ผลของการปรับกระบวนการทางการบริหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงาน ด้านการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร หลังการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
กระบวนการการทางการบริหาร, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, บริการสุขภาพปฐมภูมิ, ถ่ายโอนภารกิจบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง การวิจัยแบบกลุ่มเดียว เพื่อศึกษาผลของการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร หลังการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร โดยประชากร คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุกอำเภอ จำนวน 230 คน กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบสมัครใจ จำนวน 135 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือในการทดลอง คือ รูปแบบทางกระบวนการทางการบริหารที่ปรับใหม่ และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม โดยผ่านการตรวจสอบความถูกต้องเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.88 และวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นทั้งชุดเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด และการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยใช้สถิติ Paired Samples Test
ผลการศึกษา พบว่า ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (Mean diff = 0.32 , 95% CI = 0.25 ถึง 0.40 , t = 10.76, p-value <0.001) จากผลการวิจัยเสนอแนะว่า 1) ควรกำหนดตัวชี้วัดร่วมกันที่ชัดเจน
ลดความซับซ้อนของตัวชี้วัด และเพิ่มความชัดเจนในการดำเนินการ 2) ควรเสริมสร้างกลไกการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง 3) ควรผลักดันการบูรณาการทรัพยากรระหว่างกันในพื้นที่ และส่งเสริมการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกัน และ 4) ควรพัฒนาขีดความสามารถและเสริมสร้างความพร้อมของบุคลากรให้สอดคล้องกับการทำงานรูปแบบใหม่
References
กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. (2566). สรุปผลการ
ดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร.
ถาวร ชมมี. (2564). รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กลุ่มงานบริหารทั่วไป
ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ. วารสารสาธารณสุขมูลฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
(2), 62-81.
ธนภรณ์ พรรณราย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหามหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์,
คณะศึกษาศาสตร์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธนิต มณีอินทร์. (2567). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรหน่วยงานในสังกัดสำนักงาน
สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา, 12(2), 43-57.
ธนัญกรณ์ ทองเลิศ. (2562).ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงาน
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(2), 92-102.
บัวบุญ อุดมทรัพย์ และผดารณัช พลไชยมาตย์. (2566). ผลการพัฒนารูปแบบประสานงานของเจ้าหน้าที่
สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กรณีถ่ายโอนไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น.
วารสารสำนักงานควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 30(2), 131-143.
รุ่งนภา เพ่งรุ่งเรืองวงษ์ และศุภจักร โรจนวีรเดช. (2561). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขของ
บุคลากรสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
(หน้า 975-985). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
สนธยา บัวผาย. (2564). ตัวแบบการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัด
มหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 5(10), 217-230.
สมคิด บางโม. (2553). องค์การและการจัดการ. วิทยาพัฒน์.
สมใจ ลักษณะ. (2543). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
สมยศ นาวีการ. (2549). การบริหารและพฤติกรรมองค์กร. ผู้จัดการ.
สาวิตรา สุวรรณ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด
(มหาชน) ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ [การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารธุรกิจ]. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานปลัดสำนัก
นายกรัฐมนตรี. (2564). แนวทางการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ
พรรษา นวมินทราชินีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด.
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำเนียบรัฐบาล.
กรุงเทพมหานคร.
สุรวาท ทองบุ. (2555). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). อภิชาตการพิมพ์.
อรรถชัย ณ ภิบาล. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานสำนักงานที่ดิน
จังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต].
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
อรุณ จิรวัฒน์กุล และคณะ. (2550). ชีวสถิติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
อังคณา ธนานุภาพพันธุ์, พงศ์พันธ์ ศรีเมือง และโสภณ สระทองมา. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการ
ปฏิบัติงานของบุคลากรกรณีศึกษาของบริษัทธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แห่งหนึ่ง. วารสารวิจัย
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร, 7(1). 236-249.
Best, J.W. (1977). Research in education. 3rd ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Likert, R. (1967). The human organization: Is management and value. New York:
McGraw–Hill.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน