การประเมินผลโครงการนำร่องการดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดนนทบุรี ปี 2567
คำสำคัญ:
การประเมินผล, การดูแลสุขภาพช่องปาก, ผู้ป่วยเบาหวานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการการดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยเบาหวาน
จังหวัดนนทบุรี ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ตามกรอบแนวคิด CIPP modelด้วยวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยเป็นการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้จาก แบบสอบถามประเมินผลโครงการ แบบรายงานตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ และระบบ Health data center ของกระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนค่ามาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกทันตบุคลากรผู้รับผิดชอบในหน่วยงานนำร่อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ
และผลผลิตของโครงการอยู่ในระดับมาก (M =4.06 SD =0.78, M =3.69 SD =1.08, M =3.90 SD =0.80,
M =3.89 SD =0.67) บริบทของโครงการสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัด และสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ ปัจจัยนำเข้า มีความไม่เพียงพอในด้านงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ แนวทางการดำเนินงาน
มีความเหมาะสม สามารถดำเนินงานได้ตามแผน ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก
เพิ่มการการเข้าถึงบริการทางทันตกรรมทั้งการตรวจคัดกรองและการเข้ารับบริการทันตกรรม ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการควรนำผลการวิจัยในครั้งนี้ไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาและขยายบริการทางทันตกรรมต่อไป
References
ณัฐพล ยศพล, และอรวรรณ เสี่ยงบุญ. (2565). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุต่อการเข้าถึงบริการทางทันตกรรม โรงพยาบาลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 20(2), 32-45.
ธนวัฒน์ มังกรแก้ว.(2559). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน. วารสารราชนครินทร์, 13(2), 143-150.
นันท์นลิน บรรจโรจน์, วรวุฒิ เพชรไพร, วชิราภรณ์ ลับภู, มาลัยพร บุตรศาสตร์, นิตยา เยาวพันธุ์, กุลธิดา สร่างโศก, และคณะ. (2564). การประเมินผลโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบัวคำ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 2(2), 171-181.
พงษ์ศักดิ์ ทรัพย์ศิลาทอง. (2567). การประเมินผลโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลเขาสวนกวาง อำเภอเขากวาง จังหวัดขอนแก่น. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(2), 717-723.
วรวรรณ อัศวกุล. (2563). การส่งเสริมสุขภาพช่องปากกับการป้องกันโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ.ศรีนครินทร์เวชสาร, 35(3), 362-370.
สมบูรณ์ ศรีภู่, โยธกา แก้วคำ, และจุฑามาศ วงคำจันทร์. (2566). การประเมินผลโครงการสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง ตามประเด็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานกรมอนามัย ปีงบประมาณ 2565. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 17(2), 559-575.
สันติ กมลคร. (2562). การประเมินผลการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักทันตสาธารณสุข. (2566). แนวทางการดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยเบาหวานสำหรับทันตบุคลากรและบุคลากรสาธารณสุข.https://dental. anamai. moph.go.th/web-upload/5x9c01a3d6e5539cf478715290ac946bee/ tinymce/07/ Dental%20 Guideline%20for%20DM%20patients.pdf.
Ide, R., Hoshuyama, T., Wilson, D., Takahashi, K., & Higashi, T. (2011). Periodontal disease and incident diabetes: A seven-year study. J Dent Res, 90(1), 41-46.
Llambes, F., Arias-Herrera, S., & Caffesse, R. (2015). Relationship between diabetes and periodontal infection. World J Diabetes, 6(7), 927-935.
Molina, C. A., Ojeda, L. F., Jimenez, M. S., Portillo, C. M., Olmedo, I. S., & Hernandez, T. M. (2016). Diabetes and periodontal diseases: An established two-way relationship. J of Diabetes Mellitus, 6(4), 209-229.
Stufflebeam, D.L. (2003). The CIPP model for evaluation. In T. Kellaghan & D.L. Stuffebeam (Eds.), International handbook of educational evaluation. Dordrecht: Springer.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน