ประสิทธิผลของเก้าอี้บรรเทาอาการปวดการยศาสตร์ของเกษตรกรชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
เก้าอี้บรรเทาอาการปวดการยศาสตร์, อาชีวอนามัย, เกษตรกรชาติพันธุ์ปกาเกอะญอบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของเก้าอี้บรรเทาอาการปวดการยศาสตร์ในกลุ่มเกษตรกรชาติพันธุ์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความปวด (Pain score) และแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้เก้าอี้ บันทึกข้อมูลเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติเชิงอนุมาน (Paired t-test)
ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 56.7) มีอายุระหว่าง 30–44 ปี (ร้อยละ 46.7) มีดัชนีมวลกายในเกณฑ์ปกติ (ร้อยละ 36.7) มีระดับการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 43.3) สมรสแล้ว (ร้อยละ 80) และมีรายได้ครัวเรือนต่อเดือนอยู่ระหว่าง 3,001–6,000 บาท (ร้อยละ 80) หลังการใช้เก้าอี้บรรเทาอาการปวดการยศาสตร์ พบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยความปวดกล้ามเนื้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยค่าคะแนนเฉลี่ยการปวดกล้ามเนื้อในแต่ละครั้งลดลงจาก 3.97 เป็น 1.87, 1.97 และ 1.17 ตามลำดับ
สรุปได้ว่า เก้าอี้บรรเทาอาการปวดการยศาสตร์ที่พัฒนาโดยเกษตรกรชาติพันธุ์ปกาเกอะญอในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีประสิทธิผลในการลดอาการปวดกล้ามเนื้อ และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการใช้งานในระดับมาก อีกทั้งยังช่วยให้เกษตรกรกลุ่มชาติพันธุ์สามารถเข้าถึงนวัตกรรมที่ช่วยลดอาการปวดจากการทำการเกษตรได้ จึงควรส่งเสริมการนำไปขยายผลในกลุ่มชาติพันธุ์และอาชีพเกษตรกรรมอื่น ๆ พร้อมทั้งพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรต่อไป
References
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2568). การยศาสตร์ คืออะไร?.ศูนย์ฝึกอบรมกรุงเทพมหานคร:
กรุงเทพมหานคร.
กุลธิดา บ้วนนอก และวาทินี คำเต็ม. (2565). ประสิทธิผลของการใช้นวัตกรรมเก้าอี้นวดจากเมล็ด
มะค่าโมงในผู้สูงอายุ จังหวัดน่าน. วิจัยปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต. พิษณุโลก: วิทยาลัย
การสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก.
ประกาศิต ทอนช่วย และภคิณี สุตะ. (2563). ปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่าง และกล้ามเนื้อจากการปลูกข้าวโพดของเกษตรกรกลุ่มชาติพันธุ์ จังหวัดเชียงราย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 27(1), 27-37.
พัชราภรณ์ งำเมือง และวีระพร ศุทธากรณ์. (2562).ปัจจัยเสี่ยงด้านการยศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับ
กลุ่มอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในนักกายภาพบำบัดที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล
ชุมชน. วารสารสาธารณสุขศาสตร์,49(3):325-338.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่.(2567).สถานการณ์โรคเกิดจากการประกอบ
อาชีพ.รายงานประจำปี 2566.สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัด
เชียงใหม่.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2560). คู่มือพัฒนาเครือข่ายการจัดบริการอาชีวอ
นามัยให้กับแรงงานในชุมชนด้านการยศาสตร์. กลุ่มอาชีวอนามัย สำนักโรคจากการประกอบ
อาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค,นนทบุรี.
Biswas G, Bhattacharya A, Bhattacharya R. (2017).Work-related musculoskeletal
disorders: A case study among male molasses workers in Nadia district of West
Bengal, India. Int J Med Sci Public Health; 6: 1706-12.
Paul S, Mitra K, Chakrabarty A, Das DK. (2019). Prevalence of musculoskeletal
disorders and its Correlates among agricultural workers in Bhatar Block of
Purba Bardhaman District, West Bengal. Journal of Dental and Medical
Sciences; 18: 22-8.
U.S department of labor. (2024). Work-related Musculoskeletal Disorders. [online].
Retrieved April 16, 2024 from https://www.osha.gov/etools/hospitals/hospital-
wide-hazards/work-related-musculoskeletal-disorders.
Yassi, A. (2000). Work-related musculoskeletal disorders. Current Opinion in
Rheumatology, 12(2), 124-130. https://doi.org/10.1097/00002281-200003000-

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน