การพัฒนารูปแบบการค้นหาผู้สัมผัสเชื้อโควิดเชิงรุกโดยเก็บตัวอย่าง Nasopharyngeal swab และ Throat swab สำหรับนักเทคนิคการแพทย์ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
คำสำคัญ:
การพัฒนาคุณภาพ, เก็บตัวอย่างตรวจ SARS-CoV-2 (COVID-19), รูปแบบการค้นหาผู้สัมผัสเชื้อโค วิดเชิงรุกบทคัดย่อ
ปัญหาการระบาดของโรคโควิด ทำให้มีการระดมพลเก็บตัวอย่างในผู้ป่วยหลายกลุ่ม โดยใช้บุคคลกรที่หลากหลายจึงเกิดความคลาดเคลื่อน ตัวอย่างไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน ดังนั้นในการศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการค้นหาผู้สัมผัสเชื้อโควิดเชิงรุกโดยเก็บตัวอย่าง Nasopharyngeal swab และThroat swab และเพื่อศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการค้นหาผู้สัมผัสเชื้อโควิดเชิงรุกโดยเก็บตัวอย่าง Nasopharyngeal swab และThroat swab สำหรับนักเทคนิคการแพทย์ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว โดยใช้กระบวนการศึกษาวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการเรียนการสอนเชิงระบบตามแนวคิด “ADDIE Model” ในบุคลากรทีมสหสาขาวิชาชีพ จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมกระบวนการวิจัย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การวิเคราะห์บริบทและสภาพปัญหา 2) การออกแบบสร้างและพัฒนากระบวนการพัฒนาคุณภาพ 3) การพัฒนา 4) การนำไปใช้ 5) การประเมินผลด้านกระบวนการและผลลัพธ์ รวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามและแบบประเมินผลการปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ จากผลการศึกษาวิจัยหลังจากให้ความรู้วิธีการเก็บตัวอย่าง ฝึกปฏิบัติการเก็บสิ่งส่งตรวจ และพัฒนารูปแบบการค้นหาผู้สัมผัสเชื้อโควิดเชิงรุก พบว่าทีมสหวิชาชีพมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และปฏิบัติการเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยวิธี Nasopharyngeal swab และ Throat swab หลังพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนา เท่ากับ 3.27 คะแนน (S.D.=3.03) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) อัตราการปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ 0% (เป้าหมาย≤1%) ผ่านเกณฑ์ชี้วัด และอัตราความถูกต้องในการส่งตัวอย่างตรวจหาเชื้อ SAR-CoV-2 ด้วยวิธี Real time RT-PCR 100% (เป้าหมาย 100%) ผ่านเกณฑ์ชี้วัด ประสิทธิผลรูปแบบการค้นหาผู้สัมผัสเชื้อโควิดเชิงรุก ลดลง 4 ขั้นตอน ลดระยะเวลารอคอยได้ 1.30 ชั่วโมง ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการมากที่สุด 92% (เป้าหมาย ≥85%) ผ่านเกณฑ์ชี้วัด รูปแบบการพัฒนานี้สามารถเป็นแบบอย่างในการพัฒนางานอื่นต่อไป
References
กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19. [ออนไลน์]. 2564; [สืบค้น 31 ส.ค. 2564]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL:http://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/.
กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและวิชาการ โรงพยาบาลตาพระยา. (2564). สรุปผลงานประจำปี 2564 การประชุมคณะกรรมการบริหาร และทีมนำทางคุณภาพ. สระแก้ว : โรงพยาบาลตาพระยา จังหวัดสระแก้ว.
กุศลาสัย สุราอามาตย์ สงครามชัย ลีทองดี และเสฐียรพงษ์ ศิวินา (2562), รูปแบบการพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ตามเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว ในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน) พ.ศ. 2562.
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.ประสบการณ์เตรียมห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ พร้อมรับโรค COVID-19 [ออนไลน์]. 2564; [สืบค้น 20 ส.ค. 2564]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL:http://med.mahidol.ac.th/atrama/issue037/open-lab
ชลอวัฒน์ อินปา และ พิศิษฐ์ ศรีประเสริฐ. (2564). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเครียดและซึมเศร้าในบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในช่วงการแพร่ระบาดโรค COVID-19. เชียงรายเวชสาร, 13(2), 153-165.
นภสร ดวงสมสา และคณะ. (2556). ผลของการพัฒนาคุณภาพโดยทีมพยาบาลต่ออัตราการปนเปื้อนเชื้อจุลชีพในเลือดที่ส่งตรวจเพาะเชื้อ. พยาบาลสาร ปีที่ 40 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2556 ; 12-21.
บี บี ซี นิวส์ ไทย.โควิด-19: ลำดับเหตุการณ์ แผนที่ อินโฟกราฟิก ยอดติดเชื้อ-เสียชีวิตในไทยและทั่วโลก [ออนไลน์]. 2564; [สืบค้น 31 ส.ค. 2564]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL:https://www.bbc.-com/thai/thailand-52090088
ปรียะดา ภัทรสัจจธรรม. (2559). การออกแบบการเรียนการสอนเชิงระบบโดยใช้แบบจำลอง ADDIE : การพัฒนาการคิดแบบเมตาคอกนิชัน (Metacognition) ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร ปที่ 13 ฉบับที่ 2 (พฤศจิกายน 2558-มีนาคม 2559) หน้า 6-17
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). ความรู้พื้นฐาน COVID - 19 การติดเชื้ออการป่วย การดูแลรักษา การป้องกันการแพร่เชื้อและการติดเชื้อ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.
Kruse, K. (2008). Introduction to Instructional Design and the ADDIE Model. [Online]
Accessed 30 December . Available from http://www.elearningguru.com/ articles/art2.
Sripraphan, M. Basic Knowledge of Antigen Test Kit for Screening for COVID-19. Retrieved
April 8, 2021 from http:// pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/files/0570.pdf
World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) technical guidance: laboratory testing for 2019-nCoV in humans. [online]. 2020; [cited 2020 Jun 20]; [5 screens]. Available from: URL: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-%ADcoronavirus-%AD2019/technical-%ADguidance/laboratory-%ADguidance.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน