ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • มาริสา แวกาจิ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • อารีซา ยูโซ๊ะ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • กวินธิดา จีนเมือง คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • สุตตมา สุวรรณมณี คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • ศิระปรุฬห์ ทองเทพ โรงพยาบาลทุ่งสง ชัยชุมพล

คำสำคัญ:

ปัจจัย, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยกลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 388 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสัมพันธภาพในครอบครัว แบบสอบถามความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยองค์กรอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบไคสแควร์และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน

          ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยคุณลักษณะทางประชากรไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ปัจจัยสัมพันธภาพในครอบครัวและรายด้านทั้ง 4 ด้านมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.01) และปัจจัยความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตและรายด้าน ได้แก่ ด้านจิตใจ และด้านสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.01) และด้านสวัสดิการสังคมมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p-value<0.05) จึงควรนำผลการศึกษาที่ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เทศบาลเมืองทุ่งสง โรงพยาบาลทุ่งสง เป็นต้น วางแผนจัดกิจกรรมการใช้เวลาในการทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัวทั้งในบ้านและนอกบ้าน และให้สมาชิกในครอบครัวมีการพูดคุย ปรึกษาหารือ และตัดสินใจในเรื่องสำคัญต่าง ๆ

References

กิตติยาภรณ์ โชคสวัสดิ์ภิญโถ, วรณิช พัวไพโรจน์, สุจินตนา พันธ์กล้า, และรุ่งนภา ประยูรศิริศักดิ์. (2563). รูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 28(2), 220–231.

กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย. (2567). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2564-2567. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2567, จากhttps://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/ statMONTH/statmonth/#/displayData

เกษมณี นบน้อม, สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์, ภัทรพล โพนไพรสันต์, และสุไวย์รินทร์ ศรีชัย. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในเขตตำบลสะเดาใหญ่ อำเภอขุนขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการสาธารณสุขชุมชน, 8(4), 65–84.

จิราพร ชมพิกุล, ปราณี สุทธิสุคนธ์, เกรียงศักดิ์ ซื่อเลื่อม, และดุษณี ดำมี. (2552). สัมพันธภาพในครอบครัวไทย. นครปฐม: แท่นทองชินวัฒน์การพิมพ์.

ไทยพับลิก้า. (2567). เมื่อไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ Aged Society ผู้สูงอายุไทยได้รับสวัสดิการอะไรบ้าง. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2568, จาก https://thaipublica.org/2024/02/thailand-become s-aged-society/?utm_source=chatgpt.com

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีรียาสาส์น.

เพชรธยา แป้นวงษา, ไพฑูรย์ สอนทน, และกมล อยู่สุข. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 15(2), 41–56.

พัชราภรณ์ พัฒนะ. (2562). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในศูนย์การเรียนรู้การดูแลผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 4. พุทธชินราชเวชสาร, 36(1), 21-33.

เพ็ญพิชญ์ จันทรานภาภรณ์, และธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน. (2563). ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความพึงพอใจในชีวิต และความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 64 คลองสามวา. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 6(2), 177-186.

ลลิตา หาญโสดา, อัศว์ศิริ ลาปีอี, และสุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม. (2565). การศึกษาความต้องการและแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2567, จาก http://www.ir.sru.ac.th:80/handle/12345678 9/947

วรเวศม์ สุวรรณระดา. (2567). การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดียามชราภาพ โดยเน้นผู้สูงวัยเป็นศูนย์กลาง. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.pier.or.th/abridged/2023/21/

วิลาวัณย์ ศรีโพธิ์, และกัญนิกา อยู่สำราญ. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตัวการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์, 3(1), 108-122.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2546). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2567, จาก https://krisdika.ocs.go.th/librarian/get?sysid=635171&ext=htm

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2564). การเผชิญหน้า ‘สังคมผู้สูงอายุ’ โจทย์ท้าทายภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2567, จาก https://resourcecenter.thaihealth. or.th/article/การเผชิญหน้า-‘สังคมผู้สูงอายุ’-โจทย์ท้าทายภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

สุภัทชัย ดำสีใหม่. (2565). ศึกษาความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุชุมชนตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2567, จาก https://e-thesis.mcu.ac.th/thesis/3712

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, และคณะ. (2540). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI). สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2567, จาก https://dmh.go.th/test/ download/files/whoqol.pdf

อภิรัฐ เกิดสวัสดิ์, และวันทนา เนาว์วัน. (2567). การศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตตำบลเสาเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 26(03), 75-84

MarketWatch. (2023). China’s economy is slowing, but its old-age market is booming. Retrieved April 9, 2025, from https://www.marketwatch.com/story/chinas-economy-is-slowing-but-its-old-age-market-is-booming-3051f28e

Times of India. (2024). 10 countries with highest percentage of population aged 65 and above. Retrieved April 9, 2025, from https://timesofindia.indiatimes.com/etimes/trending/10-countries-with-highest-percentage-of-population-aged-65-and-above/articleshow/11634 3887.cms

World Health Organization. (2022). Ageing and health. Revised July 12, 2024. From https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ageing-and-health

World Health Organization. (2012). WHOQOL - Measuring Quality of Life. Revised June 20, 2024. From https://www.who.int/tools/whoqol

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-28