ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ของชาวลาหู่ ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

The Relationship Between Knowledge and Behavior of Food of Lahu People Mueang Na Sub-district, Chiang Dao District , Chiang Mai Province

ผู้แต่ง

  • วัชราภรณ์ ร่องเสี้ยว -
  • วราภรณ์ บุญเชียง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อักษรา ทองประชุม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความรู้ด้านการบริโภค พฤติกรรมการบริโภคอาหารชาวลาหู่

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความรู้ด้านการบริโภค พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของชาวลาหู่ ในพื้นที่ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวบรวมข้อมูลจากการวิจัยเอกสาร แบบสอบถาม วิเคราะห์ ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัว แปร ด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
แบบเพียร์สัน (Pearson 's Product Moment Correlation) ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนชาวลาหู่จำนวน 381 คน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารอยู่ใน
ระดับน้อย พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมของชาวลาหู่อยู่ในระดับปานกลาง และความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มตัวอย่างพบว่า
มีความสัมพันธ์เชิงบวก อธิบายได้ว่า เมื่อชาวลาหู่มีระดับความรู้ในการบริโภคอาหารที่เพิ่มขึ้นจะส่งผล
ให้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารของชาวลาหู่ที่ดีขึ้นด้วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กฤชตรองจิตต์ และอุบลวรรณสุวรรณภูสิทธิ์ (2563). เทคโนโลยีอาหารหมัก ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับวัฒนธรรม

การกินอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์บริเวณชายแดนไทย.วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น. 19(2); 24-39.

จุฑามาศ เมืองมูล, พัชรา ก้อยชูสกุล และคณะ (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะสุขภาพของ

กลุ่มชาติพันธุ์อาข่า อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. 10(3); 186-195.

ฉวีวรรณ สุวรรณาภา, อรอนงค์ วูวงค์ และเสริมศิลป์ สุภเมธีสกุล, (2560). อาหารพื้นบ้าน : กระบวนการจัดการ เพื่อคุณภาพชีวิตและจริยธรรมทางสังคม, รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จังหวัดแพร่ (สืบค้นวันที่ 20ก.ย.66). http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/bitstream/123456789/761/1/2560-017).

ชาติพันธุ์ธีรพงษ์ บุญรักษา และชูศักดิ์ สุวิมลเสถียร (2559). ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย. (สืบค้นวันที่ 20ก.ย.66). https://ethnicredb.sac.or.th/?id=2006

ธีรพงษ์ บุญรักษา และชูศักดิ์ สุวิมลเสถียร (2559). การจัดการวัฒนธรรมชุมชน : ภูมิปัญญาในการเสริมสร้าง ความมั่นคงผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ชุมชนลาหู่ อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่.วารสารศิลปกรรมบูรพา. 19(2); 93-113.

นพฤทธิ์ ต่อวาส (2552). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของชาวเขาเผ่าลีซอ : กรณีศึกษาชาวเขาเผ่าลีซอ บ้านปางสา หมู่ที่ 17 ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร.

พระครูสังฆรักษ์บุญเสริม กิตติวณโณ รวีโรจน์ ศรีคำภา, กาญจนา ดำจุติ และนางคุณญา แก้วทันคำ (2562). อาหารพื้นบ้าน : กระบวนการจัดการอาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน, รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่. (สืบค้นวันที่ 20 ก.ย.66) :https://nkp.mcu.ac.th/?p=3677.

ไพศาล พุทธพันธ์ (2556). การศึกษาภูมิปัญญามูเซอแดง บ้านหัวปาย ต.เวียงเหนือ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน, รายงานการวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. สำนักงานภาค. (สืบค้นวันที่ 20 ก.ย.66 : https://www.sac.or.th/databases/ethnicredb/research_detail.php?id=1590).

สำนักโภชนาการ. (2565). หลักแนวทางการบริโภคอาหารจากอาหารไทยสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ.

(สืบค้นวันที่ 20ก.ย.66) :https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/fbdgs.

สุนิดา อรรถอนุชิตและ รอฮานิ เจะอาแซ, (2562). การดูแลสุขภาพเชิงพื้นบ้าน: กรณีศึกษาชนชาติพันธุ์ลาหู่แดง

ในจังหวัดเชียงราย, วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 30(2);155-164.

Bloom's Taxonomy: The Psychomotor Domain. (2015) [Internet]. 2015 [cited 2023 Sep 20].

http://www.nwlink.com/~donclark/hrd/Bloom/psychomotor_domain.html

Hedberg and Zimmerer. (2021). Local food systems: Reviewing two decades of research. Agricultural Systems. Vol 193. [Internet]. 2015 [cited 2023 Sep 20].

https://doi.org/10.1016/j.agsy.2021.103226.

Krejcie and Morgan. (1970). Determinant Sample Size for Research Active. Education and Psychological Measurement. 30:607-610.

Shekar and Barry. (2020). Obesity: Health and Economic Consequences of an Impending Global Challenge. [Internet]. 2015 [cited 2023 Sep 20].DOI:10.1596/978-1-4648-1491-4. ISBN: 978-1-4648-1491-4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29