การติดตามประเมินผลผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี An Evaluation of First -Line Public Health Administrators Training Program Boromarajonnani College of Nursing, Ratchaburi
คำสำคัญ:
The evaluation of self development, First -Line Public Health Administratorsบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการอบรม ผลการพัฒนาตนเองภายหลังการอบรม และ เปรียบเทียบคะแนนการพัฒนาตนเองภายหลังการอบรม ของผู้ผ่านการอบรม หลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี ที่ประเมินโดยผู้ผ่านการอบรม ผู้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน และประเมินความพึงพอใจของหน่วยงาน ต้นสังกัด ที่มีต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้ผ่านการอบรมภายหลังการอบรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้
ในการศึกษา มีจำนวน 126 ราย ได้รับแบบสอบถามกลับคืน จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 85.71 เป็นผู้ผ่าน การอบรม ผู้ร่วมงาน และผู้บังคับบัญชา กลุ่มละ 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 ชุด คือ แบบสอบถาม ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการอบรมหลักสูตรผู้บริหารการสาธารณสุขระดับต้น แบบติดตามประเมินผล ผู้ผ่านการอบรม และแบบประเมินความพึงพอใจของหน่วยงานต้นสังกัดต่อความสามารถในการปฏิบัติงาน ของผู้ผ่านการอบรม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาและมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 .79 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติทดสอบ
ความแตกต่าง Kruskal-Wallis Test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผู้ผ่านการอบรมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการอบรมในด้านปัจจัยนำเข้าของหลักสูตร กระบวนการที่ใช้ในการจัดการอบรม และการนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้ โดย ภาพรวม ในระดับเหมาะสมมาก (= 4.34, SD = .59)
2. คะแนนการพัฒนาตนเองของผู้ผ่านการอบรมภายหลังการอบรมซึ่งประเมินโดยผู้ผ่านการ อบรมผู้ร่วมงาน และผู้บังคับบัญชา โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (= 3.67,SD = .26, = 3.80, SD = .26
และ =3.79 ,SD = .22 ตามลำดับ)
3. คะแนนการพัฒนาตนเองภายหลังการอบรมโดยภาพรวมที่ประเมินโดยผู้ผ่านการอบรม
ผู้ร่วมงาน และผู้บังคับบัญชามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลการประเมิน
จากผู้ร่วมงานมีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 61.53 รองลงมา คือการประเมินจากผู้บังคับบัญชา และจาก
การประเมินโดยผู้ผ่านการอบรมเท่ากับ 58.62 และ 43.35 ตามลำดับ
4. คะแนนความพึงพอใจของหน่วยงานต้นสังกัดที่มีต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของ
ผู้ผ่านการอบรมอยู่ในระดับมาก (= 4.23, SD = .41 )
Abstract
This descriptive research were aim to evaluate post training program for first-line public health Administrators . This evaluate was included the opinion of trainees in first-line public health Administrators program, comparing between before and after training development and the post training development compared with supervisors and co-workers of the trainees. The population were 126 cases but 106 Questionnaires were returned and response rate was 84.44 percents. The data composed of 36 samples in each group of the post -training first-line public health Administrators Boromarajonnani College of Nursing, Ratchaburi, supervisors and co-workers. The instrument using for collecting data consisted of opinion about the management of training program and the developing of post training first-line public health Administrators. The content validity was done by experts ,and the reliability analyzed by Cronbach ,s alpha coefficient were .89, .79 and .91 respectively. The statistical were used by percentage, means, standard deviations and Kruskal-Wallis Test. The results of this study were as follows:
1. The mean score of opinion in training for first-line public health Administrators program
was in high level ( =4.34, SD = .59)
2. The mean score of opinion in post training development that evaluated by themselves,
co-workers and supervisors were in the highest level. (= 3.67, SD = .26, = 3.80, SD = .26 and =3.79, SD = .22)
3. The comparing among post- training first-line public health Administrators, co-workers and supervisors in the development were significant different at .05 by the mean score rank of opinion about training for first-line public health Administrators program by co-workers was higher than by the
supervisors and by themselves at = 61.53, = 58.62 and =43.35 .
4. The mean score of satisfaction in post training first-line public health administrators practices by the original affiliation was high level. (= 4.23, SD = .41 ) As a result of this study we could develop the ultimate goal by suggestion to the trainees should be in refresher course of training for post- training
first-line public health Administrators once a year.