แนวทางการพัฒนาสุขภาวะองค์รวมโดยนวัตกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ : ประเทศไทยอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ นวัตกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาสถานการณ์สุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุและศึกษาแนวทางการพัฒนาสุขภาวะองค์รวมโดยนวัตกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย
วิธีการวิจัย : กระบวนการพัฒนา ประกอบด้วย 4 ระยะ คือ 1) ระยะศึกษาสถานการณ์ปัญหาการดูแลสุขภาวะองค์รวมโดยนวัตกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ 2) ระยะวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน 3) ระยะวางแผนและปฏิบัติการ 4) ระยะติดตามและประเมินผล
ผลการวิจัย : สถานการณ์สุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุ ตำบลภูหอ มีจำนวนผู้สูงอายุร้อยละ 17.23 ของประชากรทั้งหมด แนวทางพัฒนาสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุโดยนวัตกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1) ด้านร่างกาย ส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การป้องกันการเจ็บป่วยทั้งโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ 2) ด้านจิตใจ จัดกิจกรรมผ่อนคลายจิตใจของผู้สูงอายุให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการผ่อนคลายความเครียดหรือซึมเศร้า 3) ด้านสังคมเน้นส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นโดยใช้กิจกรรมกระบวนการกลุ่มมากระตุ้น การมีส่วนร่วมของสมาชิกในครอบครัว และ 4) ด้านจิตวิญญาณ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกเสียสละ เห็นใจผู้อื่น เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาช่วยเหลือในชุมชน
สรุปผล : การดูแลสุขภาวะองค์รวมผู้สูงอายุต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ทำงานร่วมกัน และการให้ครอบครัวผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะองค์รวมที่สมบูรณ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
World Health Organization. Ageing and health. [Internet]. 2022 [cited 2023 Feb 1]; Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ageing-and-health.
National Statistical Office. The 2021 survey of the older persons in Thailand. [Internet]. 2017 [cited 2023 May 1]; Available from: https://www.dop.go.th/ down load/knowledge/th1663828576-1747_1.pdf.
Phuho Subdistric Administrative Organization. Population database report. [Internet]; 2022 [cited 2019 Nov 1]. Available from: http://www.phuho.go.th/. (in Thai).
Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute. Situation of the Thai elderly 2020. [Internet]. 2020 [cited 2023 Feb 1]. Available from: https://thaitgri.org/?p=39772. (in Thai).
World Health Organization. Mental health. [Internet]. 2022 [cited 2023 Feb 1]; Available from: https://www.who.int/new s-room/fact-sheets/detail/mental-health-strengthening-our-response/?gclid=Cj0K CQi AkKqsBhC3ARIsAEEjuJj1vQGK12K
DIQfZojT6wCfRsmN03QX4ND2mXwFbsFTd298Zip5cwFAaAn7IEALw_wcB.
Kemmis S, McTaggart R, Nixon R. The action research planner. [Internet]. 2014 [cited 2020 Nov 1]; Available from: http://elibrary.mukuba.edu.zm:8080/jspui/bitstream/123456789/625/1/The%20Action%20Research%20Planner.pdf.
Nuntaboot K. Thailand Community Network Appraisal Program: TCNAP. [Internet]. 2019 [cited 2020 May 1]; Available from: https://tcnap.org/production/download/คู่มือ%20TCNAP%20(ผลิต%20ก.ย.62).pdf.
Mahem K, Manadee P, Sukkum W, Pimuang R. A community care system for older people requiring assistance, Phu Ho Sub-district, Phu Luang District, Loei Province. Nursing Journal CMU. 2022;49(2):80-96. (in Thai).
Rojanadhamkul N. Factors affecting the self health care behavior of the elderly “Kharuratana Senior Instructors Club Rajabhat Phranakhon University” Bang Khen District, Bangkok. Journal of Innovation and Management. 2020;30(2):115-28. (in Thai).
Larping U. A Study of how to apply objects of sympathy to develop the elderly’s social health in Northern Thailand. Thammathas Academic Journal. 2018;18(2):233-43. (in Thai).
Rojpaisarnkit K, Kreingkaisakda W. Development of guidelines for implementation of the community for developing well-being of the elderly. Journal of the Association of Research. 2017;22(1):81-97. (in Thai).
Jaiyen N. Guidelines for improving the quality of life of the elderly with disabilities in the area of Tha Mai Subdistrict Municipality, Tha Maka District, Kanchanaburi Province [Dissertation]. Bangkok: Silpakorn University; 2014. (in Thai).
Kehatan B, Nawsuwan K, Khammathit A, Singweratham N. The development of the health promotion model for social- bound widowed older adults. Udonthani Hospital Medical Journal. 2021; 29(3): 416-30. (in Thai).
Sukadisai P, Mapudh C, Kitiyanusan R. Life style and guidelines for well being of the elderly in the Eastern Region. Journal of Education and Social Development. 2014;10(1):90-102. (in Thai).
Soisri T. Elderly school: Patterns and processes of elderly health care in Phetchabun Province. Journal of Rattana Panna. 2020;5(2):184-194. (in Thai).
Boon-on S, Kemako P, Samniang P, Choenram T. Elderly schools: Health management and welfare for the elderly in the Central Region. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology. 2020;5(1):122-40. (in Thai).