ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของประชาชน กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พุฒิพงศ์ มากมาย คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น อำเภอเมือง จังหวัดตาก

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, แรงสนับสนุนทางสังคม, ไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ประชากรคือประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก คำนวณกลุ่มตัวอย่างจากสูตรแดเนียลได้จำนวน 217 ราย การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทัศนคติในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แรงสนับสนุนทางสังคม และการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญและนำไปทดลองใช้ วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 อยู่ระดับปานกลาง (68.66%) ทัศนคติในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ระดับระดับสูง (56.22%) แรงสนับสนุนทางสังคมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (100%) และการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ระดับสูง (99.08%) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความรู้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (r=0.155, P-value=0.022) ทัศนคติการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (r=0.185, P-value=0.012) แรงสนับสนุนทางสังคม (r=0.154, P-value=0.024) ตามลำดับ  

References

กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด 19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_protection/int_protection_030164.pdf

เชาวลิต เลื่อนลอย. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชน อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 2(1), 18-33.

ปรีชา โนภาศ และ ภาวิณี แพงสุข. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรค แรงสนับสนุนทางสังคมและการปฏิบัติการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 30(2), 1-11.

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินระดับอำเภอและจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก. (2565). ข้อมูลสถิติโรคโควิด 19 จังหวัดตาก. ตาก: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก กระทรวงวัฒนธรรม. (2567). วิถีวัฒนธรรมชนเผ่าปกาเกอะญอ จังหวัดตาก. ตาก: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก. (2565). รายงานประจำปี 2565. ตาก: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก.

อัจฉรา สุหิรัญ และ อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. (2567). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการป้องกันและควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก, 11(1). 30-41.

ฮูดา แวหะยี. (2563). การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโณน่า 2019 (โควิด-19) ของวัยรุ่นในเขตตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(4), 158-168.

Ajzen, I., Fishbein, M. (1980). Understanding attitudes and predicting social behavior. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Best, J.W. (1977). Research is Evaluation. (3rd ed). Englewood cliffs: N.J. Prentice Hall.

Bloom, B.S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill.

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of test. Psychometrika; 16: 297-334.

Daniel W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9thed). New York: John Wiley & Sons.

Green, L. W. and Kreuter, M.W. (1991). Health promotion planning: and environmental approach. Toronto: Mayfield Publishing.

Rogers, E. (1978). Mass Media and Interpersonal Communication. Chicago: Rand Mcnally College Publishing Company.

Thurstone, L.L. (1970). Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: John Wiley and Sons, Inc.

World Health Organization. (2022). Naming the coronavirus disease (COVID-2019) and the virus that causes it. Revised on 22 January 2022. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/technical-guidance/naming-the-coronavirus-disease-(covid-2019)-and-the-virus-that-causes-it. 2019.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-30