ประสิทธิผลของกระบวนการให้โภชนบำบัดต่อระดับภาวะทุพโภชนาการและ ระดับสภาวะร่างกายผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ณัฐฐศรัณฐ์ วงศ์เตชะ โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก

คำสำคัญ:

กระบวนการให้โภชนบำบัด, ภาวะทุพโภชนาการ, สภาวะร่างกาย, ผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการให้โภชนบำบัดต่อระดับภาวะทุพโภชนาการและระดับสภาวะร่างกายในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแม่สอด วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแผนกผู้ป่วยผู้ใหญ่ ในโรงพยาบาลแม่สอดระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน 2563 จำนวน 87 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ กระบวนการให้โภชนบำบัด (Nutrition Care Process) แบบคัดกรองภาวะโภชนาการ(SPENT) แบบประเมินภาวะทุพโภชนาการ (NT) และแบบประเมินระดับสภาวะร่างกาย (ECOG) วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ Paired t – test และ Wilcoxon signed rank test ผลการวิจัย พบว่า

กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 54.02 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 53ปี มีค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ย 31.23 ภายหลังการทดลองโดยใช้กระบวนการให้โภชนบำบัด พบว่าคะแนนภาวะทุพโภชนาการ (M=8.10, SD=2.62) และระดับ ECOG (M=1.64, SD=0.70) ลดลงกว่าก่อนการทดลอง (M=6.23, SD=2.42; M=0.72, SD=0.69) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

          ดังนั้นโรงพยาบาลแม่สอดควรนำกระบวนการให้โภชนบำบัด ไปใช้ในหอผู้ป่วยผู้ใหญ่ และขยายผลสู่โรงพยาบาลชุมชน เพื่อลดอัตราการส่งต่อผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการระดับรุนแรงมายังโรงพยาบาลแม่ข่าย

References

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. (2nd). Newjersy: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Deutz, N. E., Matheson, E. M., Matarese, L. E., Baggs, G. E., Nelson, J. L., Hegazi, R. A., et al. (2016). Reply, Letter to the Editor - Supplemental and energy likely account for multi-ingredient supplementation in mitigating morbidity and mortality in compromised elderly malnourished patients. Clinical Nutrition, 35(4), 977-978. https://doi.org/10.1016/j.clnu.2016.03.027

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G. & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A Flexible Statistical Power Analysis Program for the Social, Behavioral, and Biomedical Sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.

Lacey, K., Pritchett, E. (2003). Nutrition Care Process and Model: ADA Adopts Road Map to Quality Care and Outcomes Management. J Am Diet Assoc, 103, 1061-1072.

Li-Chun Hsieh, Po-Sheng Chang, Pei-Ju Wu, Yin-Tzu Huang, Ping-Ting Lin. (2020). An Early Moderate Recommendation for Energy Intake Based on Nutritional Status and Clinical Outcomes in Patients with Cancer: A Retrospective Study. Retrieved October 1, 2020 from https://doi.org/10.1016/j.nut.2020.110997.

Makruasi, S., Mongkolphantha, P. & Aosod, R. (2019). Evaluation of Quality of Life in Cancer Patients in Nakhon Nayok hospital. Journal of Medicine and Health Sciences, 26(3), 150 -158. (in Thai)

Milne, A. C., Potter, J., Vivanti, A, & Avenell, A. (2009). Protein and Energy Supplementation in Elderly People at Risk from Malnutrition. Cochrane Database Syst Rev, 2, CD003288.

Siegel, S., Fan, L. & Goldman A. (2018). The Impact of Nutrition-Focused Quality Improvement Interventions on Length of Stay and Readmission ates Among Hospitalized Malnourished Patients. Global Health Economics and Outcomes Research (HEOR) Compendium 2012–2021. (pp.92) Retrieved from https://www.abbottnutrition.com/content/dam/an/abbottnutrition/pdf/clinical-resources/conditions/qualityimprovement/Global%20Health%20Economics%20and%20Outcomes%20Research%20(HEOR)%20Compendium%202021.pdf

Thai Dietetic Association. (2020). Scholarship and Research on Malnutrition care in Hospitalized Adult Patients, 2020-2021. Retrieved from https://www.thaidietetics. org/?p=6112. (in Thai)

Trakulhoon, V. & Prammanasudh, B. (2020). From BNT 2000 to NT 2013The Malnutrition Identification in Adult Patients. Thai Air Force Medical Gazette, 66(2), 14-32. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29