ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครองเด็กวัย 3-5 ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตเทศบาลเมืองบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • วลีรัตน์ ภมรพล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก, สุขภาพช่องปากของเด็กวัย 3-5 ปี, ผู้ปกครอง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อความรู้ เจตคติ การรับรู้โอกาสเสี่ยงด้านการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กวัย 3-5 ปีและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ อายุ ความรู้ เจตคติ การรับรู้โอกาสเสี่ยงด้านการดูแลสุขภาพช่องปากกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครองเด็กวัย 3-5 ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตเทศบาลเมืองบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี จำนวนทั้งสิ้น 182 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามความรู้ ได้ค่าความเชื่อมั่น KR-20 เท่ากับ .84 แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยง เจตคติ และพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กวัย 3-5 ปี ได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .81, .86 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติไคว์สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยด้านความรู้ของผู้ปกครองด้านการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กวัย 3-5 ปีอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านเจตคติด้านการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กวัย 3-5 ปี อยู่ในระดับสูง ปัจจัยด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงด้านการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กวัย 3-5 ปี อยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กวัย 3-5 ปี อยู่ในระดับดี

2. ปัจจัยเจตคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ (r=.227 การรับรู้โอกาสเสี่ยงด้านการดูแลสุขภาพช่องปาก มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำมาก (r=.190) และเพศของผู้ปกครองมีควาทสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครองเด็กวัย 3-5 ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตเทศบาลเมืองบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05

ควรมีการพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาโดยการจัดทำเป็นหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนแก้ไขปัญหา หรือหลักสูตรการส่งเสริมศักยภาพของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กวัย 3-5 ปี

References

กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). คู่มือแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย ANC คุณภาพ WCC คุณภาพ ศพด. คุณภาพ 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

เฉลิมวิทย์ หาชื่น. (2553). การรับรู้เกี่ยวกับโรคฟันผุและการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครอง ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์สาขาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ณัฐพงศ์ คงใหม่. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน ในสถานศึกษาพื้นที่ ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วารสารสาธารณสุขและ วิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(1), 26-42.

นฤชิต ทองรุ่งเรือง และชัยพรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแปรงฟันในเด็กอายุ 1-5 ปี ของผู้ปกครองในเขต อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู. ศรีนครินทร์เวชสาร, 28(1), 18-22.

ปริญญา จิตอร่าม และกุลนาถ มากบุญ. (2557). พฤติกรรมของผู้ปกครองในการดุแลสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 3 - 5 ปี. วารสารทันตภิบาล, 25(1), 26-41

ประกายรัตน์ สุวรรณ และอมรวิทย์ วิเศษสงวน. (2555) การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS เวอร์ชั่น 20. บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

สุขนันท์สินี เพชรสุวรรณ. (2559) ประสิทธิผลของโปรแกรมการแปรงฟันแบบฝึกปฏิบัติจริงสำหรับผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียนช่วงอายุ 2-3 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2562). รายงานสรุปการเผ้าระวังสุขภาพช่องปากปี 2562. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

แสงเดือน วนิชดำรงศักดิ์. (2555). การรับรู้ภาพลักษณ์และคุณภาพบริการ: กรณีศึกษา ธนาคารเกียรตินาคิน สาขากรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

อุดมพร รักเถาว์ และจารุวรรณ วงศ์เวช. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ปกครองต่อการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2(1), 52-64.

Rosenstock, I.M. (1974). Historical Origins of the Health Belief Model. Health Education Monographs, 2, 328-335.

Becker, M. H. (1974). The health beief Model and sic krole Behavior. In M. H. Becker (Ed.), TheHealth Belief Model and Personal Health Behavior (pp. 82-92). Thorofare, NJ: Charles B.Slack.

Silawong, S.. (2011). Attitude and Practice Regarding Oral Health Care in Preschool Children of

Parents in the Child Development Center. Nong Bua Dong Subdistrict, Sila Lat District, Sisaket Province. (Independent Study in Bachelor of Public Health, Mahasarakham University).

Siripornwiwat, P. (2009). Factors Influencing the Effects of Oral Health Care on Preschool Children, Srisaket Province. (Master of Public Health Thesis, Health Promotion Program, Ubon Ratchathani Rajabhat University).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31