การพัฒนารูปแบบการจัดการอุบัติการณ์และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายใต้ 9 มาตรฐานสำคัญจำเป็นต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, อุบัติการณ์, เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์, ความปลอดภัยบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบ และประเมินประสิทธิผลการจัดการอุบัติการณ์และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ภายใต้ 9 มาตรฐานสำคัญจำเป็นต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการณ์ปัญหา โดยศึกษาวิธีสนทนากลุ่มและศึกษาจากข้อมูลอุบัติการณ์การบริหารจัดการความเสี่ยงสถานพยาบาล ปีงบประมาณ 2561-2563 ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบโดยใช้ใช้หลัก P-D-C-A ก่อนยกร่างเป็นรูปแบบ ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ ผลการประเมินความเหมาะสมและสอดคล้อง ได้ค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.71, SD=0.26) ขั้นตอนที่ 3 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบโดยใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่าง บุคลากรโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวน 30 คน สถิติใช้ได้แก่เชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ผลวิจัยพบว่า
1. สถานการณ์การจัดการอุบัติการณ์และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ บุคลากรลงบันทึกสมุด ส่งข้อมูลช่วงการรับส่งเวร ไม่ได้รายงานทันทีในระบบสารสนเทศการบริหารจัดการความเสี่ยงสถานพยาบาล ไม่ได้มีการทบทวนอุบัติการณ์ระดับ E-F แต่มีการทบทวนระดับ G-H-I ไม่นำผลการทบทวนเข้าขึ้นทะเบียนบัญชีความเสี่ยง อุบัติการณ์ ตั้งแต่ ปี 2561-2563 การเกิด Medication Error และ adverse drug event มากที่สุด รองลงมาเป็นการติดเชื้อสำคัญของโรงพยาบาล ใน Ventilator-Associated Pneumonia (VAP)
2. รูปแบบการจัดการอุบัติการณ์และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ 4R Model 1) Report การรายงานอุบัติการณ์และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ภายใน 24 ชั่วโมง 2) Re-Check การตรวจสอบข้อมูลอุบัติการณ์และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ในระบบสารสนเทศการบริหารจัดการความเสี่ยงสถานพยาบาล (1) ด้าน Clinic ระดับ A-D และ ด้าน Non-Clinic ระดับ 1-2 ภายใน 10 วัน (2) ด้าน Clinic ระดับ E-I และ ด้าน Non-Clinic ระดับ 3-5 ภายใน 5 วัน 3) Root Cause Analysis การทบทวนด้าน Clinic ระดับ E-I และ ด้าน Non-Clinic ระดับ 3-5 ภายใน 7 วัน 4) Register การนำผลประเด็นจากการทบทวนวิเคราะห์หาสาเหตุ (RCA) นำเข้าบัญชีจัดการความเสี่ยง Risk Register
3. ประสิทธิผลมีจำนวนการรายงานอุบัติการณ์ และมีการทบทวนวิเคราะห์หาสาเหตุ (RCA) เพิ่มขึ้น ในปี 2565 ร้อยละ 46.23 ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างในระดับมาก
จากการศึกษานี้ ทำให้เกิดระบบการป้องกันและเฝ้าระวังความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และการจัดการอุบัติการณ์เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่พึ่งประสงค์กับผู้ป่วยซ้ำ แล้วยังเป็นการเพิ่มคุณภาพการบริการร่วมด้วย
References
จิราวรรณ รุ่งเรืองวารินทร์, พรพิมล พลอยประเสริฐ, และสมทรง บุตรชีวัน. (2560). การพัฒนาระบบการจัดการความเสี่ยง กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 7(1), 24-36.
บังอร เขื่อนคำ, สมใจ ศิระกมล, และบุญพิชชา จิตต์ภักดี. (2563). การวิเคราะห์สถานการณ์การรายงาน อุบัติการณ์ความเสี่ยงในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 1 โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร, 47(1), 337-349.
ปฤษณา เปล่งอารมณ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการทางการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยจากการบริหารยาความเสี่ยงสูง โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5, 40(1), 137-150.
สำรี ชมบริสุทธิ์, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล, และอภิรดี นันท์ศุภวัฒน์. (2563). การวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วย หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. พยาบาลสาร, 47(2), 453-462.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2561). เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยของประเทศไทย Patient Safety Goals: SIMPLE Thailand (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์ เฟมัส แอนด์ ซัคเซ็สฟูล.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2563). HA UPDATE 2020 (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์ บริษัท หนังสือวันดี จำกัด.
Bowel P. Building a safety and improvement culture in primary care practice. Nurses 2010, 5:156.
Jirapaet, W., & Jirapaet, K. (2012). Patient safety management, concept, process, clinical safety guidelines. Bangkok: Eleven Glasses Color.
World Health Organization (WHO). The patient Safety: Forward programmed 2006.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน