ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • ธรรมศักดิ์ สายแก้ว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี
  • สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • สุนันทา ศรีศิริ คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สมฤดี สายหยุดทอง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการใช้ยาสมุนไพร, ผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่คลินิกโรคเบาหวานของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 360 คน โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบทดสอบความรู้ ได้ค่าความเชื่อมั่นคูเดอร์ริชาร์ดสัน เท่ากับ .611  และแบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .75  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และสถิติทดสอบไครสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในจังหวัดสมุทรสงครามมีพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคเบาหวาน ร้อยละ 35
  2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในผู้ป่วยเบาหวาน การได้รับข้อมูลข่างสารเกี่ยวกับสมุนไพรที่ใช้รักษาเบาหวาน และการได้รับการอบรมเรื่องสมุนไพร มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในผู้ป่วยเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ ระยะเวลาการป่วย และโรคประจำตัว ความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพร และด้านความเชื่อเกี่ยวกับการใช้สมุนไพร ไม่มีความสัมพันธ์

ควรมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สมุนไพรสำหรับโรคเบาหวาน และส่งเสริมบุคลากรที่มีความรู้เชียวชาญในเรื่องสมุนไพร เช่น หมอพื้นบ้าน ให้มีการจัดตั้งชมรมสมุนไพรในชุมชน เพื่อให้ความรู้กับผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน และส่งเสริมภูมิปัญญาพื้นบ้านเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการรักษาสุขภาพ

References

กองระบาด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2563 จาก https://ddc.moph.go.th/brc/news.

กองควบคุมโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (2564 ). จำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ (NCD) ปี 2559- 2563. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2564 จาก http://www.thaincd.com

HDC กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2564 จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php

คลีพัตรา ไชยศรี, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช และ ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์. (2559). ปัจจัยทํานายพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์, 31(3), 67-75.

จันทรรัตน์ จาริกสกุลชัย รัฐพล ศิลปะรัศมี พลอยฌญารินทร์ ราวินิจ ณัฏฐปวีร์ มณีวรรณะ รสริน น้อยเจริญ และ สุกานดา ใจมา (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้สมุนไพรไทยในช่วงสถานการณ์ COVID - 19 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 16(2), 135-151

ชฎาธาร สระถึง กนกกร มอหะหมัดอัสมาอ์ อาแซ คอรีเยาะ อะแซ อุดมลักษณ์ คงประสม และศันสนียา ไทยเกิด. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการรักษาบาดแผลของ ประชาชนตำบลกระดังงา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเครือข่าย ภาคใต้ ครั้งที่3: ขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสู่นวัตกรรม สร้างมูลค่าเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน. คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ปัญญ์กรินทร์ หอยรัตน และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(1), 149 – 163.

ฤทธิชัย พิมปา, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, นิรัตน์ อิมามีม, และสุปรียา ตันสกุล (2561). พฤติกรรมการใช้ยาสมุนไพรของ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิทยาลัยราชชนนี กรุงเทพ, 30(3), 14-25.

อุบลศรี อ่อนพลี. (2556). สมุนไพรลดน้ำตาลในเลือด. วาสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 25(87), 10-14.

Becker, M. H. (1974). The Health Belief Model and Preventive Health Behavior. Health Education Monographs, 2(4) 354-385.

Bloom, B.S.,et al. (1971). Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company

Daniel, W. W. (1987). Biostatistics: a Foundation for Analysis in the Health Sciences (4th ed.). New York: John Wiley & Sons.

Harakeh, M. E. de Looze. Schrijvers, C. T., van Dorsselaer, S. A. & Vollebergh, W. A. (2012). Individual and environmental predictors of health risk behaviours among Dutch adolescents: The HBSC study. Public Health, 126(7), 566- 573.

Kiess, H. O. (1989). Statistical Concepts for The Behavioral Sciences. Biston Allyn and Bacon.

World Health Organization. (2020). Diabetes. Retrieved November 30, 2022 from https:// www.who.int/health-topics/diabetes.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30