องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะการดูแลสุขภาพจิตในชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี

ผู้แต่ง

  • พรทิพา โยธาวงศ์ โรงพยาบาลน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, การดูแลสุขภาพจิตในชุมชน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปริมาณนี้เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะการดูแลสุขภาพจิตในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ อสม. ในอำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี จำนวน 310 คน ใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเองผ่านตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาได้ค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ระหว่าง .67 – 1.00 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .960 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory  Factor Analysis : EFA) สกัดปัจจัยด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลักใช้วิธีหมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลการวิจัยพบว่า

องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะการดูแลสุขภาพจิตในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 29 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย 1) สมรรถนะด้านสมรรถนะด้านคุณลักษณะเฉพาะมี 8 ตัวบ่งชี้ 2) สมรรถนะด้านการการดูแลสุขภาพจิตบุคคล มี 11 ตัวบ่งชี้ 3) สมรรถนะด้านการดำเนินงานเชิงรุกในชุมชน มี 6 ตัวบ่งชี้ และ 4) สมรรถนะด้านการประชาสัมพันธ์และประเมินชุมชน มี 4 ตัวบ่งชี้ โดยทั้ง 4 องค์ประกอบสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของตัวบ่งชี้ 29 ตัวบ่งชี้ ได้ร้อยละ 66.27 โดยมีค่าไอเกน เท่ากับ 51.20, 7.79, 3.94 และ 3.35 ตามลำดับ

ดังนั้นควรนำองค์ประกอบที่ได้จากการวิจัยไปใช้ในการประเมินสมรรถนะการดูแลสุขภาพจิตในชุมชนตามบทบาทของ อสม. และจัดทำรูปแบบหรือวิธีการพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพจิตในชุมชนอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่เพื่อการยกระดับ อสม. เป็นหมอประจำบ้าน. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือดูแลจิตใจประชาชนสำหรับผู้นำชุมชนและอสม. ชุมชน “หัวใจมีหู ต่อสู้ ! โควิด-19”. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, พยงค์ เทพอักษร. (2563). ความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 7(2), ก-จ.

จงรักษ์ ใจจันทร์, เสด็จ ทะลือ, สุภาวดี จันทร์อินทร์, ศิริพร กุณา, จันทร์เพ็ญ คำอุ่น, เอกรินทร์ โนจิต (2562) การพัฒนารูปแบบการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยสุขภาพจิตในชุมชนโดยกระบวนการ AIC ในบริบทของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอ่ายนาไลย อำภอเวียงสา จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 28(เพิ่มเติม), s76-s87.

เจนจิรา เกียรติสินทรัพย์, สาริณี โต๊ะทอง. (2564). อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน: บทบาทหน้าที่การดูแลสุขภาพจิตชุมชนในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 29(2), 314-323.

ดุษณี บุญพิทักษ์สกุล, ศิริภัททรา จุฑามณี, อรพิชา เกตุพันธ์. (2564). การพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนด้านสุขภาพจิต. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 29(4), 99-110.

นันทาวดี วรวสุวัส. (2560). คู่มือความรู้สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญ สาขาสุขภาพจิตชุมชน. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์พระธรรมขันต์.

พรสุดา แสงสุกวาว. (2558). บทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขเชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตชุมชนในการดูแลผู้ป่วยซึมเศร้า: กรณีศึกษาศูนย์สุขภาพจิตที่ 7. สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยุพิน หงษ์วะชิน, อำนวย ปาอ้าย, เพ็ญนภา กุลนภาดล, วรางค์ภรณ์ ไตรติลานันท์ (2556) สมรรถนะของ อสม. ในการดำเนินงานสุขภาพจิตในชุมชน. วารสารพยาบาลตำรวจ. 5(2), 61-78.

ราชกิจจานุเบกษา. (2554). ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๔. หน้า ๑ เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๓๓ ง ลงวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๔.

วิเชียร เทียนจารุวัฒนา, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, สายสมร วชิระประพันธ์. (2564ก). แนวทางการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คุณภาพเพื่อสนับสนุนกำลังคนสาธารณสุขสำหรับระบบสุขภาพในอนาคต. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(2), 353 – 366.

วิเชียร เทียนจารุวัฒนา, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, สายสมร วชิระประพันธ์. (2564ข). แนวทางการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คุณภาพเพื่อสนับสนุนกำลังคนสาธารณสุขสำหรับระบบสุขภาพในอนาคต. นนทบุรี. รายงานวิจัย

Orrisut, N. (2020). Development of patterns and procedures for maternal and child health operations of village health volunteers Nakhon Sawan Province. Nakhon Sawan: Nakhon Sawan Provincial Public Health Office.

Dorji, T. (2021). The gross national happiness framework and the health system response to the COVID-19 pandemic in Bhutan. The American Journal of Tropical Medicine and Hygiene, 104(2), 441.

Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B., & Anderson, E. R. (2019). Multivariate Data Analysis (8th ed). New Jersey: Pearson Education.

Paula, B., Laura, C.D., Alessandro, C.D., Alessandra, F., Francesca, C., Luisa, M.V. (2018). Ethical Leadership as Antecedent of Job Satisfaction, Affective Organizational Commitment and Intention to Stay Among Volunteers of Non-profit Organizations. Frontiers in Psychology, 9, 1-17. DOI=10.3389/fpsyg.2018.02069.

Sasida, T., Alfes, K., Shantz, A. (2016). Volunteer role mastery and commitment: can HRM make a difference?. The International Journal of Human Resource Management. 2062-2084. doi.org/10.1080/09585192.2015.1126335

Zhang, J., Wu, W., Zhao, X., Zhang, W. (2020). Recommended psychological crisis intervention response to the 2019 novel coronavirus pneumonia outbreak in China: a model of West China Hospital. Precis Clin Med. 3(1), 3–8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30