การพัฒนาสื่อของเล่นจิ๊กซอว์ภาพเรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กพิเศษ โรงเรียนบริบูรณ์ศิลป์ศึกษา กรุงเทพมหานคร

The development of jigsaw puzzles image of English vocabulary for special need children at Boriboonsilsuksa School Bangkok provin

ผู้แต่ง

  • วินัย สยอวรรณ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก
  • อรุณี ยันตรปกรณ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก
  • สุภานันท์ จิรสินธิปก วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก
  • อรรฆพล แสงคำ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสื่อของเล่นจิ๊กซอว์ภาพเรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กพิเศษ และผลของการใช้ของเล่นโดยการเปรียบเทียบคะแนนความรู้ก่อนหลังการเล่น และ ประเมินความพึงพอใจของผู้ดูแลเด็กพิเศษต่อการใช้ การพัฒนาเริ่มจากการสร้างสื่อของเล่นจิ๊กซอร์ให้มีภาพภาษาอังกฤษ มีเสียง และมีไฟกระพริบเมื่อต่อภาพถูกต้องจะมีเสียงภาษาอังกฤษขึ้น เมื่อสร้างสื่อของเล่นเรียบร้อยนำไปใช้กับเด็กพิเศษช่วงชั้นอนุบาล – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 15 คน นาน 1 เดือน โดยมีกลุ่มผู้ดูแลเด็กพิเศษ จำนวน3 คนเป็นผู้ควบคุมและประเมินผลการใช้งาน มีการประเมินผลสัมฤทธิ์โดยการใช้แบบทดสอบวัดความรู้เรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษแบบจับคู่จำนวน10ข้อ  ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และผ่านการทดสอบค่าความยากและค่าอำนาจจำแนก และมีแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจต่อการใช้งานโดยครูพี่เลี้ยง ใช้สถิติ Pair t-test ทดสอบความรู้ก่อนหลัง และวิเคราะห์ผลการสัมภาษณ์ความพึงพอใจโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการศึกษาพบว่าผลสัมฤทธิ์ต่อการเรียนรู้หลังการทดลองเล่นจิ๊กซอว์ภาพสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 ผลการประเมินการสัมภาษณ์ความพึงพอใจของครูผู้ดูแลเด็กพิเศษที่ทดลองใช้สื่อของเล่นจิ๊กซอว์ภาพ พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กพิเศษมีความพึงพอใจต่อการใช้สื่อของเล่นจิ๊กซอว์ภาพในเรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยผลการสัมภาษณ์พบว่าขนาดและวัสดุของสื่อมีความเหมาะสม มีความคงทนชำรุดยากและขนาดของสื่อยังสามารถให้เด็กพิเศษเล่นร่วมกันเป็นกลุ่ม ภาพประกอบของสื่อมีความเหมาะสม และเสียงบรรยายมีความชัดเจน

ABSTRACT

          This study aimed 1) to develop jigsaw puzzles image of English vocabulary for Autistic children ; 2) to compare the knowledge before and after playing the jigsaw puzzles image, and 3) to measure the satisfaction level of caregivers to use special media. There are two groups of subjects: a group of 15 autistic children at Kindergarten - Grade 1 and 3 caregivers of special needs children. The instruments included a jigsaw puzzles image of English vocabulary, vocabulary test and satisfaction interview forms for caregivers of Autistic children. All instruments were reviewed by Content Validity, difficulty index and discrimination. The data has been collected in May - June 2016. The Pair t-test was employed to test the hypothesis. The interview data on the care-givers’ satisfaction was analyzed by using content analysis technique.

          The study found that the achievement of learning by using the jigsaw puzzle image was higher significant than before using the jigsaw puzzle image at the 0.05 level. Regarding to the interview result, it is found that caregivers of Autistic children  are satisfied with the use of jigsaw puzzle image of English vocabulary. The caregivers of Autistic children stated that the media size and material are appropriate. Media are big and strong. Autistic children can play media together as a group. The illustration of the media is appropriate and audio is clear

References

REFERENCES
1. SriruenKaewkangawan(2005). Child Psychology with special character. Bangkok: folk doctors
2. TheerasakGavarakul (2005). Classroom education in parallel with autism.Bangkok: Printing House Teachers Council LatPhrao.
3. VareeThiramit (2002). Education for special children. (3rd edition). Bangkok:Publisher of Chulalongkorn University.
4. PattayaLunsri. (2009). Techniques of teaching autistic children. Retrieved on October 20, Fromhttps://www.l3nr.org/posts/35837.
5. Ministry of Education. (2002). Core Curriculum for Basic Education. Bangkok:Community Publishing House of Agricultural Cooperatives of Thailand.
6. Nada.A. ADDIE Model. American International Journal of Contemporary Research, 2015;5(6): 68-72.
7. JirawanSiriprasert (2002). Skills and techniques in teaching physical education in elementary schools. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
8. KalayaneeIntakin (2007).A study of the social skills of early childhood autistic children. (Ph.D. Special Education College). Bangkok: Srinakharinwirot University.
9. AcharaPornlakul (2016).Study of special reading ability of children by teaching method. (Master of Public Health Thesis) Bangkok: Mahidol University.
10. Office of the Secretary-General of the National Education Council. (2002). The development of talented children and youth. Bangkok: Office of the Secretary General.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-07

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย