ผลของโปรแกรมศิลปะบำบัดต่อความเครียดของผู้ป่วยยาเสพติด กลุ่มบังคับบำบัดแบบไม่ควบคุมตัว

Effect of Art Therapy on Stress of Non-control Treatment of Compulsory Drug Addicted Patients

ผู้แต่ง

  • สรัญญา ขวัญเพชร โรงพยาบาลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
  • อุดมเกียรติ พูลสวัสดิ์ โรงพยาบาลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
  • สุจิตตรา ลักษณะ โรงพยาบาลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
  • วิราสินี สร้อยแก้ว โรงพยาบาลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
  • อมรรัตน์ สีสุข โรงพยาบาลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
  • นิธินันท์ พงษ์ศิริ โรงพยาบาลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยยาเสพติด, ความเครียด, ศิลปะบำบัด

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความเครียดของผู้ป่วยยาเสพติด
กลุ่มบังคับบำบัดระหว่างก่อนและหลังการใช้โปรแกรมศิลปะบำบัด ในผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโคกโพธิ์ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมศิลปะบำบัด 8 กิจกรรม ของโรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา และเครื่องมือที่ใช้
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเองของกรมสุขภาพจิต โดยจะทำการเปรียบเทียบระดับความเครียดของผู้ป่วยยาเสพติดกลุ่มบังคับบำบัดระหว่างก่อนและหลังการใช้โปรแกรมศิลปะบำบัดโดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed Rank Test ผลการวิจัยพบว่า หลังใช้โปรแกรมศิลปะบำบัดผู้ป่วย
มีความเครียดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยมีคะแนนความเครียดเฉลี่ยก่อนเข้าร่วมกิจกรรมศิลปะบำบัดเท่ากับ 18.08 (SD = 2.96) และหลังเข้าร่วมกิจกรรมศิลปะบำบัดมีคะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 8.42 (SD = 2.81) ดังนั้น การนำศิลปะบำบัดมาใช้ในการลดความเครียดของผู้ป่วยยาเสพติดกลุ่มบังคับบำบัด
แบบไม่ควบคุมตัวจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีความเหมาะสมที่ควรนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรม
ลดความเครียดของผู้ป่วยยาเสพติดในกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป

References

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). New York: Routledge.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175–191.

Urbinner. (2021). Art Therapy. Urbinner. Retrieved June 19, 2023, from https://www.urbinner.com/post/what-is-art-therapy

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2564). ศิลปะบำบัด ศาสตร์และศิลป์แห่งการบำบัด. Retrieved June 19, 2023, from https://www.happyhomeclinic.com/alt02-arttherapy_artandscience.htm

พรนภา สุขมูลศิริ, และ รุ่งนภา สุวรรณศรี. (2564). การออกแบบสื่อศิลปะบำบัดความเครียดเพื่อส่งเสริม

สุขภาวะจิตในวัยทำงาน. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 8(2), 95–133.

พวงทิพย์ สังเกตุใจ, สุนภาวรานนท์ กิ่งกาญจน์, นิลมล สุพัฐชญา, และ โชติกาญน์ชยเกษม ดวงใจ. (2563). การศึกษาประสิทธิผลการจัดการความเครียดด้วยกิจกรรมศิลปะและดนตรีบำบัด ในผู้ป่วยยาเสพติด โรงพยาบาลธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอน. โรงพยาบาลธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

พันธิพา ทองสลับ, และ ฟัลซานา อับดุลรอมัน. (2562). ศึกษานำร่องผลการศิลปะบำบัดต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตเวชจากการใช้ยาเสพติด กรณีศึกษาโรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี. กรมการแพทย์ โรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี.

พันธิภา ทองสลับ, และ ฟัลซานา อับดุลรอมัน. (2566). การศึกษาเบื้องต้น: ผลของโปรแกรมกลุ่มศิลปะบำบัดต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตเวชจากการใช้ยาเสพติด โรงพยาบาลธัญญารักษ์ ปัตตานี. วารสารจิตวิทยาคลินิกไทย (Online), 54(2), 56–66.

ภิรญา ราชสันเทียะ. (2563). ผลของการใช้ศิลปะบำบัดที่มีต่อภาวะซึมเศร้าของผู้บำบัดยาเสพติดในระบบ Matrix ในโรงพยาบาลพิจิตร. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 5(4), 94–98.

โรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา. (2561). ศิลปะบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด. โรงพยาบาลธัญญารักษณ์สงขลา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

สมชาย จักรพันธุ์. (2542). การพัฒนาแบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเองสำหรับประชาชนไทยด้วยคอมพิวเตอร์: รายงานการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต.

สายอักษร รักคง. (2563). การเยียวยาสภาวะทางจิตด้วยศิลปะบำบัด. วารสารศิลป์ พีระศรี, 7(2), 65–84.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29