รูปแบบการพัฒนาระบบคุณภาพและมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอย่างยั่งยืน เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • กรณมณีธนา ปุณณศิริมั่งมี -

คำสำคัญ:

ความยั่งยืน, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, รูปแบบการพัฒนาระบบคุณภาพ, มาตรฐานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลต่อการพัฒนามาตรฐานห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอย่างต่อเนื่อง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวถูกเปลี่ยนเป็นการประเมินมาตรฐาน
หน่วยบริการปฐมภูมิ และเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการคงอยู่
ของการปฏิบัติงานตามระบบคุณภาพและมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
และเพื่อศึกษาผลของรูปแบบการพัฒนาระบบคุณภาพและมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์
และสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอย่างยั่งยืน เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอตาพระยา
จังหวัดสระแก้ว ในระยะที่ 2 โดยใช้กระบวนการศึกษาวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประยุกต์ใช้ร่วมกับแนวความคิดวงจรคุณภาพตามกระบวนการ PDSA ของ Deming ในบุคลากรผู้รับผิดชอบระบบคุณภาพและมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 30 คน วัดผลการวิจัยแบบ 1 กลุ่ม โดยวัดความรู้ผู้รับผิดชอบมาตรฐานของห้องปฏิบัติการ ประเมินระบบคุณภาพทางห้องปฏิบัติการ และความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานก่อนและหลังการศึกษา รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ของผู้รับผิดชอบมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการ และผลคะแนนจากการประเมินระบบคุณภาพและมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001) โดยทุกแห่งผ่านมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ผลสำรวจความพึงพอใจ
ของผู้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการ มีความพึงพอใจในระดับมาก ดังนั้นรูปแบบการพัฒนาระบบคุณภาพนี้สามารถใช้ได้ต่อเนื่อง และนำไปเป็นแบบอย่างในการพัฒนามาตรฐานอื่น และระบบคุณภาพ
ทางห้องปฏิบัติการยังคงมีมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง

References

กรณมณีธนา ปุณณศิริมั่งมี. (2562). ผลของการเตรียมความพร้อมต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามระบบคุณภาพและมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี. 2 (2), 34-50.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์การแพทย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) (MOPH-DMSc-PL01/2555). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร:บริษัท ธนธัชการพิมพ์ จำกัด; 2553.

กระทรวงสาธารณสุข. เกณฑ์มาตรฐานระบบบริการของสถานบริการและหน่วยงานสาธารณสุข : งานพัฒนาบริการห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข (พบส.). พิมพ์ครั้งที่ 3. ม.ป.ท; 2539.

กองยุทธศาสตร์และแผน. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุขและแผนปฏิบัติการคำ รับรองการปฏิบัติราชการ ปี 2561: กระทรวงสาธารณสุข, 2560.

กุศลาสัย สุราอามาตย์ สงครามชัย ลีทองดี และเสฐียรพงษ์ ศิวินา (2562), รูปแบบการพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ตามเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน) พ.ศ. 2562.

โสภณ เมฆธน. (2559). สธ.ติวเข้มนโยบาย รพ.สต.ติดดาว ตั้งเป้า รพ.สต.ทุกแห่งผ่านเกณฑ์ภายใน 5 ปี. Retrieved September 3, 2018, [ออนไลน์]. 2561; [สืบค้น 2 มี.ค. 2565]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL : http://pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=9009.

หทัยรัตน์ คงสืบ และ วิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัย (2562), ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน) พ.ศ. 2562.

Nicha Piyasoontharawong, Saowaluk Sooktan, Authairat Sooksri, Prasartnee Janthorn,Yaowanuch Kongdarn. Incidence of Cancellation Postponement in Surgery and Problem- Solving Technique Using Participatory Action Research, Nursing Council Journal; July-September 2015: 112-19.

Sodsai, T., (2017). Research and Development of Elementary Laboratories Service in Health Promotion Hospital, Amphoe Malasai and Amphoe Khong Chai, Kalasin. Journal of Health Science, Vol. 26(5): 923–929.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-21