การพัฒนาเครื่องมือจัดการความเสี่ยงในคลินิกทันตกรรมคุณภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดปทุมธานี
Development of Risk Management Tool for Quality Dental Clinics of Sub-district Health Promoting Hospitals in Pathum Thani Province
คำสำคัญ:
คลินิกทันตกรรมคุณภาพ , โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล , การจัดการความเสี่ยงบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์สภาพปัญหาของคลินิกทันตกรรมคุณภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดปทุมธานี สร้างและประเมินประสิทธิผลของเครื่องมือจัดการความเสี่ยงในคลินิกทันตกรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ทันตแพทย์ของโรงพยาบาลและทันตบุคลากรประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินมาตรฐานคลินิกทันตกรรมคุณภาพจังหวัดปทุมธานี แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาที่พบมากที่สุดคือการจัดการความเสี่ยง โดยมีจำนวนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผ่านการประเมินอยู่ในระดับต่ำ จำนวน 3 ข้อจาก 4 ข้อ (ร้อยละ 75.0) เครื่องมือจัดการความเสี่ยงในคลินิกทันตกรรมคุณภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่พัฒนาขึ้นคือ แบบรายงานอุบัติการณ์
ความเสี่ยงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ประกอบด้วย (1) ข้อมูลทั่วไป (2) รายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (3) เหตุการณ์ (4) มาตรการจัดการความเสี่ยง และ (5) ความเห็นของประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง มีผลการตรวจสอบคุณภาพแบบรายงานภาพรวมอยู่ในระดับมาก (mean=4.17, SD.=0.47) ผลการประเมินประสิทธิผลที่เกิดขึ้นพบว่าภายหลังการทดลองใช้ คลินิกทันตกรรมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การจัดการความเสี่ยงเพิ่มขึ้นทุกข้อ
ดังนั้น เครื่องมือจัดการความเสี่ยงที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการพัฒนางานบริการในคลินิก ทันตกรรมและบริการด้านต่างๆ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นต่อไป
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2565). (ร่าง) แผนปฏิบัติการสุขภาพช่องปากของประเทศไทย พ.ศ. 2566-
นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2552). แนวทางการดำเนินงานด้านทันตสาธารณสุขสำหรับบุคลากรทันตแพทยศาสตร์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและศูนย์สุขภาพชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กองบริหารทรัพยากรบุคคล. (2564). โครงสร้างหน่วยงานในการบริหารส่วนจังหวัด สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2566). คู่มือการบริหารความเสี่ยง และการจัดการข้อร้องเรียน/เสนอแนะ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉบับปรับปรุง. ฝ่ายประกันคุณภาพ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2562). คู่มือปฏิบัติงานโรงพยาบาลทันตกรรม
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 131-134.
จินดา คำแก้ว. (2566). ผลประเมินตนเองเกี่ยวกับการจัดระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ของคลินิกหมอครอบครัวเพื่อดูแลสุขภาพผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พื้นที่เขตเทศบาลนคร. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 17(3), 894-907.
ทันตแพทยสภา. (2542). การรับรองคุณภาพบริการทันตกรรม (Dental Accreditation). วิทยาสาร
ทันตสาธารณสุข, 4, 63-70.
ทันตแพทยสภา. (2558). เป้าหมายและแนวทางความปลอดภัยทางทันตกรรม พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2526). ทัศนคติ: การวัดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
วุฒิชัย จริยา, นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ และ ภิรมย์ อ่ำเทศ. (2551). การศึกษาประสบการณ์การใช้บริการปฐมภูมิโดยวิธีสนทนากลุ่ม. กองทุนวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศิชัช ธราวรทิตย์. (2564). กลยุทธ์การปรับตัวของคลินิกทันตกรรมในภาวะวิกฤตสุขภาพ. ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
อมราภรณ์ สุพรรณวิวัฒน์ และสุณีย์ วงศ์คงคาเทพ. (2559). การจัดบริการสุขภาพช่องปากในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปี 2557. วิทยาสารทันตสาธารณสุข, 21, 68-78.
Best, John W. (1977). Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc.
Bloom, B.S. (ed.) (1974). Taxonomy of Educational Objectives. New York: Mckay.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน