ผลการให้โปรแกรมการจัดการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองต่อความรู้และการดูแลสุขภาพ ช่องปากของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อรัง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • จตุพร ดีถี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อรัง

คำสำคัญ:

โปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปาก, การดูแลสุขภาพช่องปาก, อาสาสมัครสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้และการดูแลสุขภาพช่องปากก่อนและหลังเข้าโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อรัง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่าง 30 คน เลือกแบบเจาะจง เข้าร่วมการวิจัยในลักษณะกลุ่มเดียวศึกษาก่อนและหลังเข้ารับโปรแกรม เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม มี 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนข้อมูลทั่วไป ส่วนความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก มีค่า KR 20 เท่ากับ 0.707 ส่วนการดูแลสุขภาพช่องปาก มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.706 และแบบสังเกตทักษะการแปรงฟันซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานได้แก่ Paired t-test และ Wilcoxon Signed Ranks Test

ผลการวิจัย พบว่า หลังเข้ารับโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปาก กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.005) มีคะแนนเฉลี่ยการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.005) มีคะแนนเฉลี่ยทักษะการแปรงฟันอย่างถูกวิธีหลังเข้ารับโปรแกรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) จากผลการวิจัยแสดงว่าอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้และการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงควรมีการส่งเสริมความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อสามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้ถูกต้องต่อไป

References

เฉลิม หงส์สุด. (2563). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันโรคฟันผุของชั้น

ประถมศึกษาตอนปลาย ตำบลหนองผือ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/221804/165159.

โฉมไฉไล เอกจิตน์. (2553). โรคฟันผุ. สืบค้นจาก https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-

pl/articledetail.asp?id=99.

ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม. (2563). สืบค้นจาก http://www.etheses.rbru.ac.th/pdf-uploads/thesis-285-

file06-2020-01-31-14-39-56.pdf.

นฤมล ดีกัลป์ลา และคณะ. (2558). ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่มีต่อพฤติกรรม

ทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 .สืบค้นจาก

www.journal.msu.ac.th/upload/174732-Article%20Text-493722-1-10-20190226.pdf.

ภูมิฤทัย จุรัณณะ. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีความเข้มแข็งใน

การมองโลกต่อความเข้มแข็งในการมองโลกและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก. สืบค้นจาก

https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/229903/156486.

ยศวิมล คูผาสุข. (2560). โรคเหงือกอักเสบ. สืบค้นจาก https://dt.mahidol.ac.th/th/โรคเหงือกอักเสบ/.

โรคในช่องปาก เกี่ยวกับสุขภาพภายในปาก อาการและการรักษา. (2555). สืบค้นจาก https://beezab.com.

วิชญาภา มโนรักษ์. (2556). การดูแลสุขภาพช่องปาก. สืบค้นจาก

http://www.dentistry.tu.ac.th/Dentistry/Page%20Knowledge/Text/21-3-56_1.pdf.

วุฒิกุล ธนากาญจนภักดี. (2563). ผลของโปรแกรมคุณภาพชีวิตในช่องปาก ด้วยการเรียนรู้การสนทนา

กลุ่มเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล ตำบลท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์เบาหวาน. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/240431/165200.

ศุภศิลป์ ดีรักษา. (2557). ผลของโปรแกรมดูแลสุขภาพช่องปากด้วยการเรียนรู้เชิงกระบวนการ

สนทนากลุ่มต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองทางทันตสุขศึกษาของผู้ป่วยเบาหวาน. สืบค้นจาก

https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/view/27227/23157.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2559). โรคฟันผุเป็นอย่างไร. สืบค้นจาก

http://dental.anamai.moph.go.th/elderly/happysmile/book1/fam103.html.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย.(2559). โรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์อักเสบ. สืบค้นจาก

http://dental.anamai.moph.go.th/elderly/happysmile/book1/fam104.html.

สุปรีชา โกษารักษ์. (2560). ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกัน โรคปริทันต์ของ

อาสาสมัครสาธารณสุขในอำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย. สืบค้นจาก http://opac-

healthsci.psu.ac.th/BibDetail.aspx?bibno=499340.

อรุณรัตน์ ชื่นปลัด และคณะ. (2560). ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดย การประยุกต์ใช้ทฤษฎี

แรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับการ สนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรค ฟันผุของอาสาสมัครสาธารณสุข อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัด สุราษฎร์ธานีเลย. สืบค้นจาก

www.thaidj.rog/uploads/6921-Article%20Text-9589-1-10-20190601%20(1).pdf.

Bartz, Albert E. (1999). Basic Statistical Concept. New Jersey. Prentice-Hall, Inc.

Benjamin, S Bloom. (1986). Learning for mastery and Evaluation comment. Center for

the study of instruction program University of California at Los Angeles, 8(2), 47-62.

Best, J.W. (1970). Research in education. Englewood Cilifts, New Jersy. Printice-Hall.

Loether, Herman J. and Mctavish, Donald G. (1993). Descriptive and inferential Statistics :

An Introduction. Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-30