ประสิทธิภาพเชิงระบบของศูนย์ป้องกันโรคไม่ติดต่อในชุมชน: แนวทางลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • วีระศักดิ์ เดชอรัญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

ศูนย์ป้องกันโรคไม่ติดต่อในชุมชน, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, ระบบบริการสุขภาพ, ประสิทธิภาพเชิงระบบ, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและภาระของระบบบริการสุขภาพ การจัดตั้งศูนย์ป้องกันโรคไม่ติดต่อในชุมชนจึงเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานเชิงป้องกันในระดับพื้นที่ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงระบบของศูนย์ป้องกันโรคไม่ติดต่อในชุมชน และเสนอแนวทางพัฒนาที่สามารถรองรับภารกิจลดปัจจัยเสี่ยงของโรค NCDs ได้อย่างยั่งยืน โดยใช้วิธีทบทวนวรรณกรรมและการวิเคราะห์แก่นสาระจากเอกสารจำนวน 32 เรื่อง โดยอิงกรอบแนวคิด Logic Model ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ศูนย์ป้องกันโรคไม่ติดต่อในชุมชน มีบทบาทสำคัญในการคัดกรอง ให้คำปรึกษา ติดตามสุขภาพ และเชื่อมโยงบริการในระบบปฐมภูมิถึงตติยภูมิอย่างไร้รอยต่อ อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานยังประสบปัญหา เช่น ขาดทรัพยากรบุคลากร ระบบข้อมูลที่ไม่เชื่อมโยง และผลกระทบจากการถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. แนวทางพัฒนาควรครอบคลุมการสนับสนุนเชิงนโยบาย การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเสริมประสิทธิภาพและความยั่งยืนของศูนย์ป้องกันโรคไม่ติดต่อในชุมชนในระยะยาว

ข้อเสนอแนะคือ ควรมีการวิเคราะห์ปัญหาเชิงระบบร่วมกันระหว่างหน่วยบริการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกขั้นตอน เพื่อให้ศูนย์ฯ เป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนในการควบคุมโรค NCDs อย่างแท้จริง

 

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานสถานการณ์โรคไม่ติดต่อ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ปี 2562 (1 พิมพ์ครั้งที่, ปี 2563). สำนักพิมพ์อักษรกราฟิกแอนด์ดีไซน์.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2567). แผนปฏิบัติการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของประเทศไทย (2566—2570) (ปี 2567). สำนักพิมพ์อักษรกราฟิกแอนด์ดีไซน์.

กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, เพชรรัตน์ พิบาลวงศ์, ธีระวัฒน์ วีระพันธ์, ธีระพงษ์ แก้วภมร, & รุ่งรัตน์ พละไกร. (2567). การศึกษาระบบบริการสุขภาพ ปัญหาอุปสรรค และความคิดเห็นของประชาชนต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในระยะเปลี่ยนผ่านการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 4(2), Article 2.

แรกขวัญ สระวาสี, & สงกรานต์ สมบุญ. (2567). การศึกษาปัจจัยกำหนดทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพื่อคุณภาพชีวิตของตัวชี้วัดสถานการณ์สังคมไทยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของประชาชน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 2567(33), 404–416.

จำรัส วงศ์ประเสริฐ. (2568). การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารโรงพยาบาลนครพนม, 12(1), Article 1.

วุฒิศักดิ์ รักเดช, ขวัญใจ จิตรภักดี, & กมลวรรณ คุ้มวงษ์. (2564). ปัจจัยที่มีความพันธ์กับประสิทธิผล การดำเนินงานพัฒนาคลินิก NCD Clinic Plus ในเขตสุขภาพที่ 4 ปีงบประมาณ 2561. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(5), 880–893.

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2564). แนวคิดของเกลน แลฟเวอแรค ว่าด้วย “การเสริมพลังชุมชน”. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 29(1), 1–28.

อุไรวรรณ สาสังข์, สุนันทา ครองยุทธ, & ยมนา ชนะนิล. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 15(1), Article 1.

อุทัยทิพย์ เจี่ยวิวรรธน์กุล. (2565, ธันวาคม 2). แนวคิดแบบจำลองเชิงตรรกะ (Logic Model) กับการประเมินโครงการ [เอกสารประกอบการนำเสนอ]. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประยุกต์ใช้ 3 D Logic Model ในการประเมินผลโครงการ. https://e-learning.oae.go.th/uploads/course_schedule/attach

Ahmad, D. M., Tarik, M., Fatma, N., Mobeen, A., & Quamri, D. M. A. (2019). Non-communicable diseases ( NCDs ) and their burden-A review. https://consensus.app/papers/noncommunicable-diseases-ncds-and-their-burdena-review-ahmad-tarik/d907663d816c5dc3b38874ba44b14673/

World Health Organization. (2023). Non communicable diseases. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/noncommunicable-diseases

World Health Organization. (2025). Implementation roadmap 2023-2030 for the Global action plan. https://www.who.int/teams/noncommunicable-diseases/governance/roadmap

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-29