การเห็นคุณค่าในตนเอง และแนวทางเพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • อุบลทิพย์ ไชยแสง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
  • นิวัติ ไชยแสง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
  • วิชาภรณ์ อินทรชูติ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
  • อาบาดี เจ๊ะอาแดร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
  • ฮนีฟะห์ บูระกะ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา

คำสำคัญ:

คุณค่าในตนเอง, แนวทางในการพัฒนา, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง ปัจจัยส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับการเห็นคุณค่าในตนเอง และแนวทางเพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ วิธีดำเนินการวิจัย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ศึกษาระดับ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับการเห็นคุณค่าในตนเอง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 368 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ  และการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย  เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง จำนวน 15 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติไคสแควร์  ส่วนที่ 2 ศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา จำนวน 10 คน และตัวแทนบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจำนวน 10 คน เลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

  1. ระดับการเห็นคุณค่าในตนเองโดยรวมอยู่ในระดับสูง (M=3.70, SD=0.52) และปัจจัยส่วนบุคคล ที่มีความสัมพันธ์กับการเห็นคุณค่าในตนเอง ได้แก่ ระดับการศึกษา แหล่งที่มาของรายได้ ความเพียงพอของรายได้ และการรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในปัจจุบัน
  2. แนวทางเพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ ต้องดำเนินการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เหมาะสมตามประเภทของผู้สูงอายุ เน้นการส่งเสริมนันทนาการ ตามความสนใจ ความเชื่อ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นของผู้สูงอายุ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ และเครือข่ายพื้นฐานทางสังคมที่เกี่ยวข้อง

            ดังนั้น องค์กรที่เกี่ยวข้อง ควรดำเนินการเน้นการสร้างเสริมภาวะสุขภาพ รวมถึงความเพียงพอของรายได้ และจัดกิจกรรมตามความสนใจ ความเชื่อ ให้เหมาะสมตามตามบริบทของพื้นที่ และวัฒนธรรมท้องถิ่นของผู้สูงอายุ

References

กรมอนามัย. (2561). สร้างจิตใจที่แจ่มใสให้ผู้สูงอายุด้วยกิจกรรมทางสังคม. สืบค้น 2 ตุลาคม 2566 จาก

https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/social-activities-for-elders.

กองยุทธศาสตร์ และงบประมาณเทศบาลนครยะลา. (2566). ข้อมูลพื้นฐานเทศบาลนครยะลา ประจำปี

ยะลา. เทศบาลนะครยะลา.

ดวงพร ภาคหาญ. ( 2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเองกับระดับคุณค่าใน

ตนเอง กับระดับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเขตรับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง รพ.

แพร่ (ร่องซ้อ). วารสารโรงพยาบาลแพร่, 25(2), 13 – 23.

เทศบาลนครยะลา. ( 2565). เล่าขาน นครยะลา. ยะลา: บริษัท เอสพริ้นท์ (2004) จำกัด.

พิสิษฐ์ จารุศิริพจน์. (2562). การเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ สมาคมผู้สูงอายุเทศบาลเมืองนครปฐม

(วิทยานิพนธ์).มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, นครปฐม.

มาธุรี อุไรรัตน และมาลี สบายยิ่ง. (2560). การเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษามูลนิธิ

สงเคราะห์คนชราอนาถาแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา. RUSAMILAE JOURNAL, 38(1), 29–44.

วัชรินทร์ เสมามอญ. (2556). การมีส่วนรวมในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับ

ผู้สูงอายุในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดอ่างทอง. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สืบค้น 1 พฤษภาคม 2564 จาก http://rdi.aru.ac.th/e_journal/pdf/158.pdf.

สำนักสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยลา. (2565). รายงานการคัดกรองผู้สูงอายุ เทศบาลนครยะลา. ยะลา : เทศบาลนครยะลา.

สมิทธิ์ เจือจินดา และวรรณนภา โพธิ์ผล. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการเห็นคุณค่าของ

ตนเองสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนเขตธนบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี :กรุงเทพมหานคร

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). การคาดประมาณประชากรของ

ประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). การสำรวจสุขภาพจิต (ความสุขคนไทย) พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ : สํานัก

สถิติพยากรณ์ สํานักงานสถิติแห่งชาติ.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2565). Research Brief การเข้าถึงระบบบริการทาง

สังคมของประชากรในครัวเรือนก่อนวัยสูงอายุและผู้สูงอายุที่มีรูปแบบการอยู่อาศัยต่างกันเพื่อ

นำไปสู่แนวทางการสนับสนุนการบริการที่เหมาะสม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุรางค์ เชื้อวณิชชากร, พูนสุข ช่วยทอง และเปรมวดีคฤหเดช. (2561). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกมีคุณค่าใน

ตนเองของผู้สูงอายุในตำบลบางนางลี่ จังหวัดสมุทรสงคราม. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 62(1): 119 – 33.

ฤทัย พานิช และพรสวรรค์ มณีทอง. (2564). การเสริมสร้างสุนทรียภาพเพื่อสร้างคุณค่าในตนของผู้สูงอายุ.

มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 9(3), 28 – 39.

อุบลทิพย์ ไชยแสง และนิวัติ ไชยแสง. (2566). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเอง

แรงสนับสนุนทางสังคม กับสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา.วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 9(1), 160 -169.

อุไรวรรณ อมรนิมิตร, ณัฐสินี แสนสุข และ ธนูศักดิ์ รังสีพรหม. (2565). การศึกษาความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุ.

วารสารสังคมศาสตร์. 11(1), 116 -127.

Coopersmith, S. (1984). SEI : Self-Esteem Inventories. California : Consulting

Psychologist Press,Inc.

Crabtree, Benjamin F., & Miller, William L. (1992). Doing qualitative research. London,

UK: Sage.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper &

Row.

Weiers, Ronald M. (2005). Introduction to Business Statistics. International Student

Edition.Fifth Edition.Pennsylvania, USA. Duxbury Press, Thomson –

Brooks/cole.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30