ผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อความสม่ำเสมอ ในการรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวีในผู้ป่วยที่ขาดนัดการรักษา โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม

ผู้แต่ง

  • ปัณม์ชรัก เฟื่องโพธิ์ทอง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค, ความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวี, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี, ผู้ป่วยขาดนัดการรักษา

บทคัดย่อ

การวิจัยการทดลองกลุ่มเดียวครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคเพื่อส่งเสริมความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวี รวมถึงเพื่อเพิ่มแรงจูงใจการรับประทานยาในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ขาดนัดการรักษา กลุ่มตัวอย่างคือผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ขาดนัดการรักษาเกินกว่า 1 สัปดาห์ในรอบ 1 ปี จำนวน 42 คน ได้มาโดยวิธีคัดเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เข้าร่วมทำกิจกรรมจำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 4 สัปดาห์ เก็บข้อมูลก่อน-หลังด้วยแบบสอบถามความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัส และแรงจูงใจในการรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวีเพื่อป้องกันการดื้อยาจำนวน 4 ด้าน โดยสัปดาห์ที่ 1 เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจากนั้นให้ผู้ป่วยเข้าร่วมโปรแกรม สัปดาห์ที่ 4 นัดผู้ป่วยเข้าร่วมโปรแกรมอีกครั้งและในสัปดาห์ที่ 8 ประเมินผลโปรแกรมจากแบบสอบถามเดิม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วยวิธี Paired Sample t-test

            ผลการวิจัย พบว่า สัดส่วนความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวี หลังทดลอง (ร้อยละ90.48) สูงกว่าก่อนทดลอง (ร้อยละ 28.57) และแรงจูงใจในการรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวีภาพรวมหลังทดลอง (M=2.29, SD=0.23) สูงกว่าก่อนการทดลอง (M=1.59, SD=0.33) และพบว่าการรับรู้ผลลัพธ์ในปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการดื้อยาสูงที่สุดคือ หลังทดลอง (M=2.33, SD=0.26) สูงกว่าก่อนการทดลอง (M=1.57, SD=0.33) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุปได้ว่าการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคสามารถส่งเสริมความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวี รวมถึงสามารถเพิ่มแรงจูงใจในการรับประทานยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ขาดนัดการรักษาได้

References

กัญญา พฤฒิสืบ. (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการขาดนัดการรักษาของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารโรคเอดส์, 33, 139-150.

ริยา ปัณฑวังกูร. (2557). พฤติกรรมศาสตร์ พฤติกรรมสุขภาพในงานสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่2). วิทยาการพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

ชัยกฤติ ดีวะลา และฑิฏฐิธนา บุญชู. (2566). ผลของโปรแกรมการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอลไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ต่อ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ที่ขาดนัดคลินิกนภา โรงพยาบาล

บึงกาฬ. ผลงานวิจัยและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2567,

จาก https://bkpho.moph.go.th/ssjweb/bkresearch/index.php?fn=detail&sid=242

นัสชฏาพร นันทะจันทร์, นงเยาว์ เกตุภิบาล และนงค์คราญ วิเศษกุล. (2558). ผลของการให้ข้อมูล

การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะต่อวินัยในการรับประทานยาต้านไวรัสในเยาวชนที่ติดเชิ้อเอชไอวี.

พยาบาลสาร, 42(3), 72-83.

ประพันธ์ ภานุภาค. (2553). แนวทางการตรวจวินิจฉัย และการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ระดับชาติ. (พิมพ์ครั้งที่1). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด: ศูนย์พัฒนาระบบบริการยาต้านไวรัสสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในประเทสไทย

พนมกร ชาญเวช และรุจิรา ดวงสงค์. (2556). ผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมเพื่อการรับประทานยาต้าน ไวรัสเอชไอวีต่อเนื่องและสม่ำเสมอในเด็กติดเชื้อเอชไอวีโรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น.

วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยข่อนแก่น. 6,(1), 21-39

ศศธร ศรีคำ, ดวงกมล ปิ่นฉลียว และทิพย์คำพร เกษโกมล. (2567). ผลของโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจร่วมกับแอปพลิเคชันไลน์ต่อพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษาและระดับเม็ดเลือดขาวชนิดซีดีโฟร์ในผู้ป่วยรายใหม่ โรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า, 7(1), 33-49.

สุกัญญา คำผา. (2555). การบริบาลเภสัชกรรมแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสของผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลกุดชุม จังหวัดยโสธร. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์ มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คณะเภสัชศาสตร์.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2566). คาดประมาณผู้ติดเชื้อเอชไอวี. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2567, จาก https:// hivhub.ddc.moph.go.th/epidemic.php. HIV.gov. (2024). Global HIV/AIDS Overview. Retrived September 10, 2024 from https://www.hiv.gov/federal-response/pepfar-global-aids/global-hiv-aids-overview.

Mackay, Bruce Camphell. (1992). AIDS and Protection Motivation Theory (PMT): Effects of Imagined Scenarios on Intent to Use Condoms. New Mexici State University.

Paterson DL, Swindells S, Mohr J. (2000). Adherence to proteasinhibitor therapy and outcomes In patients with HIV infection. Retrived September 7, 2024 from https://www.acpjournal.org/doi/abs/10.7326/0003-4819-134-7-200104030-0020?journalCode=aim. Roger, R. W. A (1983). Protection Motivation Theory. Health Education Research Theory and Practice. The Journal of Psychology, 9(11), 93-114.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-25