การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความซื่อสัตย์ ในการปฏิบัติงานของนายทหาร

The Analysis of Structural Causal Relationship of Factors Influencing on Operational Honesty of Soldiers

ผู้แต่ง

  • พันโทนิติศักดิ์ เชื่อมวราศาสตร์ กองบัญชาการกองทัพไทย
  • ปริญญา จิตอร่าม สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ความซื่อสัตย์, การปฏิบัติงาน, โครงสร้างความสัมพันธ์

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยองค์ประกอบและโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติงานของนายทหาร เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากนายทหารที่ปฏิบัติงานในสังกัดกระทรวงกลาโหม ในการวิเคราะห์องค์ประกอบกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างไม่ต่ำกว่า 100   โดยกำหนดอัตราส่วนระหว่างหน่วยตัวอย่างและจำนวนพารามิเตอร์เท่ากับ 20 : 1 ได้ขนาดตัวอย่างเท่ากับ    460 คน ทำการเก็บข้อมูล 487 คน โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติงานของนายทหาร และ ระยะที่ 2  การยืนยันโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติงานของนายทหาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและยืนยันข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก

            ผลการวิจัย พบว่ามีการตอบแบบสอบถามกลับคืนมาจำนวน 487 คน เป็นนายทหารระดับชั้นสัญญาบัตรร้อยละ 62.63 ชั้นประทวน ร้อยละ 37.37 ดำรงตำแหน่งระดับบริหาร ร้อยละ 20.53 ระดับปฏิบัติ ร้อยละ 79.47 ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 62.63 มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 14.74 ปี (SD = 8.196)  การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติงานของนายทหาร ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ควรปฏิบัติ 20 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบต้องงดเว้นการปฏิบัติ 3 ตัวบ่งชี้

References

กรรณิกา ขาวขุ่น. น.ท. (2560). ความรับผิดชอบ. บทความออนไลน์, https://saoc.rtaf.mi.th/

images/OneDsOne_ARTICLE/02Responsibility.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567.

กฤดิพงค์ บุญรงค์. (2550). การศึกษากระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารกับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้านความซื่อสัตย์ : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านตากแดด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพังงา. ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ. (2543). การปฏิรูปการเรียนรู้ของกระทรวงศึกษาธิการ.

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). 8 คุณธรรมพื้นฐาน. (โปสเตอร์). มปท.

กัลยา วานิชย์บัญชา (2552). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร :

นานมีบุคส์ พับลิเคชั่นส์.

ราชกิจจานุเบกษา. (2564). ระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยประมวลจริยธรรมและการรักษาจริยธรรม

พ.ศ.2564. เล่ม 138 ตอนพิเศษ 272 ง. วันที่ 5 พฤศจิกายน 2564. หน้าที่ 1-7.

นิติศักดิ์ เชื่อมวราศาสตร์และนพดล เดชประเสริฐ. (2562). การศึกษาปัจจัยคุณธรรมจริยธรรมนายทหาร

ฝ่ายการเงิน. ใน “วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้”. ปีที่ 1 ฉบับที่ 1

มกราคม-มิถุนายน 2562.

ไพบูลย์ ข่าขันมะลี. (2548). การพัฒนาการการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยด้านความรับผิดชอบ

ของนักเรียน โรงเรียนหนองตอวิทยา อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด.

รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วีระพงศ์ ถินแสนดี. (2550). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนสิงห์สะอาด อำเภอสหัสขันธ์

จังหวัดกาฬสินธุ์. ปริญญานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุรศักดิ ประทานวรปัญญา. (2557). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรือ

ตามความคาดหวังของผู้บังคับบัญชาในส่วนบัญชาการกองทัพเรือ. บัณฑิตวิทยาลัย,

มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2557). บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. http://legacy.orst.go.th/?knowledges.สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567.

Hair J, Black W, Babin B, Anderson R. (2010). Multivariate data analysis a global

perspective. New Jersey: Hamilton Printing Co.

Nina, Mazar (2007). The Dishonesty of Honest People: A Theory of Self-Concept Maintenance. Toroto: University of Toronto.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30