การเรียนรู้ด้วยการนำตนเองสำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ:
การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง ผู้เรียน ผู้สอน หลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพบทคัดย่อ
การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง เป็นกระบวนการที่ให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการระบุความต้องการเรียนรู้ ตั้งวัตถุประสงค์และแสวงหาทรัพยากรในการเรียนรู้ เพื่อให้ตนเองมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ และมีการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง แนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองมีบทบาทอย่างมากต่อการจัดการศึกษาเนื่องจากเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่ต้องการให้ผู้เรียนให้มีแรงจูงใจในการเรียน สนใจใฝ่รู้ มีความรับผิดชอบ คิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาเป็น สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต ที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และความก้าวหน้าของความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เอื้ออำนวยต่อการเข้าถึงความรู้ทั่วทุกมุมโลกได้ง่าย ประกอบกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่สถาบันการศึกษาต้องใช้วิธีการเรียนการสอนออนไลน์ ยิ่งมีความจำเป็นต้องเน้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยการนำตัวเอง
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความหมาย ความสำคัญ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับของการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง การประเมินความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง การเรียนรู้ด้วยการนำตัวเองในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 และแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการนำตัวเองในหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
References
กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. 14 มกราคม 2564. Retrieved from:.https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/.pdf.
เขมกร อานุภาพ. (2560). การใช้การเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ชฎาภรณ์ จันทร์ประเสริฐ และเสาวภา วิชาดี. (2555). การปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของผู้เรียน. วารสารนักบริหาร, 32(2), 143-149.
ชณวรรต ศรีลาคำ และพัฒนา สอดทรัพย์. (2526). ทิศทางการเรียนรู้ด้วยตนเองตามนโยบายประเทศไทย 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 8(1), 49-62.
ธีระ รามสูต. (2554). การพัฒนาสู่นักสาธารณสุขมืออาชีพในยุคโลกาภิวัฒน์. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 1(1), 1-4.
เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล. (2562). การตรวจสอบความตรงเชิงทฤษฎีของแบบวัดความพร้อมในการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 14(1), 100-111.
รังสรรค์ โฉมยา. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(3), 309-317.
วิภาดา วัฒนนามกุล, สุลัดดา ลอยฟ้า, สุภาสินี สุภธีระ และชัยยง พรหมวงศ์. (2545). การพัฒนาระบบการเรียนด้วยตนเองสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาชีพสาธารณสุข. วารสารวิจัย มข. (บศ.), ฉบับพิเศษ, 140-148.
วีรพล แก้วพันธ์อ่ำ, จิระวรรณ ยืนยั่ง และพรชัย พันธุ์วิเศษ. (2564). การศึกษาความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองในแต่ละช่วงอายุของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนสระแก้วผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(1), 98-112.
อุไรวรรณ ชินพงษ์. (2555). คุณลักษณะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 13(1), 141-153.
Abd-El-Fattah, S. M. (2010). Garrison’s Model of Self-Directed Learning: Preliminary Validation and Relationship to Academic Achievement. Span J Psychol, 13(2), 586–596.
Elshami, W. (2022). Factors That Affect Student Engagement in Online Learning in Health Professions Education. Nurse Education Today, 110(2022)105261, 1-17. https://doi.org/10.1016/j.nedt.2021.105261.
Garrison, D. R. (1997). Self-Directed Learning: Toward a Comprehensive Model. Adult Education Quarterly, 48(1), 18-33.
Guglielmino, L. M. (1977). Development of the Self-Directed Learning Readiness Scale, Doctoral Dissertation. Athens, Georgia: University of Georgia.
Knowles, M. S. (1975). Self-Directed Learning: A Guide for Learner and Teachers. Chicago: Association Press.
Mahlaba, S. C. (2020). Reasons Why Self-Directed Learning is Important in South Africa during the COVID-19 Pandemic. South African Journal of Higher Education, 34(6), 120-136. https://dx.doi.org/10.20853/34-6-4192.
Morris, T. H. (2019). Self-Directed Learning: A Fundamental Competence in a Rapidly Changing World. International Review of Education, 65(4), 633–653. doi:10.1007/s11159-019-09793-2.
Shen, W., Chen, H. & Hu, Y. (2014). The Validity and Reliability of the Self-Directed Learning Instrument (SDLI) in Mainland Chinese Nursing Students. BMC Medical Education, 14(108), 1-7. doi:10.1186/1472-6920-14-108.
Shion, K. B., Aris, B. & Tasir, Z. (2009). The Level of Self-Directed Learning among Teacher Training Institute Students-An Early Survey. Journal Technology, 50(E), 101–111.
Singaram, V. S., Naidoo, K. L., & Singh, S. (2022). Self-Directed Learning During the COVID-19 pandemic: perspectives of South African final-year health professions students. Adv Med Educ Pract, 6(13), 1-10. doi: 10.2147/AMEP.S339840.
Wong, F. M., Tang, A. C. & Cheng, W. L. (2021). Factors Associated with Self-Directed Learning among Undergraduate Nursing Students: A Systematic Review. Nurse Education Today, 104(2014), 104998, 1-21. https://doi.org/10.1016/j.nedt.2021.104998.
Yuan, H. B., Williams, B. A., Fang, J. B., & Pang, D. (2012). Chinese Baccalaureate Nursing Students' Readiness for Self-Directed Learning. Nurse Education Today, 32(2012), 427-431. doi:10.1016/j.nedt.2011.03.005.
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน