จริยธรรมการตีพิมพ์
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)
1. ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ ที่ส่งมานั้น ต้องเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2. การรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ต้องไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
3. ต้องเขียนบทความวิจัยให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน "คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์"
4. ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิง ท้ายบทความ
5. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่ออยู่ในบทความทุกคน จะต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยนั้นจริง
6. ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัย
7. ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อนด้วย (ถ้ามี)
8. ผลงานวิจัย มีการวิจัยในมนุษย์ ผู้วิจัยจะต้องแนบหนังสือรับรองจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย
ในมนุษย์ โดยระบุหมายเลขหรือรหัสการรับรองลงในเนื้อหาในส่วนของ “การพิจารณาด้านจริยธรรม” และมีอายุไม่เกิน 3 ปี
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors)
1. พิจารณาคุณภาพของบทความวิจัย/วิชาการ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนรับผิดชอบ
2. ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความ แก่บุคคลอื่น ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
3. ต้องตัดสินใจคัดเลือกบทความวิจัย/วิชาการมาตีพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากความสำตัญ ความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ
4. ต้องไม่รับตีพิมพ์บทความวิจัย/วิชาการ ที่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาแล้ว
5. ต้องไม่ ปฏิเสธ การตีพิมพ์บทความวิจัย/วิชาการ เพราะความสงสัยหรือไม่แน่ใจ ควรจะต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ข้อสงสัยนั้นๆ ก่อน
6. ต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมิน และทีมผู้บริหาร
7. ต้องมีการตรวจสอบบทความวิจัย/วิชาการ ในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ ได้แก่ การตรวจสอบดัชนีความคล้าย (Similarity Index) ผ่านระบบ ThaiJo และโปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกอักขราวิสุทธิ์ กำหนดดัชนีความคล้าย (Similarity Index) มีค่ารวมเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 20 เพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่นหรือมีความซ้ำซ้อน
8. หากตรวจพบว่ามีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น ในกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันที เพื่อขอคำชี้แจง ประกอบการ "ตอบรับ" หรือ "ปฏิเสธ" การตีพิมพ์บทความนั้นๆ
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)
1. ผู้ประเมินบทความจะต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความวิจัย/วิชาการ ที่ส่งมา เพื่อพิจารณาแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ (Confidentiality)
2. หลังจากได้รับบทความวิจัย/วิชาการ จากบรรณาธิการวารสาร และผู้ประเมินบทความ ตระหนักว่า ตัวเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ เช่นเป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเหตุผล อื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างเป็นอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบ และปฏิเสธที่จะทำการประเมินบทความนั้นๆ
3. ควรประเมินบทความในสาขาที่ตนเองมีความชำนาญ และเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาจากความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้นๆ คุณภาพของการวิเคราะห์ และความเข้มข้นของผลงาน ไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความวิจัย
4. ควรระบุผลงานวิจัยที่สำคัญๆ และสอดคล้องกับบทความที่กำลังประเมิน แต่ผู้นิพนธ์ไม่ได้อ้างถึงเข้าไปในการประเมินบทความด้วย รวมถึง หากมีเนื้อหาส่วนใดของบทความ ที่มีความเหมือน หรือ ซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบด้วย