ประสิทธิผลของการใช้กระบวนการกลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด THE EFFECT OF SELF HELP GROUP ON SELF - CARE AND QUALITY OF LIFE OF THE BREAST CANCER PATIENTS RECEIVING CHEMOTHERAPY

ผู้แต่ง

  • พวงแก้ว จินดา Jainadnarendra Hospital
  • รุ่งพร ภู่สุวรรณ์ Jainadnarendra Hospital

คำสำคัญ:

self help group, Self-care, Quality of life, the breast cancer patients

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อ พฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัดที่มารับการรักษา ในโรงพยาบาลชัยนาทนเรนทรในระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม 2554 คณะผู้วิจัยเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยการจับฉลากเข้ากลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 25 คน กลุ่มควบคุม 25 คน ซึ่งกลุ่มทดลองจะได้รับการเข้ากลุ่มช่วยเหลือตนเองส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ   กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม จะได้รับการประเมินคะแนนคุณภาพชีวิตและพฤติกรรมการดูแลตนเองก่อนได้รับ ยาเคมีบำบัด และอีก 2 เดือนเมื่อผู้ป่วยมาตามนัดจะได้รับการประเมินซ้ำ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองแบบประเมินคุณภาพชีวิต โดยได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สถิติอัลฟาครอนบาค ได้เท่ากับ .89 และ .83 ตามลำดับ

                ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการเข้ากลุ่มช่วยเหลือตนเองมีคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองและ คุณภาพชีวิตสูง กว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแล ตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          สรุปผล การใช้กลุ่มช่วยเหลือตนเอง เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมที่ได้รับยา เคมีบำบัดมีพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตดีขึ้น

ABSTRACT

The purposes of the quasi - experimental study were to examine the effect of self help group on self-care and quality of life of the breast cancer patients receiving chemotherapy, Jainadnarendra hospital during June to July, 2011. The patients were randomly assigned in experimental and control groups. Each group consisted of 25 patients. The experimental group receiving self help group and control group receiving treatment as usual were implemented, the pre-test for self care and quality of life score was done before they received chemotherapy. The post-test was done in both groups on the 8th week later at the follow up. The instruments used in this study were the demographic data collection, the self care
questionnaires and the quality of life evaluation. The questionnaires were validated by experts and tested Cronbach's alpha coefficient for their reliability (.89 and .83 respectively) t-test was used for statistical analysis for this study.

The results revealed that patient receiving self help group was significantly higher self care score and quality of life score than those of patients receiving treatment as usual (p < .05).

Conclusion: Self-help group is a strategy that can promote the effective self-care and quality of life in breast cancer patients receiving chemotherapy.

เผยแพร่แล้ว

2012-05-14

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย