การพัฒนารูปแบบประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอื้ออาทรของ นักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

The Development of an Evaluation Model for Assessment of the Caring Competencies of Nursing Students in Nursing Colleges under Praboromarajchanok Institute

ผู้แต่ง

  • ชวนนท์ จันทร์สุข มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สมคิด พรมจุ้ย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สุพักตร์ พิบูลย์ รองศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ นักวิชาการอิสระ ข้าราชการบำนาญ
  • เยาวดี สุวรรณนาคะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                                    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสมรรถนะ ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ( 2) พัฒนารูปแบบประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล และ(3) ประเมินคุณภาพของรูปแบบประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่าง  เอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล 

            วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสมรรถนะ ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน  32  คน  เครื่องมือวิจัยได้แก่  แบบประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล  กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน อาจารย์พยาบาล จำนวน 15  คน  พยาบาลพี่เลี้ยง จำนวน 15 คน และนักศึกษาพยาบาล จำนวน   120 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่  ร่างรูปแบบประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล  แบบสอบถามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ และแบบประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และระยะที่ 3 การประเมินคุณภาพของรูปแบบประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล โดยนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท   ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ อาจารย์พยาบาล  จำนวน  7 คน  พยาบาลพี่เลี้ยง จำนวน 7 คน และ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 จำนวน 9 คน   เครื่องมือวิจัย ได้แก่  รูปแบบประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล แบบบันทึกประเด็นสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามคุณภาพของรูปแบบประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล   วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา

                      ผลการวิจัยปรากฏว่า  (1) สมรรถนะการดูแลอย่างเอื้ออาทรของศึกษาพยาบาล ประกอบด้วย         5 สมรรถนะ ๆละ 10  ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ด้านเคารพในคุณค่าความเป็นมนุษย์ 2) ด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 3) ด้านการใช้ความรู้และทักษะเชิงวิชาชีพ  4) ด้านความเมตตากรุณาและความเห็นอกเห็นใจ และ 5) ด้านการใส่ใจอย่างแท้จริง เกณฑ์การประเมิน คือ ค่าเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ 3.50 ขึ้นไป ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน  (2) รูปแบบประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอื้ออาทรสำหรับนักศึกษาพยาบาล ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1)  เป้าหมายของการประเมิน 2) สิ่งที่มุ่งประเมินและเกณฑ์การประเมิน   3) วิธีการประเมิน  4) การให้ข้อมูลย้อนกลับ และ (3) ผลการประเมินคุณภาพรูปแบบประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล โดยภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด  โดยด้านความเหมาะสม ความถูกต้อง และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

          ข้อเสนอแนะ (1) รูปแบบประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอื้ออาทรสำหรับนักศึกษาพยาบาลสามารถขยายผลไปใช้กับวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนกแห่งอื่นๆ และ (2) เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบประเมินสมรรถนะด้านอื่นๆ ของนักศึกษาพยาบาล เช่น สมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาล  สมรรถนะที่พึงประสงค์ เป็นต้น

ABSTRACT

           The objectives of this research were (1) to study caring competencies, indicators and evaluation criteria of caring competencies of nursing students in nursing colleges under Praboromarajchanok Institute; (2) to develop an evaluation model for assessment of the caring competencies of nursing students; and (3) to evaluate quality of the developed evaluation model for assessment of the caring competencies of nursing students.

           The research process comprised three stages:  Stage 1 was a study of indicators and evaluation criteria of caring competencies of nursing students; the research sample consisted of 32 third year nursing students; the employed research instruments were a  caring competency evaluation form of nursing students; data were analyzed using the mean, and standard deviation; Stage 2 was the development of an evaluation model for assessment of the caring competencies of nursing students; the research sample consisted of nine experts, 15 nursing instructors, 15 mentor nurses, and 120 nursing students; the employed research instruments were a draft of the evaluation model for assessment of the caring competencies of nursing students , a questionnaire on appropriateness and feasibility of the model, and a caring competency evaluation form of nursing students ; data were analyzed using the mean, and standard deviation; and Stage 3 was the quality evaluation of the developed evaluation model for assessment of the caring competencies of nursing students by trying out the developed model with research informants at Boromarajonani College of  Nursing, Chainat; research informants consisted of seven nursing instructors, seven mentor nurses, and nine fourth year nursing students; the employed research instruments were the developed evaluation model for assessment of the caring competencies of nursing students , a form for recording focus group discussion issues, and a       quality questionnaire of evaluation model for assessment of the caring competencies of nursing students ; and data were analyzed using the mean, standard deviation, and content analysis.

            Research findings showed that (1) the caring competencies of nursing students comprised five competencies each of which containing 10 indicators; the competencies were the following: 1) the respect on human dignity; 2) the efficient communications; 3) the uses of professional knowledge and skills; 4) the loving-kindness and sympathy; and 5) the real mindedness and devotion; meanwhile, the passing criterion was determined at the mean of 3.50 or higher; (2) the developed evaluation model for assessment of the caring competencies of nursing students was composed of four components: 1) the goal of evaluation; 2) competencies to be evaluated and evaluation criteria; 3) evaluation methods; 4) the provision of feedback information; and (3) results of quality evaluation of the developed evaluation model for assessment of the caring competencies of nursing students showed that the model as a whole was appropriate at the highest level, with the aspects of appropriateness, accuracy, and usefulness being rated at the highest level; while the aspect of feasibility being rated at the high level.

                                It was recommended that (1) An evaluation model for assessment of the caring competencies of nursing students can be extended to other nursing colleges under Praboromarajchanok Institute; and (2) As a guideline for the develop an evaluation model for assessment of the other competencies of nursing students such as nursing practice  competency,  desirable competency, etc.

References

REFERENCES
1.Watson, J. Caring science as sacred science. Philadelphia : F.A. Davis Co., 2006.
2. Hanucharurnkul, S. Nursing: The science of practice. Bangkok: V. J. P rinting, 2001. (in Thai)
3. Praboromarajchanok Institute for Health Workforce Development, Ministry of Public Health. Bachelor of Nursing Science Program Improved 2012. Nonthaburi: Praboromarajchanok Institute for Health Workforce Development; 2012. (in Thai)
4. Meencharoen, W. and Chuathong, S. The caring behaviors in nursing practice of graduates of Bachelor of Nursing Science in College of Nursing under Ministry of Public Health. Research report. Boromarajonani College of Nursing, Saraburi: Saraburi; 2007. (in Thai)
5. Udomluck, S. The Development of Thai nurses caring Scales. Doctor of Philosophy Program in Nursing Science. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2010. (in Thai)
6. Suebwonglee, C. Development of a Nursing Caring Behavior Assessment Instrument using the Cognitive Interview Technique. Doctor of Philosophy Degree. Bangkok: Chulalongkorn University; 2010. (in Thai)
7. Luengarun, P. The Development of Nursing Students Caring Behavior Scales. Research report. Songkhla: Boromarajonnani College of Nursing, Songkhla; 2010. (in Thai)
8. Swanson, K.M. What is know about caring in nursing science : A literary meta-analysis. In A.S. Hinshow, S.L. Feedtham & J.L. Shaver (Eds), Handbook of Clinical Nursing Research. California: Thousand Oaks, 1999.
9. Roach, M. S. The human act of caring : A blueprint for the health professions. Ottawa: Canadian Hospital association, 1997.
10. Leininger, M. M. Culture care diversity and universality: A theory of nursing. Boston: Jones and Bartlett Publishers, 2001.
11. Kanjanawasi, S. Evaluation theory. (4 th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House; 2004. (in Thai)
12. Joint Committee on Standards for Educational Evaluation. The program evaluation standards. Thousand Oaks, CA: Sage; 1994
13. Tantiphlachiva, K. Development of nursing practice model emphasizes community for nursing students: Performance method . Doctoral dissertation,Chulalongkorn University, Bangkok; 1989. (in Thai).
14. Stufflebeam, D.L. Evaluation Models. San Francisco: Jossey-Bass; 1981.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-07

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย