การบูรณาการการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษาวัสดุปลูกกัญชาสายพันธุ์หางกระรอกเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์

ผู้แต่ง

  • วุฒิพงษ์ ฮามวงศ์ สาขาแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47160
  • ณตวรรษ อินทะวงษ์ สาขานวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47160
  • เวียงงาม อินทะวงษ์ สาขานวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47160

คำสำคัญ:

การบูรณาการการเรียนการสอน, วิธีการจัดการการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน , กรณีศึกษา , วัสดุสำหรับปลูก-เพาะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการบูรณาการการเรียนการสอนออนไลน์กรณีศึกษา ที่สามารถตอบสนองต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยลดบทบาทของครูผู้สอน แต่เพิ่มบทบาทของผู้เรียนให้มากยิ่งขึ้น เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทำและได้คิดในสิ่งที่ทำลงไปเพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์ตรงให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน มีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มผู้เรียนและครูผู้สอน ด้วยการลงมือทำกิจกรรมร่วมกันทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน ในรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Case-based learning) บนแพลตฟอร์มออนไลน์ ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Line, Google Classroom, Meet รายงานความก้าวหน้าและเก็บข้อมูล เพื่อทำการประเมินผลในลักษณะการประเมินผลรอบทิศ แบบ 360 องศา (360-degree Feedback) ตามสภาพจริง (Formative Assessment)  ในด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ครูผู้สอนตั้งคำถามที่สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและค้นพบศักยภาพของตนเอง การสร้างบรรยากาศในห้องเรียนออนไลน์ ด้วยกิจกรรมที่หลากหลายกระบวนการคิดอยู่ตลอดเวลา ผู้เรียนเรียนรู้ได้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ หลังการเข้าร่วมกิจกรรม พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (x= 4.69) ผู้เรียนมีความสุขในการลงมือปฏิบัติจริงร่วมกับครอบครัว (x= 4.89) ทัศนคติของผู้เรียนที่สามารถกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการเรียนรู้มากที่สุด (x= 4.82) และทัศนคติของผู้เรียนที่มีความสุขและอยากเข้าสู่กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกฯ มากที่สุด (x=4.89) เมื่อสิ้นสุดกระบวนการบูรณาการการเรียนการสอนออนไลน์ กลุ่มผู้เรียนได้นวัตกรรมใหม่ทางการเรียนรู้ ซึ่งเป็นวัสดุปลูกกัญชา ที่มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการปลูกกัญชาสายพันธุ์หางกระรอกภูพานเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ จากการลงมือปฏิบัติจริงของผู้เรียนภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ “ภูพานซอยล์” สร้างรายได้ให้กับกลุ่มผู้เรียน 288,000 บาทต่อเดือน

References

คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. (2563). รายงานผลการดำเนินงานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา พืชศาสตร์ ระดับปริญญาตรี (พิมพ์ครั้งที่ 1). สกลนคร: สำนักพิมพ์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

ครุปกรณ์ ละเอียดอ่อน. (2562). การผลิตและพัฒนาสูตรดินปลูกจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อจำหน่าย กรณีศึกษากลุ่มสตรีแม่บ้านตำบลหนองลาด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการ เกษตร, ปีที่ 36 ฉบับที่ 3, 66-77.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). Active Learning. ข่าวสารวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ประจำเดือน พฤศจิกายน 2553.

ธันยวิช วิเชียรพันธ์. (2563). การจัดการศึกษาแบบ Active Learning บน Online Platform ในยุค COVID 19. สืบค้น มิถุนายน 20, 2564, จาก http:s//www.starfishlabz.com/blog/158-การจัดการศึกษาแบบ Active Learning online-platform-ในยุค-covid-19.

เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2557). Active Learning กับการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. สืบค้น กรกฎาคม 20, 2564 ,จาก http://apr.nsru.ac.th/Act_learn/myfile/ 27022015155130_article.docx.

วุฒิพงษ ฮามวงศ์. (2561). องค์ความรู้หมอพื้นบ้านสกลนคร (พิมพ์ครั้งที่ 1). สกลนคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). เอกสารประกอบการฝึกอบรม “คุณภาพผู้เรียน เกิดจากกระบวนการเรียนรู้”. สืบค้น เมษายน 22, 2564, จาก ttps://km.buu.ac.th/article/frontend/article_detail/141.

สมชาย แก้ววังชัย. (2564). เคล็ดลับการปลูกกัญชา กัญชง ที่ใครก็ทำได้. สืบค้น กรกฎาคม 20, 2564, จาก https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_177311.

หมอบุญ บุตรผาพรม. (2564, เมษายน 30). หมอพื้นบ้านตำบลคำตากล้า เลขที่ 146 ม.9 บ้านวังเวิน ตำบลคำตากล้า อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร. สัมภาษณ์.

อริยา คูหา, สรินฎา ปุติ, ดร.ฮานานมูฮิบบะตุดดีน นอจิ. (2562). โลกที่เปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ที่ผ่านสู่ Active Learning.

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, ปีที่ 30, ฉบับที่ 2, 1-13 เอกรัตน์ หอมประทุม. (2564). การประยุกต์ใช้ Active Learning ในการเรียนการสอน. สืบค้น กรกฎาคม 20, 2564, จาก http://www.edbathai.com/Main2/แผนกวิชาการระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน/86-บทความการศึกษา.

Bon well, C.C.; & Eison J. A. (1991). Active learning: Creating excitement in the classroom. ERIC Digest. [Online] Available

Bracken, D. W., Timmreck, C. W., Fleenor, J. W. and Summers, L., (2001). 360 Feedback from another angle. Human Resource Management, Vol 40, No.1, 3-20. John Wiley & Sons Inc.

Bray, R. H. and L.T, Kurtz. 1945 Determination of total organic and available forms of phosphorus in soil. Soil Sci. 9: 243

Chapman, H.D. 1965. Cation exchange capacity. In: C.A. Black (Ed.) Methods of soil analysis-chemical and microbiological properties. Agronomy. 9: 891-901 p.

Clark, R. & Mayer, R. E. (2016). E-learning and the science of instruction (4th ed). San Francisco: Pfeiffer.

Dweck, C. S. (2006). Mindset: The new psychology of success. New York: Random House.

Ethan B. Russo. (2007). History of Cannabis and Its Preparations in Saga, Science, and Sobriquet. Chemistry & Biodiversity. V4, Issue 8. P.1614-1648.

Freeman, S., Eddy, S. L., McDonough, M., Smith, M. K., Okoroafor, N., Jordt, H., & Wenderoth, M. P. (2014). Active learning increases student performance in science, engineering, and mathematics. Proceedings of the National Academy of Sciences USA, 111(23), 8410-8415.

Garrison, D.R., & Kanuka, H. (2004). Blended learning: Uncovering its transformative potential in higher education. The internet and higher education, 7(2), 95-105.

Hake, R. R. (1998). Interactive-engagement vs traditional methods: A six-thousand-student survey of mechanics test data for introductory physics courses” American Journal of Physics. 61 (1): 64-74.

Hazekamp A, Grotenhermen F. Review on Clinical Studies with Cannabis and Cannabinoids 2005-2009. Cannabinoids. 2010 ;5:1–21. [Google Scholar]

Jones, J. B. Jr., 2001. Laboratory Guide for Conducting Soil tests and Plant Analysis. Boca Raton:CRC Press 19.

Mayer, R. E. (2009). Multimedia Learning (2nd ed.). United Kingdom: Canbridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2024

How to Cite

ฮามวงศ์ ว., อินทะวงษ์ ณ., & อินทะวงษ์ เ. (2024). การบูรณาการการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษาวัสดุปลูกกัญชาสายพันธุ์หางกระรอกเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์. วารสารวิชาการกัญชา กัญชง และสมุนไพร, 3, 34–61. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JCHH/article/view/274227

ฉบับ

บท

บทความวิจัย