ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคโควิด 19 ในชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

ผู้แต่ง

  • กิติศักดิ์ แก้วเรือง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองอุโลก
  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • นภชา สิงห์วีรธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดสุพรรณบุรี คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

โรคโควิด 19, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ความสำเร็จ, การควบคุมโรค, ครัวเรือนที่รับผิดชอบ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางนี้เพื่อศึกษาความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคโควิด 19 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคโควิด 19 ในชุมชนของ อสม. จำนวน 162 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิจากการเก็บออนไลน์ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคโควิด-19 ได้ค่าความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) ระหว่าง .67 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้เท่ากับ .884 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Logistic Regression ผลการวิจัยพบว่า

ความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคโควิด 19 ในชุมชนของ อสม. ต.หนองมะค่าโมง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี อยู่ในระดับมาก ( =4.39, S.D.= 0.34) และ อสม. ที่รับผิดชอบครัวเรือน 16-20 ครัวเรือน มีโอกาสสำเร็จในการดำเนินงาน ควบคุมโรคโควิด 19 เป็น 2.33 เท่า (OR=2.33, 95%CI: 1.07-5.06) เมื่อเทียบกับ อสม.ที่รับผิดชอบครัวเรือน 10-15 ครัวเรือน

ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควรมอบหมายให้ อสม.รับผิดชอบครัวเรือนคนละ 16-20 หลังเรือนและส่งเสริมให้ อสม.ได้ดูแลสุขภาพตนเองเพื่อเป็นแบบอย่างและเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินป้องกันโรคโควิด 19 และโรคอื่น ๆ ในชุมชน

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation ฉบับปรับปรุง วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2565 จาก https://covid19.dms.go.th/backend/ Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25650105175718PM_%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87homeIso.pdf

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2554). คู่มือ อสม. ยุคใหม่. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม และนวพร ดำแสงสวัสดิ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(2), 25-36

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม และนวพร ดำแสงสวัสดิ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(2), 25-36

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, นวรัตน์ ไวชมภู และ กชกร ฉายากุล. (2563). ความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 12(3), 195-212.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม และพยงค์ เทพอักษร. (2563). ความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ประเทศไทย. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 7(2), ก-จ.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม และพยงค์ เทพอักษร. (2563). ความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ประเทศไทย. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 7(2), ก-จ.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, อลงกรณ์ เปลกาลี, จำเนียร ชุณหโสภาค และชาติชาย สุวรรณนิตย์. (2559). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในทีมหมอครอบครัว. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(2), 6-16.

เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2563). องค์การอนามัยโลก ชม ‘อสม.ไทย’ เป็นพลังฮีโร่เงียบ ‘สู้โควิด-19’. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2565 จาก https://www.hfocus.org/content/2020/04/18972.

เพ็ญศรี หงส์พานิช. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด -19 ของประชาชนจังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย. วารสารวิชาการสถาบันการจัดการแห่งแปซิฟิค, 7(3), 174-185.

วิเชียร เทียนจารุวัฒนา, กิตติพร เนาว์สุวรรณ และสายสมร วชิระประพันธ์. (2564). แนวทางการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คุณภาพเพื่อสนับสนุนกำลังคนสาธารณสุขสำหรับระบบสุขภาพในอนาคต. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(2), 353-366.

สรวุฒิ เอี่ยมนุ้ย. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19 อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 1(2), 1-16.

สุรีพันธุ์ วรพงศธร. (2558). การวิจัยทางสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิฑรูย์การปก.

อภิวดี อินทเจริญ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล, สุวรรณา ปัตตะพัฒน์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา ประเทศไทย. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 3(2), 19-30.

World Health Organization. (1988). From Alma-Ata to the Year 2000: Reflections at the Midpoint. Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31