ปัจจัยทำนายความเข้มแข็งทางใจของผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ความเข้มแข็งทางใจ, ผู้สูงอายุ, การสนับสนุนทางสังคม, การเผชิญปัญหาและความเครียด, การเห็นคุณค่าในตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เชิงทำนายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความเข้มแข็งทางใจของผู้สูงอายุ และ 2) ปัจจัยทำนายความเข้มแข็งทางใจของผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากร คือ ผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราช คำนวณกลุ่มตัวอย่างได้ 152 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม โดยขออนุญาตใช้แบบสอบถามของศิริพร ลิบน้อย ตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช ดังนี้ การรับรู้ภาวะสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การเผชิญปัญหาและความเครียด การเห็นคุณค่าในตนเอง และความเข้มแข็งทางใจ เท่ากับ 0.907, 0.900, 0.911, 0.896, 0.773 และ 0.830 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมการรับรู้ภาวะสุขภาพอยู่ในระดับสูง (M= 3.07, SD.= 0.74) การสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง (M= 2.86, SD.= 0.43) การเผชิญปัญหาและความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง (M= 2.78, SD= 0.47) การเห็นคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับสูง (M= 3.20, SD= 0.36) ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันจัดอยู่ในระดับไม่มีภาวะพึ่งพิง (ติดสังคม) ร้อยละ 99.34 ความเข้มแข็งทางใจของผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (M= 3.18, SD= 0.36) ตัวแปรที่สามารถทำนายความเข้มแข็งทางใจของผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง การเผชิญปัญหาและความเครียด และการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งสามารถอธิบายการผันแปรของความเข้มแข็งทางใจของผู้สูงอายุได้ ร้อยละ 37.2 (adjR2 = 0.372) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ฉะนั้น ควรจัดกิจกรรมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุสามารถเผชิญกับปัญหาและความเครียด มีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณค่าในตนเอง โดยร่วมกับหน่วยงานในชุมชน และบุคคลในครอบครัวของผู้สูงอายุ
References
กรมการแพทย์, กระทรวงสาธารณสุข. (2564). คู่มือการคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2564. กระทรวงสาธารณสุข.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). รายงานประจำปีผู้สูงอายุ ปี 2562. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กัลยารัตน์ อินทบุญศรี. (2568). ปัจจัยทำนายความเข้มแข็งทางใจของผู้สูงอายุ อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี.
วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา, 5(1), e271094.
ฉัตรฤดี ภาระญาติ,วารี กังใจ, และสิริลักษณ์ โสมานุสรณ์. (2559). ปัจจัยทำนายพลังสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(2), 97–106.
ภัทรพร ธนาคุณ, และบัวทอง สว่างโสภากุล. (2564). ความหวัง ความยืดหยุ่น ทักษะทางสังคม และความสำเร็จของการเป็นผู้สูงอายุของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุแห่งหนึ่ง จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยมข. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 9(1), 70–80.
ยุพา ทองสุข, ดวงใจ วัฒนสินธุ์, และภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผาสุกทางใจของ
ผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 33(1), 95–110.
ศิริพร ลิบน้อย. (2568). ปัจจัยทำนายความเข้มแข็งทางใจของผู้สูงอายุในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
บ้านเปร็ต อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช (รายงานการวิจัย). นครศรีธรรมราช.
สมฤทัย เจิมไธสง, จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส, & ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์. (2562). ปัจจัยทำนายความยืดหยุ่นในชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา. วชิรสารการพยาบาล, 21(2), 51–66.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2567). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2567 ระดับจังหวัด.
กรุงเทพมหานคร.
สำนักวิชาการสุขภาพจิต, กรมสุขภาพจิต. (2564). หลักสูตรเสริมสร้างพลังใจ อึด ฮึด สู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). คลังความรู้สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. เข้าถึง 23 กุมภาพันธ์ 2025, จากhttps://dmhelibrary.org/items/show/453
อรุณลักษณ์ คงไพศาลโสภณ, & รังสิมันต์ สุนทรไชยา. (2559). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งทางใจของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 30(2), 127–142.
Best, J. W. (1971). Research in education (3rd ed.). Prentice-Hall.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Lawrence Erlbaum Associates.
Cordeiro, R. C., Santos, R. C. dos, Araújo, G. K. N. de, Nascimento, N. de M., Souto, R. Q., Ceballos, A. G. da C., Alves, F. A. P., & Santos, J. da S. R. (2020). Mental health profile of the elderly community: A cross-sectional study. Revista Brasileira de Enfermagem, 73(1), e20180191. https://doi.org/10.1590/0034-7167-2018-0191
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power
analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research
Methods, 39(2), 175–191.
Fontes, A. P., & Neri, A. L. (2015). Resilience in aging: Literature review. Ciência & Saúde Coletiva, 20(5). https://doi.org/10.1590/1413-81232015205.00502014
Grotberg, E. H. (2003). What is resilience? How do you promote it? How do you use it? In Resilience for today: Gaining strength from adversity (Vol. 2, pp. 1–30).
Kwak, Y., & Kim, Y. (2017). Health-related quality of life and mental health of elderly by
occupational status. Iranian Journal of Public Health, 46(8), 1028–1037.
Lima, G. S., Figueira, A. L. G., Carvalho, E. C. de, Kusumota, L., & Caldeira, S. (2023). Resilience in
older people: A concept analysis. Healthcare, 11(18), 2491.
https://doi.org/10.3390/healthcare11182491
Majnarić, L. T., Bosnić, Z., Guljaš, S., Vučić, D., Kurevija, T., Volarić, M., Martinović, I., & Wittlinger, T. (2021). Low psychological resilience in older individuals: An association with increased inflammation, oxidative stress and the presence of chronic medical conditions. International Journal of Molecular Sciences, 22(16), 8970. https://doi.org/10.3390/ijms22168970
Ohrnberger, J., Fichera, E., & Sutton, M. (2017). The dynamics of physical and mental health in the older population. The Journal of the Economics of Ageing, 9, 52–62. https://doi.org/10.1016/j.jeoa.2016.07.002
Peeters, G., Kok, A., de Bruin, S. R., van Campen, C., Graff, M., Nieuwboer, M., Huisman, M., van Munster, B., van der Zee, E. A., Kas, M. J., Perry, M., Gerritsen, D. L., Vreede-Chabot, E., The, A.-M., van Hout, H., Bakker, F. C., Achterberg, W. P., van der Steen, J. T., Smits, C., Reynolds, C. F., III, Jeste, D. V., Sachdev, P. S., & Blazer, D. G. (2022). Mental health care for older adults: Recent advances and new directions in clinical practice and research. World Psychiatry, 21(3), 336–363. https://doi.org/10.1002/wps.20994
Rodrigues, F. R., & Tavares, D. M. dos S. (2021). Resilience in elderly people: Factors associated with sociodemographic and health conditions. Revista Brasileira de Enfermagem, 74(Suppl 2). https://doi.org/10.1590/0034-7167-2020-0171
Silva Júnior, E. G. da, Eulálio, M. do C., Souto, R. Q., Santos, K. de L., Melo, R. L. P. de, & Lacerda, A. R. (2019). The capacity for resilience and social support in the urban elderly. Ciência & Saúde Coletiva, 24(1), 7–16. https://doi.org/10.1590/1413-81232018241.32722016
Tomás, J. M., Sancho, P., Melendez, J. C., & Mayordomo, T. (2012). Resilience and coping as
predictors of general well-being in the elderly: A structural equation modeling approach.
Aging & Mental Health, 16(3), 317–326. https://doi.org/10.1080/13607863.2011.615737
World Health Organization. (2024, October 1). Ageing and health. https://www.who.int/news-
room/fact-sheets/detail/ageing-and-health

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน