การพัฒนารูปแบบการบริการวัคซีนคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลสะเดา

The development of a family doctor clinic vaccination service model Sadao Hospital

ผู้แต่ง

  • อุไร หัดเลาะ -
  • นภชา สิงห์วีรธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การบริการวัคซีน, คลินิกหมอครอบครัว, ความครอบคลุมการได้รับวัคซีน

บทคัดย่อ

            การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ พัฒนารูปแบบและประสิทธิผลของรูปแบบการบริการวัคซีนคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลสะเดา ดำเนินการ 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการณ์ การบริการวัคซีนคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลสะเดา โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร ขั้นตอนที่ 2
การสร้าง และพัฒนารูปแบบบริการวัคซีนโดยยกร่างรูปแบบจากผู้ปฏิบัติงาน 5 คน ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการบริการวัคซีน ใช้วิธีวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนหลัง ประชากรที่ใช้ ได้แก่ เด็กอายุ 0 - 5 ปี จำนวน 261 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง
คือ รูปแบบการบริการวัคซีนคลินิกหมอครอบครัวที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ทะเบียนนัดวัคซีน และทะเบียน
ความครอบคลุมวัคซีน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ผลวิจัยพบว่า

  1. 1. สภาพการณ์การขาดนัดวัคซีนของเด็ก 0 - 5 ปี ในพื้นที่รับผิดชอบคลินิกหมอครอบครัวโรงพยาบาลสะเดา ช่วง 6 เดือนแรก ปีพ.ศ. 2565 โดยเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 65 และความครอบคลุมการได้รับวัคซีน
    แต่ละชนิดครบตามเกณฑ์ในเด็กอายุ 1 ปี 2 ปี 3 ปี 5 ปี ร้อยละ 26, 61, 50 และ 49 ตามลำดับ ซึ่งต่ำเกณฑ์
  2. รูปแบบการบริการวัคซีนคลินิกหมอครอบครัวโรงพยาบาลสะเดา คือ รูปแบบ SAI & C ประกอบด้วย 1) ระบบบริการ 2) ระบบการนัดและการติดตาม 3) ระบบสารสนเทศ และ 4) ระบบการติดตามความครอบคลุม
  3. หลังการใช้รูปแบบแล้วพบว่า อัตราการขาดนัดการรับวัคซีนลดลงจากร้อยละ 65 ต่อเดือน เป็น ร้อยละ 20 ต่อเดือน นอกจากนี้อัตราความครอบคลุมการรับวัคซีนในเด็กอายุครบ 1 ปี 2 ปี 3 ปี และ 5 ปี เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 26, 61, 50 และ 49 เป็นร้อยละ 90, 83, 72 และ 83 ตามลำดับ

            ดังนั้นควรนำรูปแบบการบริการวัคซีนที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในการช่วยลดปัญหาการรับบริการวัคซีนของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและบริบทของชุมชน

References

กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ, ชนเมธ เตชะแสนศิริ, วีระชัย วัฒนวีรเดช, อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์, และฤดีวิไล สามโกเศศ. (2562). ตําราวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2562. กรุงทพ: กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

ซำซูดิน ดายะ, นิรัชรา ลิลละฮ์กุล และเจษฎากร โนอินทร์. (2561). ประสบการณ์ของผู้ปกครองเด็กชาวไทยมุสลิมต่อการปฏิเสธการรับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนในเด็กอายุ 0 - 5 ปี. วารสารกรมการแพทย์. 43(5): 137-141.

ณปภา ประยูรวงษ์ และมารุต ภู่เพนียด. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุของเด็กปฐมวัย ตำบลกระจัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารTJPHS. 2(2): 43-53.

นครินทร์ สุวรรณแสง และภราดร ยิ่งยวด. (2563). คลินิกหมอครอบครัว: แนวคิดและการจัดการตามบทบาทพยาบาล วิชาชีพ. วารสารสภาการพยาบาล. 35(1): 5-17.

นรลักขณ์ เอื้อกิจ และลัดดาวัลย์ เพ็ญศร. (2562). การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE MODEL ในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 12(1): 38-48.

บุษกร พันธ์เมธาฤทธิ, ลักขณา คงแสง, จุฑารัตน์ คงเพ็ชร, ปราณี คำจันทร์, ลดาวัลย์ ประทีปชัยกูร และพรทิพย์ พูลประภัย. (2562). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลเด็กของผู้ปกครองในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่บ้าน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 39(2): 23-36.

รุสนา ดอแม็ง และฐปนรรฆ์ ประทีปเกาะ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อผู้ปกครองในการนำเด็กอายุ 0 - 5 ปีรับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคพื้นฐานของจังหวัดปัตตานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 28(2): 224-235.

ศุภานิช ธรรมทินโน. (2561). การพัฒนาระบบติดตามความครอบคลุมในการรับวัคซีนของเด็ก 0-5 ปีในอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 1(3): 62-69.

อมรรัตน์ นธะสนธิ์. (2559). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาแนวคิดพื้นฐานและทฤษฏีทางการพยาบาลปีการศึกษา 2559. อุบลราชธานี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

อภิชญา หิมมา และวัลลภา เชยบัวแก้ว. (2565). การพัฒนาตัวแบบการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ศูนย์สุขภาพชุมชนพิมาน. Thaksin University Online Journal 2022; 2022(1): EHST-29(89): 1-17.

อีระฟาน หะยีอีแต และประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ. (2563). รูปแบบการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี จังหวัดยะลา. วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอน. 10(20): 137-148.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2559). แนวพระราชดำริ การพัฒนาที่ยั่งยืน นำประโยช์สุขสู่ประชาชน. วารสารสถาบัน พระปกเกล้า. 14(3): 51-64.

Green, l. W., Kreuter, M. W. (2005). Health program planning: An educational and ecological approach. (4th ed) .New York: Emily Barrosse.

Green, L. W., & Kreuter, M. W. (1999). Health promotion planing third edition aneducational and ecological approach (3rd ed.). California: Mayfield publishing company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30