การศึกษาผลและผลกระทบของนักศึกษาและครอบครัวในโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ Outcome and Impact to Students and Families of the Professional Nurse Graduate Increment Project as Solution for Problems in the Southern
คำสำคัญ:
The Professional Nurse Graduate Increment Project, Solution for Problems in the Southernบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเชิงพรรณาแบบตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลและผลกระทบของ นักศึกษาและครอบครัวจากโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ การศึกษาเป็นลักษณะ การวิจัยเชิงบรรยาย ด้วยกระบวนการผสมผสานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาใน โครงการฯ 2,775 รายและบุคคลในครอบครัว(ผู้ปกครอง) 1,762 ราย และกลุ่มประชากรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักศึกษาใน ระบบปกติในวิทยาลัยพยาบาล 25 แห่งที่เข้าร่วมโครงการฯ มีจำนวน 2,051 ราย กลุ่มอาจารย์และบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ อื่นๆ 1,688ราย และกลุ่มตัวอย่างชาวบ้าน มีจำนวน 1,042 ราย ผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพได้แก่ อาจารย์และผู้บริหารของ วิทยาลัยพยาบาล รวม 5 แห่งๆละ 10 ราย รวม 50 ราย จากการสุ่มอย่างง่ายแยกวิทยาลัยตามภูมิภาค ผลการวิจัย ดังนี้
ผลกระทบในเชิงเป้าหมายด้านนโยบาย ส่วนมากรับรู้ได้ว่าโครงการนี้ได้มีส่วนช่วยแก้ไขปัญหา รุนแรงในภาคใต้ โดยเฉพาะการบริการด้านสุขภาพ และเป็นการให้โอกาสพัฒนาคนในพื้นที่ และคิดว่า การลงทุนของรัฐ คุ้มค่ามากผลกระทบเชิงสังคมวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ ส่วนมากรับรู้ว่าวิทยาลัยดูแล นักศึกษาภาคใต้กับภาคปกติ แตกต่างกัน นักศึกษาภาคใต้ได้รับสิทธิมากกว่า ในช่วงแรกกลุ่มศึกษาประมาณ ร้อยละ 60 รู้สึกว่า นักศึกษาภาคปกติมอง นักศึกษาภาคใต้อย่างดูถูก และ มีความไม่ไว้วางใจที่ระดับปานกลาง และมาก และอาจารย์ไม่เข้าใจวัฒนธรรมประเพณีของไทยมุสลิม แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความรู้สึกนี้ลดลง
ผลกระทบด้านการเรียนการสอน ในช่วงภาคเรียนแรก นักศึกษาและอาจารย์เห็นว่าโครงการฯ นี้ ทำให้ อาจารย์ต้องมีภาระงานเพิ่มขึ้น/ยุ่งยากขึ้นในระดับมาก และ ในปีต่อมาภาระเหล่านี้เริ่มลดน้อยลง นักศึกษาร้อยละ 60 ประสบปัญหาในการเรียนการสอนค่อนข้างสูง ซึ่งในแต่ละวิทยาลัยไม่แตกต่างกัน
ทัศนคติต่อการเรียนวิชาชีพพยาบาลและความคาดหวัง เกือบทั้งหมดเห็นว่าเป็นการตัดสินใจ ที่ถูกต้อง ที่มาเรียนพยาบาล ด้วยเหตุผล 3 อันดับแรก คือ มีงานทำแน่นอน ได้ช่วยดูแลคนในครอบครัว และชุมชน และเป็น ข้าราชการ เมื่อเรียนจบส่วนมากหวังจะกลับไปทำงานในภูมิลำเนาเกือบทั้งหมด คาดหวังว่าตนจะสำเร็จการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
ผลกระทบจากชุมชน หลังปี 2551 มีรายงานว่าเหตุการณ์รุนแรงลดลงจากเดิมเกือบครึ่ง ชาวบ้าน เกือบครึ่ง พึงพอใจมากต่อนโยบายรัฐในการแก้ไขปัญหา มีครอบครัวที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจำนวน ไม่มากนัก เช่น ร้อยละ 3.4 ถูกมองว่าเป็นพวกเดียวกับรัฐ หรือ ร้อยละ 0.68 ขาดความไว้วางใจจากคนใน
ชุมชน และร้อยละ 0.23 ต้องย้ายถิ่น ที่อยู่
ข้อเสนอแนะ ในโครงการเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาลลักษณะนี้ เป็นการทำงานภายใต้ความกดดัน บางครั้ง การสนับสนุนเพียงจำนวนเงินอาจไม่เพียงพอ ความสำคัญอยู่ที่การสร้างความเข้าใจ และความชัดเจน ในผู้ปฏิบัติ และคนในชุมชนบางส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการฯนี้ มองว่านักศึกษาฯเป็นพวกของรัฐบาล ดังนั้นรัฐบาลควรสร้างความเชื่อมั่นแสดงความจริงใจให้ชุมชนได้ประจักษ์ ที่ต้องการเห็นคุณภาพชีวิตที่ดี ของคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
Abstract
This cross-sectional descriptive research employed mixed methods to study the outcomes and impacts of the Professional Nurse Graduate Increment Project operation. The population in quantitative study were from 2 groups: the Professional Nurse Graduate Increment Project and the local quota program of nursing students and family from the same nursing college. The first group had 2,775 nursing students and 1,762 family members (parents), the second group had 2,051 regular nursing students from the 25 participating nursing colleges, 1,688 nursing college lecturers and other 1,042 college personnel nearby the colleges. The sample in qualitative study were 50 nursing college lecturers and executives from the random sampling 10 nursing colleges. The research findings revealed that.
For the policy goal impact, most sample members perceived that the project solved the national violence problems for the southern region especially the shortage of staff in the health service and strongly agreed with this project. Most of the sample also believed that this project which government investment was worthy at high and very high level.
For the socio-cultural and welfare impact, most sample members perceived that the nursing
colleges treated the southern and regular nursing students differently. The southern students got more privileges. The 60% of respondents perceived that the regular students looked down on students from the South. On the issue that nursing college lectures lacked an understanding of the culture and traditions of the Thai Muslims, this feeling subsided when time passed.
For the learning impact, the students and college lecturers believed at the first semester that the project greatly put a heavy burden on the college lecturers. On the following year, they felt the burden decreased. About 60% of the students in the project had quite severe learning difficulty, the degree of which was similar among the nursing colleges.
For the attitude of nursing profession and expectation, most sample members viewed as the correct decision that they chosen to study nursing. The three reasons to join the project were secure employment, an opportunity to take care of family members and community, and a pave way to become government officials. They expected to come back to work at their home districts after graduation and believed that they education was standard quality.
The community impact, after BE 2551, it was reported that the local unrest in attacks on
personnel of health service and government buildings was cut in half. Almost half of the people in the community were satisfied with the government policy for a solution to the southern unrest at a high level. Only a small number reported on violent impact
Suggestions and considerations for the future, for some people in the southern communities who opposed the project and believed that the students were on government side, the government should demonstrate sincerity by creating trust. This trust should have come from the government's determination to improve the quality of life for the southern people.