ประสิทธิผลของการใช้สเปรย์มะกรูดในการดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ในห้องน้ำสาธารณะ

ผู้แต่ง

  • นภชา สิงห์วีรธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นิพิฐพนธ์ คันศร วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ทีปกร เนียมคล้าย วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • บุญบารมี พรหมสาธร วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เอกพล หมั่นพลศรี วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

สเปรย์มะกรูด, มะกรูด, ห้องน้ำสาธารณะ, กลิ่นไม่พึงประสงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบระดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ก่อนและหลังการใช้สเปรย์มะกรูด 2) ศึกษาความคงอยู่ของกลิ่นมะกรูดหลังฉีดสเปรย์มะกรูดเป็นเวลา 20, 40, 60 นาที  3) ประเมินผลความพึงพอใจของอาสาสมัครกับสเปรย์ดับกลิ่นมะกรูด จากผู้ที่ปฏิบัติงานในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงและผู้ที่เคยใช้ห้องน้ำสาธารณะของผู้ชาย จำนวน 90 คน โดยสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบบันทึกข้อมูลการสำรวจกลิ่นในภาคสนาม      3) แบบสอบถามข้อมูลความคงทนของกลิ่น 4) แบบประเมินความพึงพอใจ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องกันของรายการและวัตถุประสงค์ ระหว่าง .67 ถึง 1.00 และค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟาเท่ากับ 0.884 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Friedman's ANOVA test และ สถิติ Wilcoxon signed rank test ผลการวิจัยพบว่า

กลิ่นไม่พึงประสงค์ก่อนและหลังการฉีดสเปรย์มะกรูดไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ความคงทนของกลิ่นมะกรูดหลัง 20, 40 และ 60 นาที แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p-value<0.001) และความพึงพอใจโดยรวมของสเปรย์มะกรูดอยู่ที่มากที่สุด (M=4.80, SD=0.54)

สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าสเปรย์กลิ่นมะกรูดดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ในห้องน้ำสาธารณะนั้นเป็นที่น่าพอใจ แต่ยังไม่เพียงพอต่อการกำจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ในห้องน้ำสาธารณะ ดังนั้นควรพัฒนาสเปรย์มะกรูดด้วยน้ำมันระเหยที่มีความเข้มข้นมากขึ้น

References

ฐาปนีย์ หงส์รัตนาวรกิจ. (2555). น้ำมันหอมระเหและการใช้ในสุคนธบำบัด. นครนายก: คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ทวีภรณ์ คีรีคช, ธวัชชัย ศรีสุวรรณ, สมฤทัย แดงนำ และสนั่น ศุภธีรสกุล. (2562). การพัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์เจลปรับอากาศว่านสาวหลง กรณีศึกษา: บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ จังหวัดสงขลานครรินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 22(2), 18-21.

ปานทิพย์ รัตนศิลป์กัลชาญ. (2556). อันตรายจากสารกัดกร่อนในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดครัวเรือน กรณีศึกษา: ผู้ป่วยที่กลืนกินผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด. วารสาร มอก, 32(1), 157-168.

รินทร์ลดา วัชรเลิศวาณิช, ราชีดา เอมวัธนา, ภัทราพร ปานรักษา และเพ็ญศักดิ์ จันทราวุธ. (2564). การพัฒนาสเปรย์ชนิดก่อฟิล์มต้านมลพิษเพื่อใช้ทางผิวหนัง กรณีศึกษา: การพัฒนาตำรับเภสัชภัณฑ์ในรูปแบบสเปรย์ชนิดก่อฟิล์ม. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, 16(2), 47-59.

วินัย สยอวรรณ และอำพล บุญเพียร. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบผลของการสูดดมกลิ่นน้ำมันกระกรูดกับน้ำมันโรสแมรี่ต่อระบบประสาทอัตโนมัติและความสามารถในเกมจำลองการขับรถ กรณีศึกษานักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 12(1), 61-67.

วุฒิชัย วิสุทธิพรต. (2564). การศึกษาฤทธิ์ในการลดปวดอักเสบของสารสกัดจากผิวมะกรูดเพื่อพัฒนาเป็นตำรับยาทารักษาอาการปวดอักเสบ กรณีศึกษา: หมอล้วน ภูศรีเทศ ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านเป็นแนวทางที่จะช่วยให้องค์ความรู้ จังหวัดพิษณุโลก.วารสาร มรม, 15(1), 57-63.

สำนักงานสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม. (2564). แบบบันทึกขอมูลการสํารวจกลิ่นภาคสนาม (Odor Survey Record). กรุงเทพฯ: สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2564 จาก http://office2.bangkok.go.th/envhealth/4063/

สำนักเทคโนโลยีชุมชน. (2563). ทำเจลล้างมือกับนักวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

Cohen J. The Concepts of Power Analysis. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. Academic Press. New York.

Department of Medical Sciences. (2016). Thai Herbal Pharmacopoeia. Agricultural Co-Operative Federation of Thailand. Bangkok.

Susan, L. & Nasr. (2018) How Perfume Works. Howstuffworks [online]. (n.d.). Retrieved November 20, 2021 from https://science.howstuffworks.com/perfume.htm

Marulanda, V. A., Gutiérrez, C. D. B., & Alzate, C. A. C. (2017). Green Pesticides Handbook Essential Oils for Pest Control. Retrieved November 20, 2021 from https://www.taylorfrancis.com/books/edit/10.1201/9781315153131/green-pesticides-handbook-leo-nollet-hamir-singh-rathore

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30