สถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับการดูแลผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการมีส่วนร่วมของ ภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชน ตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • สมพร รักความสุข มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
  • ภาวนา กีรติยุตวงศ์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
  • รัชนี สรรเสริญ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 333 หมู่ที่ 1 ต.ท่าสุด อ.เมือง จ.เชียงราย 57100

คำสำคัญ:

Persons with Type 2 Diabetes Mellitus, Participation, Health Care Network

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับการดูแลผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชน ตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด จำนวน 55 คน ประกอบด้วย เป็นผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2  จำนวน 20 คน  ภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชน ประกอบด้วย  ผู้ดูแลในครอบครัว จำนวน  10  คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน  20  คน กรรมการชุมชน จำนวน 3  คน และทีมสุขภาพเชิงรุก จำนวน  2 คน  เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แนวทางการสนทนากลุ่มย่อยและการสัมภาษณ์เชิงลึก  แบบวัดกิจกรรมการดูแลตนเองของผู้เป็นเบาหวาน  แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เป็นเบาหวานต่อการได้รับการสนับสนุนการดูแลจากภาคีเครือข่ายสุขภาพ  และแบบสอบถามการสนับสนุนการดูแลผู้เป็นเบาหวานโดยภาคีเครือข่ายสุขภาพ  เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม 2554  พฤษภาคม 2555  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสถิติพรรณนา

ผลการวิจัย 1) สถานการณ์ปัญหา เกี่ยวกับการดูแลตนเองของผู้เป็นเบาหวาน  จากการสนทนากลุ่มย่อย  พบว่า ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานที่ถูกต้องด้านการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลตนเอง  จากการตอบแบบสอบถาม  พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดี   ส่วนด้านความพึงพอใจต่อการได้รับการสนับสนุนการดูแลจากภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชน  พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  2) สถานการณ์ปัญหา เกี่ยวกับการดูแลผู้เป็นเบาหวานของภาคีเครือข่ายสุขภาพ  จากการสนทนากลุ่มย่อย พบว่า  ส่วนใหญ่ยังขาดทั้งความรู้และทักษะในการดูแลผู้เป็นเบาหวานที่ถูกต้อง  ขาดคู่มือที่เป็นแนวทางในการดูแล  ส่วนด้านการสนับสนุนการดูแลผู้เป็นเบาหวานของภาคีเครือข่ายสุขภาพ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง

ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้คือ  ทีมสุขภาพเชิงรุก ควรเป็นศูนย์กลางของการดูแลผู้เป็นเบาหวานโดยนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาศักยภาพของผู้เกี่ยวข้องตามสภาพที่เป็นจริง และวางแผนการดูแลผู้เป็นเบาหวาน โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในชุมชนในลักษณะของภาคีเครือข่ายสุขภาพ  เพื่อให้การดูแลผู้เป็นเบาหวานอย่างเป็นระบบและมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้อง นำไปสู่การเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เป็นเบาหวานอย่างแท้จริงและมีความยั่งยืน

คำสำคัญ : ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2   การมีส่วนร่วม   ภาคีเครือข่ายสุขภาพ

Abstract

The objective of  this  research  was  to  study  the  situation  about  the problems  for taking care of type 2 diabetes persons with  participation of  members  in community health  care  network in  Nong Chak Subdistrict, Ban Bueng  District, Chonburi. The  samples were 55 persons  included  20 type 2 diabetes persons, community health care network  included  10  caregivers in the family, 20 Village Health Volunteers (VHV),  3 members from Community Committee and  2  members from Proactive Health Care Team.  The tools  consisted  of  group  discussion  method  and in-depth interview, self-care  activity  testing for diabetes  persons, satisfaction meter for diabetes persons  towards  the support from community health  care  network  and the support meter from community health care network towards  to the diabetes persons. The collecting data was obtained during October 2011 to May 2012 and  analyzed  by content analysis and descriptive statistics.
The  result  shows  that there were  more female diabetes  persons  than  males.  43.75  % of the diabetes persons suffer high blood pressure and 60 % of the diabetes persons  have collective average blood  sugar  levels  more than 8 mg%. In terms of situation about the problems of self-care, it was found that there was a lack of knowledge, understanding about precise diabetes disease. The practice on self-care activities was in a fair level. The satisfaction towards the support/care  from community  health  care  network  in  overall  was  in a medium  level. With  regard  to situation  about the problems  for taking care of the diabetes persons, it was found that most of the caregivers, VHV, Community Committee, and Proactive Health Care Team still lack  of  the  precise  knowledge and skill in taking care of diabetes persons. There was no guideline for taking care of the diabetes persons too. Regarding the support of community health care network towards the diabetes persons, the overall image was in a medium level. However, there was no distinct and systematical relation between the diabetes persons, family, VHV, Community Committee, and Proactive Health Care Team.
This research suggested  that the Proactive Health Care Team should  acts  as  the center for taking care of  the diabetes persons by using the information to improve the potential of the relevant parties on  reality  basis  and  plan  to create model care by focusing on the participation of  the relevant parties in the community in the form of  health care network in order to systematically  take care of the diabetes persons and encourage the participation of  relevant parties which will truly and enduringly lead  to a good outcome for the diabetes persons.

Keywords : Persons  with Type 2 Diabetes Mellitus, Participation, Health Care Network

Author Biographies

สมพร รักความสุข, มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

นิสิตปริญญาเอก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ภาวนา กีรติยุตวงศ์, มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

รัชนี สรรเสริญ, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 333 หมู่ที่ 1 ต.ท่าสุด อ.เมือง จ.เชียงราย 57100

รองศาสตราจารย์  สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย