การพัฒนารูปแบบสถาบันอุดมศึกษาในกำกับกระทรวงสาธารณสุขของสถาบันพระบรมราชชนก

Higher Education Development Model of Colleges, Praboromarajchanok Institute, Under the Jurisdiction of the Ministry of Public Health

ผู้แต่ง

  • ปัทมา ทองสม สถาบันพระบรมราชชนก
  • รุ้งรังษี วิบูลชัย สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • เพชรมณี วิริยะสืบพงศ์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • กุลธิดา กุลประฑีปัญญา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1.วิเคราะห์สภาพการณ์และรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนก  2.พัฒนารูปแบบสถาบันอุดมศึกษาในกำกับกระทรวงสาธารณสุขของสถาบันพระบรมราชชนก และ 3.ประเมินความสอดคล้องของรูปแบบสถาบันอุดมศึกษาในกำกับกระทรวงสาธารณสุขของสถาบันพระบรมราชชนกกับข้อมูลเชิงประจักษ์  โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนาด้วยการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) มีทั้งหมด 3 ขั้นตอน คือ 1)การวิเคราะห์สภาพการณ์และตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการของสถาบันพระบรมราชชนก  2)การศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบสถาบันอุดมศึกษาในกำกับรัฐบาล  และ 3)การตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบสถาบันอุดมศึกษาในกำกับกระทรวงสาธารณสุขกับข้อมูลเชิงประจักษ์  การคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร 20 เท่าของตัวแปรได้จำนวน 1,600 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนตามสัดส่วนประชากรสายบริหาร  สายวิชาการ และสายสนับสนุน ของสถาบันพระบรมราชชนก เครื่องมือที่ใช้การวิจัยเป็นแบบสอบถาม 2 ชุด ใช้ในการจัดกลุ่มตัวแปรและตรวจสอบรูปแบบซึ่งผู้วิจัยสร้างเองผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และ 0.86 ตามลำดับ ในการตรวจสอบรูปแบบฯ ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis Model) ด้วยโปรแกรม LISREL

          ผลการวิจัย

  1. การบริหารจัดการการศึกษาของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข มีปัญหาในการบริหารวิชาการมากที่สุด คือ ไม่คล่องตัวในการพัฒนาหลักสูตรและผลงานวิจัย/วิชาการในระดับมากถึงมากที่สุด
  2. รูปแบบสถาบันอุดมศึกษาในกำกับกระทรวงสาธารณสุขของสถาบันพระบรมราชชนก ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย  องค์ประกอบ 8  องค์ประกอบและมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.79 – 0.96   ดังนี้  1) การบริหารจัดการทั่วไป 2) การพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการ 3) สภาสถาบันอุดมศึกษา 4) สภาวิชาการ  5) การแสวงหาอาจารย์ที่เป็นคนเก่ง/เชี่ยวชาญเฉพาะและคนดี  6) การให้บริการวิชาการ  7) การบริหารงานบุคคล  และ 8) บริหารงบประมาณ การเงิน  การพัสดุ  และทรัพย์สิน
  3. ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบสถาบันอุดมศึกษาในกำกับกระทรวงสาธารณสุขของสถาบันพระบรมราชชนกกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าดัชนีความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.60 ค่า AGFI เท่ากับ 0.58 ค่า SRMR เท่ากับ 0.07 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.08 ค่า NNFI เท่ากับ 0.98 ค่า NFI เท่ากับ 0.98 ค่า CFI เท่ากับ 0.98 และค่า PNFI เท่ากับ 0.95

ข้อเสนอแนะต่อการนำผลการวิจัยไปใช้  ผู้บริหารและบุคลากรสามารถนำรูปแบบสถาบันอุดมศึกษาในกำกับกระทรวงสาธารณสุขของสถาบันพระบรมราชชนกไปใช้ในการพัฒนาระบบการจัดการศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนกให้สอดคล้องและรองรับการศึกษาในศตวรรษที่21 และThailand 4.0 ผ่านการวางแผนบริหารจัดการสถาบันพระบรมราชชนกในกำกับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อยกระดับผลลัพธ์การดำเนินงานจากการเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับกระทรวงสาธารณสุขของสถาบันพระบรมราชชนกให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ

ABSTRACT

            This mixed method research aimed to 1) analysis both current situation and educational administration model 2) develop a higher education development model of colleges, Praboromarajchanok Institute, under the jurisdiction of the Ministry of Public Health, and 3) investigate  the higher education development model by a mixed method research methodology. The mixed method research methodology had 4 steps 1) situational Analysis and Variables Related to the Management of the Praboromarajchanok Institute 2) theory and concept  analysis of Higher Education Institution both government and private universities from at least 10 years experiences of 7 experts 3) validation of conformation of the higher education institution model in the Ministry of Public Health with empirical data. Sample size was calculated by 20 times of the variables.  There were 1,600 participants gained by population-based stratified random sampling from three groups: administrative, academic, and support staff of the Praboromarajchanok Institute. Data were gained from 2 questionnaires developed by the researcher. The content of questionnaire was validated by 7 experts, with IOC score of 0.80 to 1.00. The questionnaire reliabilities were .93 and .86 (respectively) by the Cronbach’s Alpha Coefficient.  Data of model development were analyzed by Confirmatory Factor Analysis with LISREL program. 

            The results revealed that:  

  1. The most problematic issue was educational administration which was no freedom of flexibility to develop Colleges’ curriculums, researches and academic works at the score of high to highest level
  2. 2. Higher Education Development Model of Colleges under the Jurisdiction of the Praboromarajchanok Institute had 8 elements (with weighted between 0.79-0.96).  They were: 1) General Management 2) Academic Excellence Development 3) Higher Education Council 4) Academic Advisory Board 5) Professors/Professors/Professionals recruitment 6) Academic Services 7) Personnel management and 8) budget, finance, procurement/supplies and property
  3. The results of the examination of the suitability of the higher education development model with empirical data showed that: GFI = 0.60, AGFI = 0.58, the Standardized Root Mean Square Residual (SRMR) = 0.07, RMSEA = 0.08, NNFI = 0.98,
    NFI = 0.98, CFI = 0.98, andPNFI = 0.95.

          Recommendations for applying research results: both administrators and academic staff of the Praboromarajchanok Institute under jurisdiction of the Ministry of Public Health can apply this development model of higher education, in order to: 1) properly develop of educational management system 2) be consistent and 3) support the policy of  “21st century education” and “the Thailand 4.0”  through the administration planning in order for increasing the operational results focusing on  effective and efficient  of the higher education performance.

References

1. Srisa-an,V.Principles and concepts of university govermance. Seminar Report, Re form of Thai University Affairs,1995. (Mimeographed) (in Thai)
2. Praboromarajchanok Institute. Praboromarajchanok Institute Business Plan, 2016. (Mimeographed) (in Thai)
3. Praboromarajchanok Institute. Statement on the establishment of the Institute of Praboromarajchanok, the governing body of the Ministry of Public Health, according to the guidelines of the establishment of public organizations, as instructed by the Minister, Nontaburi. (Mimeographed) (in Thai)
4. Praboromarajchanok Institute. Praboromarajchanok Institute Strategic Plan, Nontaburi,2016. (Mimeographed) (in Thai)
5. Strategic office of Ministry of Public Health. 20-years strategic for Ministry of Public Health,2016. (Mimeographed) (in Thai)
6. Cameron, Kim S. “Domains of organizational effectiveness in colleges and universities.” Academy of Management Journal, 2001; 24 (1) :25-47.
7. Christensen, Clayton M., and Henry J. Eyring. The innovative university: Changing the DNA of higher education from the inside out. John Wiley & Sons, 2011.
8. Corcoran, Peter Blaze, and Arjen EJ Wals. “Higher education and the challenge of sustainability.” Dordrecht: Kluwer Academic Publishers, 2004; 10 : 0-306. Johnstone, Donald Bruce, Alka Arora, and William Experton. The financing and management of higher education: A status report on worldwide reforms. Washington, DC: World Bank, 1998.
9. Chamornman,U.,et al. Preparation of state universities to be a government directing university, Research Fund Institute,1999. (Mimeographed) (in Thai)
10. Wiratchai,N. Lisrel Model:Statistical Analysis for Research. 3rd , Chulalongkorn University,Bangkok,1999. (in Thai) Alexander, F. King. “The changing face of accountability: Monitoring and assessing institutional performance in higher education.” Journal of Higher Education, 2000: 411-431.
11. Hentschke, Guilbert C., Vicente M. Lechuga, and William G. Tierney. Non-Profit Colleges and Universities: Their Markets, Regulation, Performance, and Place in Higher Education. Stylus Publishing, LLC. PO Box 605, Herndon, VA, 20172-0605, 2010.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-07

ฉบับ

บท

บทความวิจัย