ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • นพดล ทองอร่าม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี https://orcid.org/0009-0003-1055-4533
  • กนกพร สมพร
  • ฮันวรรณี หะยีอับดุลรอมัน
  • มารียาณี สะมะแอ

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุ, รถจักรยานยนต์, พฤติกรรมการป้องกัน, นักศึกษา

บทคัดย่อ

อุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์เป็นปัญหาสำคัญทั้งในระดับโลกและประเทศไทย โดยเฉพาะ
ในกลุ่มเยาวชนและนักศึกษา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาจำนวน 293 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา
และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีความรู้อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 81.9)
ทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 53.2) และพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุในระดับสูง (ร้อยละ 49.8) ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
ในจังหวัดสมุทรสงครามได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ได้แก่ ความรู้ การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้
ความรุนแรง และสิ่งชักนำสู่การปฏิบัติ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการสร้างความรู้ ความตระหนัก และสิ่งชักนำสู่การปฏิบัติที่เหมาะสม เป็นกลวิธีสำคัญในการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุในกลุ่มนักศึกษา ควรนำไปประยุกต์ใช้ในการรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุต่อไป

References

กระทรวงคมนาคม. (2562). วิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุเชิงลึกบนโครงข่ายของกระทรวงคมนาคม ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงคมนาคม.

เฉลิมกิต เพชรรักษ์. (2563). พฤติกรรมสวมหมวกนิรภัยของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์: ศึกษาเฉพาะกรณีอําเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกริก.

ซารีฟะห์ แจ๊ะแว. (2560). ปัจจัยคัดสรรตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยในการป้องกันอุบัติเหตุของนักศึกษาสถาบันพลศึกษา วิทยาเขตยะลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พัชร์สิริ ศรีเวียง และกษมา ภูสีสด. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 65), 20-38.

ยุพา หงส์วะชิน. (2563). พฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาบริหารกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข, มหาวิทยาลัยมหิดล.

เรณู คงสันทัด และคณะ. (2562). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติต่อหมวกนิรภัยและกฎหมายหมวกนิรภัยของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ในจังหวัดสมุทรสงคราม. สมุทรสงคราม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม.

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน, 2567. ข้อมูลผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ สะสม จังหวัดสมุทรสงคราม ปี 2567 (มกราคม – เมษายน). สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.thairsc.com/province/75

สิริกร เค้าภูไทย. (2563). หยุดอุบัติเหตุทางถนนทั่วโลก ภารกิจพิชิตโศกนาฏกรรมยุคใหม่. ค้นเมื่อ 14 กันยายน 2563, จาก https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/media30_1.pdf

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2558). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

อัจฉรา นิลรัตโนทัย และพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, 2564. การเสริมสร้างจิตสำนึกวินัยจราจรตามหลักพุทธสันติวิธี: ศึกษากรณีนักเรียนวิทยาลัยการอาชีพหลังสวน จังหวัดชุมพร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, ปีที่9 ฉบับที่ 7 (พ.ย. - ธ.ค. 2564), 3127- 3143.

Bamberg, S., Ajzen, I., & Schmidt, P. (2003). Choice of Travel Mode in the Theory of Planned Behavior: The Roles of Past Behavior, Habit, and Reasoned Action. Basic and Applied Social Psychology, 25(1), 175-187.

Batista, F. d. S., Silveira, L. O., Castillo, J. J. A. Q., Pontes, J. E. d., & Villalobos, L. D. C. (2015). Epidemiological profile of extremity fractures in victims of motorcycle accidents. Acta Ortopédica Brasileira, 23(1), 43-46.

Chuthamanee, N., Panida, N., Naruemol, K., & Sawitree, S. (2022). Effectiveness of health education program for motorcycle accident prevention among technical students in Ubon Ratchathani Province. KKU Journal for Public Health Research, 15(3), 24-35.

Das, S., Gkritzab, K., Zhang, W., & Hans, Z. (2018). A mixed logit analysis of two-vehicle crash severities involving a motorcycle. Accid Anal Prev, 61, 119-128.

Debieux, P., Chertman, C., Mansur, N. S. B., Dobashi, E., & Fernandes, H. J. A. (2010). Musculoskeletal injuries in motorcycle accidents. Acta Ortopédica Brasileira, 18(6), 353-356.

Division of Non-Communicable Disease, Department of Disease Control. (2018). Preventing traffic injuries. Retrieved July 27, 2018 from http://www.thaincd.com/2016/mission5

Hair, J. F., Anderson, R. E., Tatham, R. L., & Black, W. C. (1998). Multivariate data analysis (5th ed.). Prentice Hall.

Hu, L., Bao, X., Wu, H., & Wu, W. (2020). A study on correlation of traffic accident tendency with driver characters using in-depth traffic accident data. J Adv Transp, 3, 1-12.

Lakhan, R., Pal, R., Baluja, A., Moscote-Salazar, L., & Agrawal, A. (2020). Important aspects of human behavior in road traffic accidents. Indian J Neurotrauma, 17(2), 85-99.

Miki, N., Martimbianco, A. l. C., Hira, L. T., Lahoz, G. L., Fernandes, H. J. A., & Reis, F. B. D. (2014). Profile of trauma victims of motorcycle accidents treated at hospital São Paulo. Acta Ortopédica Brasileira, 22(4), 219-222.

Mosharof, H., Rahman, M. M., Sultana, H., Saha, T., Alom, F. M., & Parvin, S. (2022). Knowledge and practice of motorbike riders on the prevention of road traffic accidents. Asian Journal of Education and Social Studies, 30(4), 31-36. https://doi.org/10.9734/AJESS/ 2022/v30i430731

Rosenstock, I. M., Strecher, V. J., & Becker, M. H. (1988). Social learning theory and the Health Belief Model. Health education quarterly, 15(2), 175–183. https://doi.org/10.1177/109019818801500203

Wick, M., Müller, E. J., Ekkernkamp, A., & Muhr, G. (1998). The motorcyclist: Easy rider or easy victim? An analysis of motorcycle accidents in Germany. The American Journal of Emergency Medicine, 16(3), 320-323.

World Health Organization. (2015). Global status report on road safety 2015. Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-21