การพัฒนาสื่อภาษามลายูท้องถิ่นในการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

ผู้แต่ง

  • โสพินทร์ แก้วมณี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง

คำสำคัญ:

ภาษามลายูท้องถิ่น, สื่อภาษามลายูท้องถิ่น, การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา พัฒนาสื่อและประเมินผลการใช้สื่อภาษามลายูท้องถิ่นแบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาโดยใช้แบบสอบถามความรู้ ทักษะและความพึงพอใจต่อการใช้สื่อและแบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย 2) พัฒนาสื่อภาษามลายูท้องถิ่นโดยใช้แนวคิดของ ADDIE มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ วิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนา นำไปใช้ และประเมินผล และ 3) ประเมินผลสัมฤทธิ์การใช้สื่อโดยใช้แบบสอบถามความรู้ ทักษะและความพึงพอใจต่อการใช้สื่อและแบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัย จำนวน 54 และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยจำนวน 38 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Dependent t-test ผลวิจัย พบว่า

  1. สภาพปัญหาพบว่าเด็กปฐมวัยมีความครอบคลุมในการประเมินพัฒนาการร้อยละ 94.44 สมวัย ร้อยละ 72.54 สงสัยล่าช้าด้านการใช้ภาษาร้อยละ 35.71 การติดตามเยี่ยม 84.61 มีส่วนร่วม ร้อยละ46.29 ส่วนในบุคลากร พบว่า มีระดับความรู้การใช้ภาษามลายูท้องถิ่น ร้อยละ 68.42 มีทักษะร้อยละ 81.58 และพึงพอใจต่อการใช้สื่อ ร้อยละ 65.79
  2. การพัฒนาสื่อภาษามลายูท้องถิ่น โดยใช้แนวคิดของ ADDIE Model สื่อที่ได้จากการพัฒนา ได้แก่ คู่มือ
    E-book ภาพพลิก และการ์ดคำ
  3. ผลจากการใช้สื่อภาษามลายูท้องถิ่น ในเด็กปฐมวัย พบว่า ความครอบคลุมในการประเมินพัฒนาการเพิ่มขึ้นจากร้อยละ44 เป็นร้อยละ100 พัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 72.54 เป็นร้อยละ 88.88 สงสัยล่าช้าด้านการใช้ภาษาลดลงจากร้อยละ 35.71 เป็นร้อยละ 7.14 ติดตามเยี่ยมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 84.61 เป็นร้อยละ100 มีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 46.29 เป็นร้อยละ 81.48 ในบุคลากร พบว่าระดับความรู้ ทักษะและพึงพอใจต่อการใช้สื่อภาษามลายูท้องถิ่น หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (P <0.05)

การพัฒนาสื่อภาษามลายูท้องถิ่นควรได้รับการสนับสนุน การมีส่วนร่วมของชุมชน จะช่วยให้เกิดการบูรณาการในการสื่อสาร และควรใช้สื่อที่เหมาะสม ในการดึงดูดความสนใจ เช่น สี  รูปภาพ ภาษาที่เข้าใจง่าย เพื่อให้เด็กปฐมวัยเกิดความเข้าใจและสามารถปฏิบัติกิจกรรมได้ ช่วยส่งเสริมพัฒนาการและผลสัมฤทธิ์ที่ดีต่อเด็กปฐมวัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2559). ผลการสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทยปี 2559. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ชฎาภรณ์ ชื่นตา, สุภาพร แก้วใส, สมจิต แซ่ลิ้ม, เพียงนคร คำผา. (2561). โครงการศึกษาวิจัยการพัฒนาการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยแบบบูรณาการ. ยโสธร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร.

นุชฤดี รุ่ยใหม่. (2556). การพัฒนาทักษะการพูดและการรู้คำศัพท์ของเด็กปฐมวัยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สังกัดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นโดยใช้กิจกรรมร้องเพลงและสื่อทวิภาษา. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2559.จาก https://www.doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve DOI=10.14457/SDU.res.2013.40

ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2553). สื่อและเทคโนโลยี การศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษา จังหวัดชายแดนใต้. วารสารวิทยาบริการภาคใต้. 21(3), 107-118.

มูนีเร๊าะ ผดุง, สุรชัย สุขสกุลชัย, วิราพรรณ แก้วประพันธ์, สิริพร ศรเรือง, พิมพรรณ อนันทเสนา, รูซรีนา ปาแนแจกะ. (2555). สภาพการจัดประสบการณ์เรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองและแนวทางในการพัฒนาสื่อประสมสองภาษา;กรณีศึกษาจังหวัดยะลา. วารสารปาริชาติ, 25(1), 31-39.

วัฒนา สว่างศรี. (2561). การศึกษาการพัฒนารูปแบบการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2561. จาก http://mkho.moph.go.th/research2018/showdata2.php?id=157

ศิริกัญญา ฤทธิ์แปลก. (2559). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 1–3 ปี โดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม:กรณีศึกษาชุมชน ตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม2559. จาก https://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php? ArticleID=183144

ศอลาฮุดดีน สมาอูน. (2561). การศึกษาการใช้คำศัพท์ภาษามลายูในภาษาไทยถิ่นใต้สตูลเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา. วารสารสารสนเทศ, 17(1), 133-142.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2559). คู่มือโรงเรียน พ่อ แม่ เพื่อลูกรัก“สุขภาพดี สมองดี อารมณ์ดีมีความสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: นิ้วธรรมดาการพิมพ์จำกัด.

สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2562). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาท้องถิ่นและภาษาไทยเป็นสื่อ: กรณีการจัดการศึกษาแบบทวิภาษา(ภาษาไทย-มลายูถิ่น) ในโรงเรียนเขตพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ระยะที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

อาริสรา ทองเหม, จินตนา พัฒนพงศ์ธร. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย: กรณีพื้นที่โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนอันเนื่องมาจากพระราชดำริเขตกองทัพภาคที่ 3. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2564 จาก https://www.hp.anamai.moph.go.th/web-upload/4xceb3b571ddb70741 ad132d75876bc41d/202106/m_news/35025/204972/file_download/41fe3e77eb3ae4c2cafc13c52979daf6.pdf

Seels, B. & Glasgow, Z. (1998). Making Instructional Design Decisions. OH: Columbus. Prentice Hall

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31 — Updated on 2023-08-31

Versions