages, means, standard deviation, t-test, one way ANOVA, and Fisher's least significant difference (LSD) test.

 

The results of study revealed as follows.

The behaviors of preschool children which should be modified in general and in individual areas were found at the low level. The methods of parents for the modifying of the behaviors in general were at the high level. When considering in individual methods, it was found that the use of environmental
arrangement was at the highest level. The uses of reinforcement, interaction between parents and children, and activity organization were at the high level while the use of punishment was at the low level. When comparing the methods of parents classified by searching form for additional knowledge, it was found that the use of interaction between parents and children, by the parents with different of searching for additional knowledge, was statistical significance different (p< .05).

Behavior modification was the use of empirically demonstrated behavior change techniques to improve behavior, such as altering an individual's behaviors and reactions to stimuli through positive and negative reinforcement of adaptive behavior and/or the reduction of maladaptive behavior through its "therapy more than punishment ".

เผยแพร่แล้ว

2012-05-14

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย